ศูนย์ข่าวศรีราชา - จังหวัดชลบุรีจัดประชุมนายอำเภอทุกอำเภอเพื่อเตรียมความพร้อมรับผลกระทบที่จะเกิดจากพายุโซนร้อน “กิสนา”
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เผยว่าทางจังหวัด ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากพายุโซนร้อน “กิสนา” ที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณแนวจังหวัดมุกดาหาร และอุบลราชธานีในวันนี้ ซึ่งคาดว่าจังหวัดชลบุรีซึ่งมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกจะได้รับผล กระทบด้วยนั้น
ทั้งนี้ ได้แบ่งพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมในจังหวัดออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ที่ไม่ติดชายทะเล ประกอบด้วย อ.พนัสนิคม พานทอง หนองใหญ่ และเกาะจันทร์ และพื้นที่ที่ติดชายทะเล ประกอบด้วย อ.เมืองชลบุรี ศรีราชา บางละมุง สัตหีบ และเกาะสีชัง ในพื้นที่ดังกล่าวได้มอบหมายให้ นายกอำเภอแจ้งประชาสัมพันธ์ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกแห่งเฝ้าระวังภัยที่จะเกิดขึ้นและรายงานให้อำเภอและจังหวัดทราบทันที เพื่อจัดหน่วยลงไปให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ยังได้มอบอำนาจในการสั่งจ่ายงบสำรองฉุกเฉินเพื่อให้ความช่วยเหลือให้แก่นายอำเภอทุกแห่งสามารถอนุมัติสั่งจ่ายได้ทันทีอำเภอละ 1 ล้านบาท ซึ่งถ้ายังไม่พออำเภอสามารถของบสำรองฉุกเฉินมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายได้ในวงเงิน 50 ล้านบาท กรณีถ้ามีเหตุฉุกเฉินที่เกินวงเงินดังกล่าวทางจังหวัดจะดำเนินการขอความช่วยเหลือจากส่วนกลางโดยเร่งด่วนต่อไป ทั้งยังได้มอบหมายให้มีการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือเกิดน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปีว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น หากเกิดจากสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำจะได้พิจารณารื้อถอนเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ต่อไป
โดยเน้นให้อำเภอที่ติดชายทะเลให้ประกาศแจ้งเตือนเรือประมง และเรือท่องเที่ยว ห้ามออกทำการประมง และนำนักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยวทางทะเลในช่วงนี้ เนื่องจากบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี ติดตามรับฟังพยากรณ์อากาศเป็นประจำทุกวันในระยะนี้
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เผยว่าทางจังหวัด ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากพายุโซนร้อน “กิสนา” ที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณแนวจังหวัดมุกดาหาร และอุบลราชธานีในวันนี้ ซึ่งคาดว่าจังหวัดชลบุรีซึ่งมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกจะได้รับผล กระทบด้วยนั้น
ทั้งนี้ ได้แบ่งพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมในจังหวัดออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ที่ไม่ติดชายทะเล ประกอบด้วย อ.พนัสนิคม พานทอง หนองใหญ่ และเกาะจันทร์ และพื้นที่ที่ติดชายทะเล ประกอบด้วย อ.เมืองชลบุรี ศรีราชา บางละมุง สัตหีบ และเกาะสีชัง ในพื้นที่ดังกล่าวได้มอบหมายให้ นายกอำเภอแจ้งประชาสัมพันธ์ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกแห่งเฝ้าระวังภัยที่จะเกิดขึ้นและรายงานให้อำเภอและจังหวัดทราบทันที เพื่อจัดหน่วยลงไปให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ยังได้มอบอำนาจในการสั่งจ่ายงบสำรองฉุกเฉินเพื่อให้ความช่วยเหลือให้แก่นายอำเภอทุกแห่งสามารถอนุมัติสั่งจ่ายได้ทันทีอำเภอละ 1 ล้านบาท ซึ่งถ้ายังไม่พออำเภอสามารถของบสำรองฉุกเฉินมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายได้ในวงเงิน 50 ล้านบาท กรณีถ้ามีเหตุฉุกเฉินที่เกินวงเงินดังกล่าวทางจังหวัดจะดำเนินการขอความช่วยเหลือจากส่วนกลางโดยเร่งด่วนต่อไป ทั้งยังได้มอบหมายให้มีการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือเกิดน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปีว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น หากเกิดจากสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางน้ำจะได้พิจารณารื้อถอนเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ต่อไป
โดยเน้นให้อำเภอที่ติดชายทะเลให้ประกาศแจ้งเตือนเรือประมง และเรือท่องเที่ยว ห้ามออกทำการประมง และนำนักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยวทางทะเลในช่วงนี้ เนื่องจากบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี ติดตามรับฟังพยากรณ์อากาศเป็นประจำทุกวันในระยะนี้