อุดรธานี-หัวหน้างานจักษุแพทย์โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีเผยแต่ละปีมีผู้ป่วยผ่าตัด3,000-4,000 ราย มีติดเชื้อบ้างแต่ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามได้เน้นย้ำให้เพิ่มความระมัดระวังการปฏิบัติงานผ่าตัดต้อกระจกตาทุกขั้นตอนมากขึ้น หวั่นเกิดความผิดพลาดซ้ำรอยโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
นพ.ศิริวัฒน์ ไชยเอีย หัวหน้ากลุ่มงานจักษุแพทย์ โรงพยาบาล ศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่ หลังจากมีข่าวคนไข้หลายคน ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก แลวติดเชื้อจนตาบอด ซึ่งในกรณีดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้วทุกโรงพยาาล จะมีมาตรฐานในการป้องกันดูแลผู้ป่วยอยู่แล้ว คือต้องผ่านระบบ HA.หรือระบบรับรองคุณภาพโรงพาบาล แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมา เราจึงต้องกลับมาสำรวจดูว่า มีสิ่งใดที่จะเป็นข้อบกพร่องหรือข้อพึงระวังต่อคนไข้บ้าง
โดยเฉพาะห้องผ่าตัด วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมคนไข้่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด ซึ่งเราต้องกลับมาทบทวนในเรื่องดังกล่าว แ่ละส่วนใหญ่แล้วจะดำเินินการไปตามปกติ
ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เคยมีคนไข้ที่รับการผ่าตัดต้อกระจกแล้วติดเชื้ออยู่ แต่ไม่เหมือนกับที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ที่มีการติดเชื้อค่อนข้างรุนแรง และมีผู้ป่วยติดเื้ชื้อหลายคนพร้อมกัน โดยที่อุดรธานี ในปีหนึ่งจะมีกรณีผ่าตัดต้อกระจกประมาณ 3,000-4,000 ราย ปี 2550 มีผู้ป่วยติดเชื้อ 1 ราย และปี 2552 มีติดเื้ชื้อ 2 ราย ซึ่งก็สามารเกิดขึ้นได้ แต่คนไข้ไม่ได้มีอาการรุนแรงและจำนวนมากเหมือนเช่นที่ จ.ขอนแก่น
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ทุกโรงพยาบาลก็จะกลัวว่าจะเกิดขึ้น แต่เราก็พึงระวังเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อยู่แล้ว คือ ในเรื่องของการเตรียมเครื่องมือ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด ที่ต้องระมัดระวัง เพราะหากเกิดขึ้นมาจะทำให้เกิดความยากลำบาก แต่คงไมึ่ถึงกับมีการรีบิวด์อุปรณ์ต่าง ๆ เพียงแต่ต้องกลับมาทบทวนว่า ของเราที่มีการดำเนินการในทุกขั้นตอน มีตรงไหนหรือสิ่งไหนที่บกพร่องบ้าง มีสิ่งใดที่จะก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงเหมือนที่ จ.ขอนแก่นหรือไม่ โดยทีมงานทุกคน ไม่ว่าจะป็นพยาบาลในห้องผ่าัตัด หรือที่ห้องตรวจจะต้องมีการทบทวนกันใหม่ในทุกขั้นตอน
นพ.ศิริวัฒน์ ไชยเอีย หัวหน้ากลุ่มงานจักษุแพทย์ โรงพยาบาล ศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่ หลังจากมีข่าวคนไข้หลายคน ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก แลวติดเชื้อจนตาบอด ซึ่งในกรณีดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้วทุกโรงพยาาล จะมีมาตรฐานในการป้องกันดูแลผู้ป่วยอยู่แล้ว คือต้องผ่านระบบ HA.หรือระบบรับรองคุณภาพโรงพาบาล แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมา เราจึงต้องกลับมาสำรวจดูว่า มีสิ่งใดที่จะเป็นข้อบกพร่องหรือข้อพึงระวังต่อคนไข้บ้าง
โดยเฉพาะห้องผ่าตัด วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมคนไข้่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด ซึ่งเราต้องกลับมาทบทวนในเรื่องดังกล่าว แ่ละส่วนใหญ่แล้วจะดำเินินการไปตามปกติ
ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เคยมีคนไข้ที่รับการผ่าตัดต้อกระจกแล้วติดเชื้ออยู่ แต่ไม่เหมือนกับที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ที่มีการติดเชื้อค่อนข้างรุนแรง และมีผู้ป่วยติดเื้ชื้อหลายคนพร้อมกัน โดยที่อุดรธานี ในปีหนึ่งจะมีกรณีผ่าตัดต้อกระจกประมาณ 3,000-4,000 ราย ปี 2550 มีผู้ป่วยติดเชื้อ 1 ราย และปี 2552 มีติดเื้ชื้อ 2 ราย ซึ่งก็สามารเกิดขึ้นได้ แต่คนไข้ไม่ได้มีอาการรุนแรงและจำนวนมากเหมือนเช่นที่ จ.ขอนแก่น
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ทุกโรงพยาบาลก็จะกลัวว่าจะเกิดขึ้น แต่เราก็พึงระวังเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อยู่แล้ว คือ ในเรื่องของการเตรียมเครื่องมือ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด ที่ต้องระมัดระวัง เพราะหากเกิดขึ้นมาจะทำให้เกิดความยากลำบาก แต่คงไมึ่ถึงกับมีการรีบิวด์อุปรณ์ต่าง ๆ เพียงแต่ต้องกลับมาทบทวนว่า ของเราที่มีการดำเนินการในทุกขั้นตอน มีตรงไหนหรือสิ่งไหนที่บกพร่องบ้าง มีสิ่งใดที่จะก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงเหมือนที่ จ.ขอนแก่นหรือไม่ โดยทีมงานทุกคน ไม่ว่าจะป็นพยาบาลในห้องผ่าัตัด หรือที่ห้องตรวจจะต้องมีการทบทวนกันใหม่ในทุกขั้นตอน