ตาก - เจ้าหน้าที่ UNHCR เผยม้งลาว ที่ไทยเตรียมส่งกลับประเทศ ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย ระบุกว่า 4 พันคน ลักลอบเข้าไทยผ่านนายหน้า หวังไปอเมริกา
เจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยจะส่งกลับชาวม้งลาว ที่กำลังเป็นกระแสข่าวอยู่ในขณะนี้ว่า กลุ่มม้งลาวไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย ทาง UNHCR ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการคุ้มครองบุคคลระหว่างประเทศจึงไม่เกี่ยวข้องใดๆ
จากจำนวนทั้งหมดกว่า 8,000 คน แต่พบว่ามีชาวม้งกว่า 4,000 คน ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย เป็นกลุ่มที่เข้ามาประเทศไทยเพื่อหวังที่จะไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีญาติอยู่ จึงติดต่อผ่านนายหน้า แล้วลักลอบเข้าไทย
อย่างไรก็ตาม กรณีการส่งกลับนั้น ถ้าทางรัฐบาลไทยจะให้ UNHCR ไปสังเกตการณ์ ก็ไม่ขัดข้องใดๆ
เจ้าหน้าที่ UNHCR กล่าวว่า ในการส่งกลับม้งลาวนั้น เท่าที่ทราบรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะรับชาวม้งลาวจากประเทศไทยกลับประเทศจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 หากพ้นกำหนดนี้แล้ว รัฐบาลลาวจะไม่รับชาวม้งกลับประเทศ ทำให้รัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินการผลักดันชาวม้งให้กลับไปภูมิลำเนา ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ได้ตรวจสอบกลุ่มชาวม้งที่กลับไป ทราบว่ารัฐบาลลาวให้การดูแลอย่างดี ไม่มีปัญหาใดๆ จึงไม่น่าวิตกหรือเหตุผลใดๆ ที่เขาจะไปกลับประเทศ
“สำหรับภารกิจของ UNHCR ต่อผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนไทย-พม่า และพื้นที่อื่นๆนั้น ได้เน้นการส่งไปยังประเทศที่ 3 หลังจากได้คุยกับประเทศนั้นๆ แล้ว หรือส่งเสริมให้กลับภูมิลำเนา หลังจากได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศ ที่ถูกต้อง เช่นการที่เราส่งผู้ลี้ภัยสงครามชาวกะเหรี่ยง สัญชาติ พม่ากลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำลังดำเนินการอยู่” เจ้าหน้าที่ UNHCR กล่าว
เจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยจะส่งกลับชาวม้งลาว ที่กำลังเป็นกระแสข่าวอยู่ในขณะนี้ว่า กลุ่มม้งลาวไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย ทาง UNHCR ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการคุ้มครองบุคคลระหว่างประเทศจึงไม่เกี่ยวข้องใดๆ
จากจำนวนทั้งหมดกว่า 8,000 คน แต่พบว่ามีชาวม้งกว่า 4,000 คน ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย เป็นกลุ่มที่เข้ามาประเทศไทยเพื่อหวังที่จะไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีญาติอยู่ จึงติดต่อผ่านนายหน้า แล้วลักลอบเข้าไทย
อย่างไรก็ตาม กรณีการส่งกลับนั้น ถ้าทางรัฐบาลไทยจะให้ UNHCR ไปสังเกตการณ์ ก็ไม่ขัดข้องใดๆ
เจ้าหน้าที่ UNHCR กล่าวว่า ในการส่งกลับม้งลาวนั้น เท่าที่ทราบรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะรับชาวม้งลาวจากประเทศไทยกลับประเทศจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 หากพ้นกำหนดนี้แล้ว รัฐบาลลาวจะไม่รับชาวม้งกลับประเทศ ทำให้รัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินการผลักดันชาวม้งให้กลับไปภูมิลำเนา ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ได้ตรวจสอบกลุ่มชาวม้งที่กลับไป ทราบว่ารัฐบาลลาวให้การดูแลอย่างดี ไม่มีปัญหาใดๆ จึงไม่น่าวิตกหรือเหตุผลใดๆ ที่เขาจะไปกลับประเทศ
“สำหรับภารกิจของ UNHCR ต่อผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนไทย-พม่า และพื้นที่อื่นๆนั้น ได้เน้นการส่งไปยังประเทศที่ 3 หลังจากได้คุยกับประเทศนั้นๆ แล้ว หรือส่งเสริมให้กลับภูมิลำเนา หลังจากได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศ ที่ถูกต้อง เช่นการที่เราส่งผู้ลี้ภัยสงครามชาวกะเหรี่ยง สัญชาติ พม่ากลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำลังดำเนินการอยู่” เจ้าหน้าที่ UNHCR กล่าว