พะเยา - นักอนุรักษ์เตรียมยื่น คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม และ กมธ.ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังชีวมวล หรือไฟฟ้าพลังแกลบ หวังจังหวัดยืนข้างประชาชน ลุ้นสั่งระงับโครงการถึงที่สุด ย้ำชัดของไม่ดีถูกไล่ทุกพื้นที่
นางสาวเดือนนภา ปัญญาวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่นาเรือ ต.แม่นาเรือ อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้ฝ่ายปกครอง อ.เมือง ดำเนินการจัดประชุมทำประชาคมหมู่บ้านเรื่องโรงงานไฟฟ้าพลังชีวมวล หรือไฟฟ้าพลังแกลบ ในพื้นที่ ต.แม่นาเรือ 18 หมู่บ้าน เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
โดยประชาชนทั้งหมดในพื้นที่มีมติไม่ยอมอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าดังกล่าวในพื้นที่ ต.แม่นาเรือ เด็ดขาด ซึ่งขณะนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)แม่นาเรือ ได้ทำสรุปผลส่งรายงานให้กับอำเภอและจังหวัด เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไปแล้ว
น.ส.เดือนนภา กล่าวต่อว่า นอกจากที่ทาง อบต.จะยื่นผลการประชาคมให้กับฝ่ายปกครองแล้ว ตนจะนำเอกสารสรุปผลทั้งหมด พร้อมทั้งรายชื่อของผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 18 หมู่บ้าน เสนอต่อคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม(สวล.) และ กมธ.ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐในส่วนกลางด้วย
“เหตุที่ต้องต่อสู้และต่อต้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าดังกล่าว เนื่องจากหลายพื้นที่เห็นชัดเจนว่าก่อสร้างแล้วเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละอองสร้างมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย ฯลฯ หากเป็นของดีจริงคงไม่มีใครออกมาต่อต้าน” ผู้ประสานงานฯ กล่าว
นางสาวเดือนนภา ปัญญาวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่นาเรือ ต.แม่นาเรือ อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้ฝ่ายปกครอง อ.เมือง ดำเนินการจัดประชุมทำประชาคมหมู่บ้านเรื่องโรงงานไฟฟ้าพลังชีวมวล หรือไฟฟ้าพลังแกลบ ในพื้นที่ ต.แม่นาเรือ 18 หมู่บ้าน เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
โดยประชาชนทั้งหมดในพื้นที่มีมติไม่ยอมอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าดังกล่าวในพื้นที่ ต.แม่นาเรือ เด็ดขาด ซึ่งขณะนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)แม่นาเรือ ได้ทำสรุปผลส่งรายงานให้กับอำเภอและจังหวัด เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไปแล้ว
น.ส.เดือนนภา กล่าวต่อว่า นอกจากที่ทาง อบต.จะยื่นผลการประชาคมให้กับฝ่ายปกครองแล้ว ตนจะนำเอกสารสรุปผลทั้งหมด พร้อมทั้งรายชื่อของผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 18 หมู่บ้าน เสนอต่อคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม(สวล.) และ กมธ.ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐในส่วนกลางด้วย
“เหตุที่ต้องต่อสู้และต่อต้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าดังกล่าว เนื่องจากหลายพื้นที่เห็นชัดเจนว่าก่อสร้างแล้วเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละอองสร้างมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย ฯลฯ หากเป็นของดีจริงคงไม่มีใครออกมาต่อต้าน” ผู้ประสานงานฯ กล่าว