มหาสารคาม - ประมงจังหวัดมหาสารคาม ปล่อยพันธุ์กุ้งใหญ่และพันธุ์ปลา ปลอดภัยจากสารพิษ เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ และวันประมงแห่งชาติ ลงในอ่างเก็บน้ำเนื้อที่ 7,000 ไร่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เวลา นายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้นำข้าราชการ นักเรียน และประชาชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งมีทั้ง ปลาตะเพียนขาว 200,000 ตัว ปลายี่สกเทศ 200,000 ตัว ปลาบ้า 100,000 ตัว ปลากระโห้ไทย 1,909 ตัว ปลากระโห้เทศ 5,000 ตัว กบ 2,000 ตัว กระทุงเหว 109 ตัว ปลาบึก 50 ตัว และกุ้งก้ามกาม 649,999 ตัว ตามโครงการเพิ่มผลผลิตกุ้งใหญ่ ปลอดภัยจากสารพิษ เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ และเนื่องในวันประมงแห่งชาติ ปี 2552 เพื่อให้ชุมชนและประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ มีเนื้อที่กว่า 7,000 ไร่ และเป็นแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดได้รับการบูรณะปรับปรุงใหม่ มีความเหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพันธุ์สัตว์น้ำที่จะปล่อย
หากประชาชนช่วยกันดูแลรักษา เอาใจใส่ และจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในเวลาอันควรจะเป็นการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรสัตว์น้ำอีกมากมาย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งน้ำแห่งนี้ เป็นตัวอย่างอันดีชั่วลูกหลาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เวลา นายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้นำข้าราชการ นักเรียน และประชาชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งมีทั้ง ปลาตะเพียนขาว 200,000 ตัว ปลายี่สกเทศ 200,000 ตัว ปลาบ้า 100,000 ตัว ปลากระโห้ไทย 1,909 ตัว ปลากระโห้เทศ 5,000 ตัว กบ 2,000 ตัว กระทุงเหว 109 ตัว ปลาบึก 50 ตัว และกุ้งก้ามกาม 649,999 ตัว ตามโครงการเพิ่มผลผลิตกุ้งใหญ่ ปลอดภัยจากสารพิษ เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ และเนื่องในวันประมงแห่งชาติ ปี 2552 เพื่อให้ชุมชนและประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ มีเนื้อที่กว่า 7,000 ไร่ และเป็นแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดได้รับการบูรณะปรับปรุงใหม่ มีความเหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพันธุ์สัตว์น้ำที่จะปล่อย
หากประชาชนช่วยกันดูแลรักษา เอาใจใส่ และจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในเวลาอันควรจะเป็นการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรสัตว์น้ำอีกมากมาย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งน้ำแห่งนี้ เป็นตัวอย่างอันดีชั่วลูกหลาน