ตราด- หอการค้าจังหวัดตราด จี้จัดระบบแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ชี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอาชญากรรม
นายฐิติกร โลหะคุหต์ รองประธานหอการค้า จ.ตราด และนายกสมาคมประมง จ.ตราด กล่าวว่า การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในปัจจุบันยังมีปัญหาในเรื่อง ขั้นตอนและขบวนการขออนุญาต ที่ยังมีความยุ่งยากและเสียเวลาส่งผลกระทบต่อด้าน เศรษฐกิจของผู้ประกอบการทั้งแรงงานประมง แรงงานประมงต่อเนื่อง แรงงานทางด้านการเกษตร หรือแรงงานทั่วไป ที่ผ่านมา จ.ตราด ต้องการแรงงานประมงมากกว่า 20,000 คน แต่ปัจจุบันมีการอนุญาต มีการจดทะเบียนเพียง 6,000-7,000 เท่านั้น
ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานประมงที่อยู่อย่างไม่ถูกต้อง ปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และประชาชนเนื่องจากเกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม ทั้งลักเล็กขโมยน้อย การทะเลาะวิวาท หรือการฆาตกรรม ดังนั้น ตนเองมีข้อเสนอในเรื่องของการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โดยน่าจะมีการจัดทำเป็นบริษัทขึ้นมาแล้วให้ทางกัมพูชาส่งคนผ่านบริษัทนี้ โดยใช้พาสปอร์ต และขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยเหมือนอย่างที่เคยทำในประเทศอื่นๆ ซึ่งจะเกิดผลดีกับแรงงานต่างด้าว และเกิดประโยชน์ต่อนายจ้างและสามารถที่จะควบคุมได้อย่างง่ายกว่า
ด้าน นางดวงใจ จันทร เลขาธิการหอการค้า จ.ตราด กล่าวว่า ปัญหาก็คือการทำทะเบียนใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวกัมพูชา ปัญหาที่พบก็คือหากทำใบอนุญาตแล้วมักจะพบว่า แรงงานเหล่านี้จะไปหานายจ้างคนใหม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำ 4,000-5,000 บาทไป เพราะลูกจ้างไม่พอใจนายจ้างคนเดิมทำให้ต้องเกิดปัญหาระหว่างกัน
สิ่งเหล่านี้ทางราชการจะต้องมีการแก้ไขใหม่ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการของคนไทยมักจะดูแลแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ให้ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรม มีสวัสดิการให้ แต่ที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้มักจะเปลี่ยนนายจ้างเป็นประจำ โดยข้ออ้างหลายอย่างเช่น งานหนัก หรือออกไปนอกพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เช่นกัน
นางดวงใจ กล่าวอีกว่า ชาวกัมพูชามีความต้องการในการทำงานหารายได้ในประเทศไทยมาก และชาวไทย หรือชาวตราด เองก็เข้าใจในปัญหา และต้องการที่จะดูแลให้ค่าแรงหรือสวัสดิการให้เป็นไปตามที่ทางแรงงานกำหนด ความรู้สึกที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างของไทยส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ แต่จะมีการหวาดระแวงบ้างในบางครั้ง ซึ่งคงจะต้องมีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้เป็นระบบต่อไป
นายฐิติกร โลหะคุหต์ รองประธานหอการค้า จ.ตราด และนายกสมาคมประมง จ.ตราด กล่าวว่า การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในปัจจุบันยังมีปัญหาในเรื่อง ขั้นตอนและขบวนการขออนุญาต ที่ยังมีความยุ่งยากและเสียเวลาส่งผลกระทบต่อด้าน เศรษฐกิจของผู้ประกอบการทั้งแรงงานประมง แรงงานประมงต่อเนื่อง แรงงานทางด้านการเกษตร หรือแรงงานทั่วไป ที่ผ่านมา จ.ตราด ต้องการแรงงานประมงมากกว่า 20,000 คน แต่ปัจจุบันมีการอนุญาต มีการจดทะเบียนเพียง 6,000-7,000 เท่านั้น
ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานประมงที่อยู่อย่างไม่ถูกต้อง ปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และประชาชนเนื่องจากเกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม ทั้งลักเล็กขโมยน้อย การทะเลาะวิวาท หรือการฆาตกรรม ดังนั้น ตนเองมีข้อเสนอในเรื่องของการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โดยน่าจะมีการจัดทำเป็นบริษัทขึ้นมาแล้วให้ทางกัมพูชาส่งคนผ่านบริษัทนี้ โดยใช้พาสปอร์ต และขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยเหมือนอย่างที่เคยทำในประเทศอื่นๆ ซึ่งจะเกิดผลดีกับแรงงานต่างด้าว และเกิดประโยชน์ต่อนายจ้างและสามารถที่จะควบคุมได้อย่างง่ายกว่า
ด้าน นางดวงใจ จันทร เลขาธิการหอการค้า จ.ตราด กล่าวว่า ปัญหาก็คือการทำทะเบียนใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวกัมพูชา ปัญหาที่พบก็คือหากทำใบอนุญาตแล้วมักจะพบว่า แรงงานเหล่านี้จะไปหานายจ้างคนใหม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำ 4,000-5,000 บาทไป เพราะลูกจ้างไม่พอใจนายจ้างคนเดิมทำให้ต้องเกิดปัญหาระหว่างกัน
สิ่งเหล่านี้ทางราชการจะต้องมีการแก้ไขใหม่ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการของคนไทยมักจะดูแลแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ให้ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรม มีสวัสดิการให้ แต่ที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้มักจะเปลี่ยนนายจ้างเป็นประจำ โดยข้ออ้างหลายอย่างเช่น งานหนัก หรือออกไปนอกพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เช่นกัน
นางดวงใจ กล่าวอีกว่า ชาวกัมพูชามีความต้องการในการทำงานหารายได้ในประเทศไทยมาก และชาวไทย หรือชาวตราด เองก็เข้าใจในปัญหา และต้องการที่จะดูแลให้ค่าแรงหรือสวัสดิการให้เป็นไปตามที่ทางแรงงานกำหนด ความรู้สึกที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างของไทยส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ แต่จะมีการหวาดระแวงบ้างในบางครั้ง ซึ่งคงจะต้องมีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้เป็นระบบต่อไป