ศรีสะเกษ - ชาวหมู่บ้านเคหะฯ ศรีสะเกษ บุกศาลากลางจังหวัดฯร้องทุกข์หนัก หลังการเคหะฯ อ้างขาดทุนลอยแพผู้เช่า ไฟเขียวเอกชนขูดรีดค่าเช่าพุ่ง บี้จ่ายค่าภาษี-ค่าน้ำแพงสวนนโยบายลดภาระปชช.ของรัฐบาล ครวญสภาพความเป็นอยู่ย่ำแย่กว่าศูนย์อพยพชาวต่างชาติ วอนการเคหะฯ เห็นใจขอเช่าซื้อเหมือน“บ้านเอื้ออาทร-บ้านมั่นคง”
วันนี้ (27 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์ดำรงธรรม ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ได้มีตัวแทนชาวบ้านที่เป็นผู้เช่าอยู่อาศัย โครงการหมู่บ้านเคหะแห่งชาติ (ท่าเรือ) ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เข้าร้องเรียนพร้อมยื่นหนังสือเปิดผนึก ว่า ไม่ได้รับการเหลียวแลจากการเคหะแห่งชาติ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัทเอกชนที่เข้ามารับช่วงดูแลรับผิดชอบอาคารเช่าของโครงการต่อจากการเคหะแห่งชาติ ที่อ้างว่าโครงการขาดทุน
จึงเปิดทางให้บริษัทเอกชนเข้ามาสัมปทานและบริหารจัดการแทนทำให้ชาวบ้านผู้เช่าอาศัยเดือดร้อนต้องจ่ายค่าเช่าสูง 1,200 บาทต่อเดือน บวกค่าภาษีอีกหลังละ 150 บาท และเก็บค่าน้ำประปาอัตราสูง ทั้งที่ความจริงบริษัทเอกชนจ่ายค่าเช่าจริงให้การเคหะฯ เพียงเดือนละประมาณ 600 บาท เท่านั้น
ทั้งนี้ ในหนังสือเปิดผนึกดังกล่าวระบุข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย 1.ต้องการทราบรายละเอียดสัญญา และเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางเคหะฯ ทำขึ้นกับบริษัทเอกชนที่มารับผิดชอบต่อ เป็นลายลักษณ์อักษรจากทางการเคหะแห่งชาติ
2.บริษัทเอกชนเก็บค่าเช่าและภาษีโรงเรือน เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากภาษีโรงเรือนที่บริษัทเอกชนจ่ายให้เทศบาล รวมเพียงเดือนละ 650 บาท แต่มาเก็บกับผู้เช่า หลังละ 125-150 บาท/เดือน ซึ่งทั้งหมู่บ้านมีกว่า 60 หลังคาเรือน
3.มีการเรียกเก็บค่ามัดจำใหม่ ทั้งที่ของเดิมยังไม่คืนให้ 4.ต้องจ่ายค่าน้ำประปาแพงทั้งที่รัฐบาลมีโครงการช่วยเหลือเรื่องนี้ 5.มิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟฟ้าเดิมเป็นของผู้เช่าแต่เอกชนมาเปลี่ยนสัญญาเป็นเจ้าของเองทั้งหมดทำให้ผู้เช่าเสียประโยชน์ส่วนนี้ไป
และสุดท้าย เรื่องกิริยาวาจาของบริษัทเอกชนที่มารับช่วงใหม่ล่าสุดนี้ พูดจาไม่สุภาพ และดูถูกเหยียดหยามผู้เช่า และไม่ประนีประนอม มีปัญหาอะไรเล็กน้อย ก็ขู่ขับไล่ออกอย่างเดียว
นายคมณัท พุทธเสน ผู้เช่าห้องพักเลขที่ 449/53 โครงการหมู่บ้านเคหะแห่งชาติ (ท่าเรือ) กล่าวว่า อาศัยเช่าอยู่บ้านหลังนี้มานานกว่า 20 ปี จนลูกสาวได้เรียนจบการศึกษารับปริญญาตรีแล้ว จึงรู้สึกผูกพัน ไม่อยากย้ายไปไหน ถึงแม้จะมีปัญหาบ้างแต่ที่ผ่านมาก็อดทนมาตลอด
โดยอดีตเคยมีปัญหาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการเดิม ได้ส่งมอบโครงการนี้ให้การเคหะแห่งชาติ ซึ่งช่วงรับมอบนั้นทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานพวกเราไปจ่ายค่าเช่ากับประชาสงเคราะห์เขาก็ไม่รับเงิน บอกว่าได้โอนให้การเคหะฯ ไปแล้ว ก็เลยมีการค้างค่าเช่ากันมาระยะหนึ่ง พอการเคหะฯ มาตั้งอยู่ที่ จ.ศรีสะเกษ ก็มาจัดการฟ้องร้องให้พวกเรารับสภาพหนี้ พวกเราก็ยอมรับสภาพหนี้ จึงทำให้เรื่องจบกันไป
