หนองคาย - อบจ.หนองคาย นำชาวบ้านกักน้ำสาขาไว้ใช้ในนาปรัง ก่อนไหลลงแม่น้ำโขงจนหมด สามารถช่วยชาวนา 5 ตำบลของอำเภอเมืองหนองคาย ไม่ให้ต้นข้าวนับหมื่นไร่เสียหายจากปัญหาภัยแล้ง
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (24 ก.พ.) นายชูรัตน์ พิมพเคณา ส.อบจ.หนองคาย เขต อำเภอเมืองหนองคาย พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลสีกาย อ.เมืองหนองคาย ได้ตรวจสอบปริมาณน้ำหลังจากที่ได้ช่วยกันทำคูดินกักน้ำจากแม่น้ำสวย ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง บริเวณทุ่งนาบ้านบง หมู่ 4 ต.สีกาย ไม่ให้น้ำจากแม่น้ำสวยไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งการกักน้ำสวยไว้นี้สามารถช่วยเหลือชาวนาที่ทำนาปรังใน 5 ตำบล
ประกอบด้วย ต.สีกาย, ต.หาดคำ, ต.วัดธาตุ, ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย และ ต.เหล่าต่างคำ อ.โพนพิสัย โดยชาวนาจะใช้เครื่องสูบน้ำต่อท่อแล้วสูบน้ำจากบริเวณกักน้ำเข้านาของตนเอง ทำให้นาปรังเนื้อที่ประมาณหมื่นไร่ไม่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง
นายชูรัตน์ กล่าวว่า เดิมทีพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซาก และน้ำท่วมซ้ำซาก หน้าฝนจะเกิดน้ำหลากเข้าท่วมทุ่งนาจนชาวนาไม่สามารถทำนาปีได้ พอถึงช่วงหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำสวยก็แห้งขอดชาวนาที่ทำนาปรังก็ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำ ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่นาเกือบสิบกิโลเมตร ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่าย ดังนั้นตนและชาวบ้านทั้ง 5 หมู่บ้าน
จึงช่วยกันกั้นคันดินเพื่อกักน้ำสวยไว้ใช้ในหน้าแล้ง เพราะขืนปล่อยให้น้ำจากแม่น้ำสวยไหลลงแม่น้ำโขงไปหมด แม่น้ำสวยก็จะแห้งขอด และใช้ประโยชน์ไม่ได้
ทั้งนี้ เมื่อปี 2548 ได้ทำประชามติชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทั้ง 5 ตำบลก่อนดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาทะเลาะแย่งน้ำกัน ซึ่งทุกคนเห็นชอบด้วย ในช่วงแรก อบจ.หนองคาย ได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการประมาณ 3 แสนบาท นำดินบดอัดเป็นแนวกั้นน้ำ กว้างประมาณ 6 เมตร รถยนต์สามารถสัญจรผ่านได้สะดวก
พอถึงหน้าฝนก็จะได้รับความเสียหายเล็กน้อยจากน้ำฝนชะหน้าดิน พอหมดหน้าฝนแล้วก็ต้องซ่อมแซมคูคันดินให้แน่นหนา นอกจากนี้ยังทำทางระบายน้ำไว้คอยระบายน้ำในช่วงหน้าฝนให้ไหลลงด้านข้างคูกั้นน้ำป้องกันไม่ให้คันดินชำรุด โดยในการดำเนินการชาวบ้านทุกหมู่บ้านต่างมาช่วยกันอย่างแข็งขัน
ขณะนี้ปริมาณน้ำที่กักไว้ ลึกประมาณ 4 เมตร คาดว่าจะสามารถเก็บกักน้ำไว้ให้ชาวนาได้อย่างเพียงพอตลอดหน้าแล้งไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (24 ก.พ.) นายชูรัตน์ พิมพเคณา ส.อบจ.หนองคาย เขต อำเภอเมืองหนองคาย พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลสีกาย อ.เมืองหนองคาย ได้ตรวจสอบปริมาณน้ำหลังจากที่ได้ช่วยกันทำคูดินกักน้ำจากแม่น้ำสวย ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง บริเวณทุ่งนาบ้านบง หมู่ 4 ต.สีกาย ไม่ให้น้ำจากแม่น้ำสวยไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งการกักน้ำสวยไว้นี้สามารถช่วยเหลือชาวนาที่ทำนาปรังใน 5 ตำบล
ประกอบด้วย ต.สีกาย, ต.หาดคำ, ต.วัดธาตุ, ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย และ ต.เหล่าต่างคำ อ.โพนพิสัย โดยชาวนาจะใช้เครื่องสูบน้ำต่อท่อแล้วสูบน้ำจากบริเวณกักน้ำเข้านาของตนเอง ทำให้นาปรังเนื้อที่ประมาณหมื่นไร่ไม่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง
นายชูรัตน์ กล่าวว่า เดิมทีพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซาก และน้ำท่วมซ้ำซาก หน้าฝนจะเกิดน้ำหลากเข้าท่วมทุ่งนาจนชาวนาไม่สามารถทำนาปีได้ พอถึงช่วงหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำสวยก็แห้งขอดชาวนาที่ทำนาปรังก็ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำ ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่นาเกือบสิบกิโลเมตร ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่าย ดังนั้นตนและชาวบ้านทั้ง 5 หมู่บ้าน
จึงช่วยกันกั้นคันดินเพื่อกักน้ำสวยไว้ใช้ในหน้าแล้ง เพราะขืนปล่อยให้น้ำจากแม่น้ำสวยไหลลงแม่น้ำโขงไปหมด แม่น้ำสวยก็จะแห้งขอด และใช้ประโยชน์ไม่ได้
ทั้งนี้ เมื่อปี 2548 ได้ทำประชามติชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทั้ง 5 ตำบลก่อนดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาทะเลาะแย่งน้ำกัน ซึ่งทุกคนเห็นชอบด้วย ในช่วงแรก อบจ.หนองคาย ได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการประมาณ 3 แสนบาท นำดินบดอัดเป็นแนวกั้นน้ำ กว้างประมาณ 6 เมตร รถยนต์สามารถสัญจรผ่านได้สะดวก
พอถึงหน้าฝนก็จะได้รับความเสียหายเล็กน้อยจากน้ำฝนชะหน้าดิน พอหมดหน้าฝนแล้วก็ต้องซ่อมแซมคูคันดินให้แน่นหนา นอกจากนี้ยังทำทางระบายน้ำไว้คอยระบายน้ำในช่วงหน้าฝนให้ไหลลงด้านข้างคูกั้นน้ำป้องกันไม่ให้คันดินชำรุด โดยในการดำเนินการชาวบ้านทุกหมู่บ้านต่างมาช่วยกันอย่างแข็งขัน
ขณะนี้ปริมาณน้ำที่กักไว้ ลึกประมาณ 4 เมตร คาดว่าจะสามารถเก็บกักน้ำไว้ให้ชาวนาได้อย่างเพียงพอตลอดหน้าแล้งไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต