พิจิตร - ผอ.ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว วอนชาวนา เปลี่ยนพันธุ์ข้าว ป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ขณะที่ สถานการณ์การระบาดเพลี้ย เริ่มเบาบางลงแล้ว
นายสุรเดช ปาละวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีเกษตรกรจำนวนมากปลูกข้าวที่มีอายุต่ำกว่า 90 วัน ซึ่งเป็นข้าวที่เป็นอาหารของเพลี้ยกระโดดได้เป็นอย่างดี และจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพิ่มปริมาณขึ้นได้อย่างเร็ว สร้างความเสียหาย ให้กับต้นข้าวที่ได้ เป็นอย่างมาก ข้าวที่ได้ ยังมีคุณภาพไม่ดี ต่อไปนี้จึงขอให้เกษตรกร หันมาปลูกข้าว ที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี เช่น ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2, พันธุ์ กข 29, พันธุ์ กข 31 และพันธุ์ กข 41 ที่สามารถต้านทาน เพลี้ยกระโดดได้ดี
เนื่องจากขณะนี้เพลี้ยกระโดดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและชีววิทยาในการพัฒนาตัวเอง ให้มีการดำรงชีวิตอยู่ได้นานขึ้นกับพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ
นายสุรเดชกล่าวต่อว่า ในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยง การปลูกข้าว พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 และชัยนาท 1 ที่ในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกร และเป็นข้าวพันธุ์ที่มีคุณภาพ ให้งดการปลูกไว้ก่อน ในพื้นๆที่มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพราะไม่สามารถต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทั้งที่ข้าวทั้ง 2 พันธุ์นี้เมื่อก่อนเคยสามารถต้านทานเพลี้ยกระโดดได้ แต่ในขณะนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการปรับเปลี่ยนชีวภาพ ทำให้สามารถทำลายข้าวทั้ง2ชนิดนี้ได้ในพื้นที่ที่มีการระบาดจึงควรหลีกเลี่ยงพันธุ์ข้าวนี้ไปก่อน
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ผ่านมา ได้ทำลายต้นข้าวของชาวนาในจังหวัดพิจิตรไปถึง 400,000ไร่และในขณะนี้นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้ทุ่มงบประมาณเกือบ 15 ล้านบาท ให้ สนง.เกษตร ทั้ง 12 อำเภอซื้อสารเคมีให้เกษตรกรฉีดพ่นจนทำให้สถานการณ์เริ่มเบาบางลงเหลือพื้นที่ระบาด ในจังหวัดพิจิตร ประมาณ 5,000 ไร่เท่านั้น
นายสุรเดช ปาละวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีเกษตรกรจำนวนมากปลูกข้าวที่มีอายุต่ำกว่า 90 วัน ซึ่งเป็นข้าวที่เป็นอาหารของเพลี้ยกระโดดได้เป็นอย่างดี และจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพิ่มปริมาณขึ้นได้อย่างเร็ว สร้างความเสียหาย ให้กับต้นข้าวที่ได้ เป็นอย่างมาก ข้าวที่ได้ ยังมีคุณภาพไม่ดี ต่อไปนี้จึงขอให้เกษตรกร หันมาปลูกข้าว ที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี เช่น ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2, พันธุ์ กข 29, พันธุ์ กข 31 และพันธุ์ กข 41 ที่สามารถต้านทาน เพลี้ยกระโดดได้ดี
เนื่องจากขณะนี้เพลี้ยกระโดดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและชีววิทยาในการพัฒนาตัวเอง ให้มีการดำรงชีวิตอยู่ได้นานขึ้นกับพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ
นายสุรเดชกล่าวต่อว่า ในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยง การปลูกข้าว พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 และชัยนาท 1 ที่ในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกร และเป็นข้าวพันธุ์ที่มีคุณภาพ ให้งดการปลูกไว้ก่อน ในพื้นๆที่มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพราะไม่สามารถต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทั้งที่ข้าวทั้ง 2 พันธุ์นี้เมื่อก่อนเคยสามารถต้านทานเพลี้ยกระโดดได้ แต่ในขณะนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการปรับเปลี่ยนชีวภาพ ทำให้สามารถทำลายข้าวทั้ง2ชนิดนี้ได้ในพื้นที่ที่มีการระบาดจึงควรหลีกเลี่ยงพันธุ์ข้าวนี้ไปก่อน
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ผ่านมา ได้ทำลายต้นข้าวของชาวนาในจังหวัดพิจิตรไปถึง 400,000ไร่และในขณะนี้นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้ทุ่มงบประมาณเกือบ 15 ล้านบาท ให้ สนง.เกษตร ทั้ง 12 อำเภอซื้อสารเคมีให้เกษตรกรฉีดพ่นจนทำให้สถานการณ์เริ่มเบาบางลงเหลือพื้นที่ระบาด ในจังหวัดพิจิตร ประมาณ 5,000 ไร่เท่านั้น