นายคมณัท กล่าวต่อไปว่า จากนั้นมาก็เริ่มต้นกันใหม่ พวกเราทุกคนจ่ายค่าเช่ากันมาตลอดไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งล่าสุดมาเกิดปัญหาขึ้นอีกหลังจากเปลี่ยนคนดูแลใหม่ ซึ่งเขาอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากเคหะฯ แต่ไม่ยอมแสดงหนังสือรับมอบอำนาจ อีกทั้งพูดจาไม่ดีกับผู้เช่า ขู่ว่าใครมีปัญหา ไม่พอใจอะไรก็ออกไปได้เลย เพราะเขามีสิทธิ์ขาดที่จะทำอะไรกับหมู่บ้านนี้ได้หมด จึงต้องขอถามว่า ทำแบบนี้เหมาะสมเป็นธรรมกับพวกเราหรือไม่
“วันนี้พวกเราขอเรียกร้องให้การเคหะแห่งชาติ ที่บอกว่าจะช่วยเหลือคนจนลงมาดูแลพวกเราบ้าง เราลำบากอย่างไร เหมาะสมไหมกับค่าเช่าที่มันแพงขึ้นหรือไม่ ในขณะที่ความเป็นอยู่มันแย่ลงทุกวัน” นายคมณัท กล่าว
นายคมณัท กล่าวต่อไปอีกว่า เป็นไปได้ไหมที่การเคหะแห่งชาติจะปรับโครงการหมู่บ้านของพวกเราให้เป็นลักษณะการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเหมือนโครงการบ้านเอื้ออาทร หรือ บ้านมั่นคง
เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินอะไรเลย อย่างเช่นตนอยู่มาแล้ว 20 ปี ก็ยังเป็นผู้เช่าอยู่เหมือนเดิม หากเปลี่ยนมาทำสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งถึงแม้ต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นค่าผ่อนส่งซื้อบ้านพวกเราก็ยอม
คนชาติอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศยังได้รับการดูแลดีกว่าพวกเราด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อพยพม้งที่ จ.เลย หรือชาวพม่าที่ลักลอบเข้าเมืองแล้วทำงานที่แม่กลอง คุณภาพชีวิตยังดีกว่าพวกเราเยอะ แล้วเราเป็นคนไทยทำไมต้องทำกับเราแบบนี้” นายคมณัท กล่าว
“จากการส่งตัวแทนเข้าร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรมในวันนี้ ทางศูนย์ฯ พร้อมด้วย การเคหะแห่งชาติ สาขา ศรีสะเกษ รับปากว่าจะลงไปดูแล และแก้ปัญหาให้ในเร็วๆ นี้ แต่ชาวบ้านก็ยังไม่มั่นใจมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาก็เคยแจ้งไปแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย” นายคมณัท กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบริษัทเอกชนที่เข้ามาสัมปทานและบริหาร จัดการโครงการหมู่บ้านเคหะแห่งชาติ (ท่าเรือ) แทน การเคหะแห่งชาติ นั้นรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับการเคหะฯ แบบเหมารวมทั้ง 61 ยูนิต เพียง 37,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้วทางการเคหะฯจะได้รับเงินค่าเช่าบ้านเพียงหลังละ 607 บาทเท่านั้น แต่บริษัทเอกชนมาเรียกเก็บค่าเช่าจากชาวบ้านผู้อยู่อาศัย สูงถึงเดือนละ 1,200 บาท และบวกค่าภาษีอีกหลังละ 150 บาททุกเดือน
สำหรับกรณีน้ำประปานั้น หากบ้านหลังใดไม่มีมิเตอร์น้ำ จะใช้วิธีการพ่วงมิเตอร์ แล้วเรียกเก็บค่าน้ำกับผู้เช่าในอัตราแพง ทั้งที่รัฐบาลมีนโยบายจ่ายค่าน้ำค่าไฟฟรีให้กับประชาชนเพื่อลดภาระในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ หากยอดปริมาณการใช้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
