ศูนย์ข่าวศรีราชา - จังหวัดจันท์เสนอที่ประชุมอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ระดับจังหวัด ให้นำ “พลายถ่าง” และ “ช้างป่าแม่ลูกอ่อน” ออกนอกพื้นที่ ไปอยู่ที่ลพบุรีแทน ด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ ชี้มีความเป็นไปได้แต่จะต้องดูศึกษาดูความเหมาะสม และอุปนิสัยของช้างและแหล่งอาหารว่าอุดมสมบูรณ์หรือไหมอย่างไร
วันนี้ (19 ม.ค.) ที่ห้องประชุม 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ได้มีการประชุมอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ระดับจังหวัด มี นายพิภพ พัชรพรรณกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ระดับจังหวัด โดยมีอนุกรรมการฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น นายอำเภอ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ตัวแทนกองทัพภาคที่ 1 กรมป่าไม้ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ หน่วยงานของจังหวัดร่วมในการประชุม
การประชุมในครั้งนี้ ทางจังหวัด คือ ปลัดอาวุโสที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัด นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ได้มีการให้ปลัดอาวุโสเป็นตัวแทนจังหวัดได้มีการนำเรื่องของปัญหาช้างป่าที่ ลงจากเทือกเขาอ่างฤาไนมาอยู่ที่เทือกเขาแก้ว ในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีและเข้ามาในพื้นที่ของชาวบ้านเป็นเวลานาน
รวมทั้งได้สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับชาวบ้าน คือ สวนผลไม้ถูกทำลายและถูกกัดกินเป็นวงกว้าง ในเรื่องนี้ทางจังหวัดได้เสนอว่ามีความเป็นไปได้หรือไหม ที่จะนำพลายถ่างและช้างป่าแม่ลูกอ่อนออกจากพื้นที่ ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ไปอยู่ในพื้นที่ อำเภอสับลังกา จังหวัดลพบุรีแทน
เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นภูเขาและไม่มีช้างป่ามาอาศัยอยู่เลย หรือ แนวทางที่ 2 คือ ถ้าไม่มีการนำพลายถ่างและช้างป่าแม่ลูกอ่อนออกนอกพื้นที่นั้น ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำเขตควบคุม หรือหาอาหารมาทดแทนได้ไหมเพื่อลดความเสียหายของราษฎรในพื้นที่ เพื่อเป็นการบล๊อคช้างป่าให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดและไม่ลงมารบกวนชาวบ้าน ได้หรือไหม
นายพิภพ พัชรพรรณกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ในเรื่องที่ปลัดอาวุโสที่เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอมานั้นมีความเป็นไปได้ทั้งหมด แต่จะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ อุปนิสัยของช้างและแหล่งอาหารว่ามีความสมบูรณ์หรือไหมอย่างไร
ส่วนในเรื่องที่จะมีการบล็อกให้ช้างอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดและหาอาหารเข้ามาทดแทนความเสียหายของราษฎรก็สามารถเป็นไปได้ ในทั้ง 2 เรื่องที่ทางจังหวัดเสนอ ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรีในฐานะเป็นหน่วยงานหลัก พร้อมที่จะรับเรื่องและขอเสนอที่ทางปลัดอาวุโสที่เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอ ต่อกรมและกระทรวงสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอธิบดีต่อไป
วันนี้ (19 ม.ค.) ที่ห้องประชุม 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ได้มีการประชุมอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ระดับจังหวัด มี นายพิภพ พัชรพรรณกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ระดับจังหวัด โดยมีอนุกรรมการฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น นายอำเภอ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ตัวแทนกองทัพภาคที่ 1 กรมป่าไม้ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ หน่วยงานของจังหวัดร่วมในการประชุม
การประชุมในครั้งนี้ ทางจังหวัด คือ ปลัดอาวุโสที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัด นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ได้มีการให้ปลัดอาวุโสเป็นตัวแทนจังหวัดได้มีการนำเรื่องของปัญหาช้างป่าที่ ลงจากเทือกเขาอ่างฤาไนมาอยู่ที่เทือกเขาแก้ว ในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีและเข้ามาในพื้นที่ของชาวบ้านเป็นเวลานาน
รวมทั้งได้สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับชาวบ้าน คือ สวนผลไม้ถูกทำลายและถูกกัดกินเป็นวงกว้าง ในเรื่องนี้ทางจังหวัดได้เสนอว่ามีความเป็นไปได้หรือไหม ที่จะนำพลายถ่างและช้างป่าแม่ลูกอ่อนออกจากพื้นที่ ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ไปอยู่ในพื้นที่ อำเภอสับลังกา จังหวัดลพบุรีแทน
เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นภูเขาและไม่มีช้างป่ามาอาศัยอยู่เลย หรือ แนวทางที่ 2 คือ ถ้าไม่มีการนำพลายถ่างและช้างป่าแม่ลูกอ่อนออกนอกพื้นที่นั้น ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำเขตควบคุม หรือหาอาหารมาทดแทนได้ไหมเพื่อลดความเสียหายของราษฎรในพื้นที่ เพื่อเป็นการบล๊อคช้างป่าให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดและไม่ลงมารบกวนชาวบ้าน ได้หรือไหม
นายพิภพ พัชรพรรณกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ในเรื่องที่ปลัดอาวุโสที่เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอมานั้นมีความเป็นไปได้ทั้งหมด แต่จะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ อุปนิสัยของช้างและแหล่งอาหารว่ามีความสมบูรณ์หรือไหมอย่างไร
ส่วนในเรื่องที่จะมีการบล็อกให้ช้างอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดและหาอาหารเข้ามาทดแทนความเสียหายของราษฎรก็สามารถเป็นไปได้ ในทั้ง 2 เรื่องที่ทางจังหวัดเสนอ ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรีในฐานะเป็นหน่วยงานหลัก พร้อมที่จะรับเรื่องและขอเสนอที่ทางปลัดอาวุโสที่เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอ ต่อกรมและกระทรวงสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอธิบดีต่อไป