วันนี้ (27 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์ดำรงธรรม ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ได้มีตัวแทนชาวบ้านที่เป็นผู้เช่าอยู่อาศัย โครงการหมู่บ้านเคหะแห่งชาติ (ท่าเรือ) ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เข้าร้องเรียนพร้อมยื่นหนังสือเปิดผนึก ว่า ไม่ได้รับการเหลียวแลจากการเคหะแห่งชาติ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัทเอกชนที่เข้ามารับช่วงดูแลรับผิดชอบอาคารเช่าของโครงการต่อจากการเคหะแห่งชาติ ที่อ้างว่าโครงการขาดทุน
จึงเปิดทางให้บริษัทเอกชนเข้ามาสัมปทานและบริหารจัดการแทนทำให้ชาวบ้านผู้เช่าอาศัยเดือดร้อนต้องจ่ายค่าเช่าสูง 1,200 บาทต่อเดือน บวกค่าภาษีอีกหลังละ 150 บาท และเก็บค่าน้ำประปาอัตราสูง ทั้งที่ความจริงบริษัทเอกชนจ่ายค่าเช่าจริงให้การเคหะฯ เพียงเดือนละประมาณ 600 บาท เท่านั้น
ทั้งนี้ ในหนังสือเปิดผนึกดังกล่าวระบุข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย 1.ต้องการทราบรายละเอียดสัญญา และเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางเคหะฯ ทำขึ้นกับบริษัทเอกชนที่มารับผิดชอบต่อ เป็นลายลักษณ์อักษรจากทางการเคหะแห่งชาติ
2.บริษัทเอกชนเก็บค่าเช่าและภาษีโรงเรือน เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากภาษีโรงเรือนที่บริษัทเอกชนจ่ายให้เทศบาล รวมเพียงเดือนละ 650 บาท แต่มาเก็บกับผู้เช่า หลังละ 125-150 บาท/เดือน ซึ่งทั้งหมู่บ้านมีกว่า 60 หลังคาเรือน
3.มีการเรียกเก็บค่ามัดจำใหม่ ทั้งที่ของเดิมยังไม่คืนให้ 4.ต้องจ่ายค่าน้ำประปาแพงทั้งที่รัฐบาลมีโครงการช่วยเหลือเรื่องนี้ 5.มิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟฟ้าเดิมเป็นของผู้เช่าแต่เอกชนมาเปลี่ยนสัญญาเป็นเจ้าของเองทั้งหมดทำให้ผู้เช่าเสียประโยชน์ส่วนนี้ไป
และสุดท้าย เรื่องกิริยาวาจาของบริษัทเอกชนที่มารับช่วงใหม่ล่าสุดนี้ พูดจาไม่สุภาพ และดูถูกเหยียดหยามผู้เช่า และไม่ประนีประนอม มีปัญหาอะไรเล็กน้อย ก็ขู่ขับไล่ออกอย่างเดียว
นายคมณัท พุทธเสน ผู้เช่าห้องพักเลขที่ 449/53 โครงการหมู่บ้านเคหะแห่งชาติ (ท่าเรือ) กล่าวว่า อาศัยเช่าอยู่บ้านหลังนี้มานานกว่า 20 ปี จนลูกสาวได้เรียนจบการศึกษารับปริญญาตรีแล้ว จึงรู้สึกผูกพัน ไม่อยากย้ายไปไหน ถึงแม้จะมีปัญหาบ้างแต่ที่ผ่านมาก็อดทนมาตลอด
โดยอดีตเคยมีปัญหาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการเดิม ได้ส่งมอบโครงการนี้ให้การเคหะแห่งชาติ ซึ่งช่วงรับมอบนั้นทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานพวกเราไปจ่ายค่าเช่ากับประชาสงเคราะห์เขาก็ไม่รับเงิน บอกว่าได้โอนให้การเคหะฯ ไปแล้ว ก็เลยมีการค้างค่าเช่ากันมาระยะหนึ่ง พอการเคหะฯ มาตั้งอยู่ที่ จ.ศรีสะเกษ ก็มาจัดการฟ้องร้องให้พวกเรารับสภาพหนี้ พวกเราก็ยอมรับสภาพหนี้ จึงทำให้เรื่องจบกันไป
นายคมณัท กล่าวต่อไปว่า จากนั้นมาก็เริ่มต้นกันใหม่ พวกเราทุกคนจ่ายค่าเช่ากันมาตลอดไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งล่าสุดมาเกิดปัญหาขึ้นอีกหลังจากเปลี่ยนคนดูแลใหม่ ซึ่งเขาอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากเคหะฯ แต่ไม่ยอมแสดงหนังสือรับมอบอำนาจ อีกทั้งพูดจาไม่ดีกับผู้เช่า ขู่ว่าใครมีปัญหา ไม่พอใจอะไรก็ออกไปได้เลย เพราะเขามีสิทธิ์ขาดที่จะทำอะไรกับหมู่บ้านนี้ได้หมด จึงต้องขอถามว่า ทำแบบนี้เหมาะสมเป็นธรรมกับพวกเราหรือไม่
“วันนี้พวกเราขอเรียกร้องให้การเคหะแห่งชาติ ที่บอกว่าจะช่วยเหลือคนจนลงมาดูแลพวกเราบ้าง เราลำบากอย่างไร เหมาะสมไหมกับค่าเช่าที่มันแพงขึ้นหรือไม่ ในขณะที่ความเป็นอยู่มันแย่ลงทุกวัน” นายคมณัท กล่าว
นายคมณัท กล่าวต่อไปอีกว่า เป็นไปได้ไหมที่การเคหะแห่งชาติจะปรับโครงการหมู่บ้านของพวกเราให้เป็นลักษณะการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเหมือนโครงการบ้านเอื้ออาทร หรือ บ้านมั่นคง
เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินอะไรเลย อย่างเช่นตนอยู่มาแล้ว 20 ปี ก็ยังเป็นผู้เช่าอยู่เหมือนเดิม หากเปลี่ยนมาทำสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งถึงแม้ต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นค่าผ่อนส่งซื้อบ้านพวกเราก็ยอม
คนชาติอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศยังได้รับการดูแลดีกว่าพวกเราด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อพยพม้งที่ จ.เลย หรือชาวพม่าที่ลักลอบเข้าเมืองแล้วทำงานที่แม่กลอง คุณภาพชีวิตยังดีกว่าพวกเราเยอะ แล้วเราเป็นคนไทยทำไมต้องทำกับเราแบบนี้” นายคมณัท กล่าว
“จากการส่งตัวแทนเข้าร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรมในวันนี้ ทางศูนย์ฯ พร้อมด้วย การเคหะแห่งชาติ สาขา ศรีสะเกษ รับปากว่าจะลงไปดูแล และแก้ปัญหาให้ในเร็วๆ นี้ แต่ชาวบ้านก็ยังไม่มั่นใจมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาก็เคยแจ้งไปแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย” นายคมณัท กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบริษัทเอกชนที่เข้ามาสัมปทานและบริหาร จัดการโครงการหมู่บ้านเคหะแห่งชาติ (ท่าเรือ) แทน การเคหะแห่งชาติ นั้นรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับการเคหะฯ แบบเหมารวมทั้ง 61 ยูนิต เพียง 37,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้วทางการเคหะฯจะได้รับเงินค่าเช่าบ้านเพียงหลังละ 607 บาทเท่านั้น แต่บริษัทเอกชนมาเรียกเก็บค่าเช่าจากชาวบ้านผู้อยู่อาศัย สูงถึงเดือนละ 1,200 บาท และบวกค่าภาษีอีกหลังละ 150 บาททุกเดือน
สำหรับกรณีน้ำประปานั้น หากบ้านหลังใดไม่มีมิเตอร์น้ำ จะใช้วิธีการพ่วงมิเตอร์ แล้วเรียกเก็บค่าน้ำกับผู้เช่าในอัตราแพง ทั้งที่รัฐบาลมีนโยบายจ่ายค่าน้ำค่าไฟฟรีให้กับประชาชนเพื่อลดภาระในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ หากยอดปริมาณการใช้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด