xs
xsm
sm
md
lg

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชวนชม ฝูงนกกระทุงนับร้อยกลางบึงน้ำใหญ่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา-สวนสัตวฺเปิดเขาเขียว ศรีราชา ชลบุรี ชวนชม ฝูงนกกระทุงนับร้อยกลางบึงน้ำใหญ่


นายสุริยา แสงพงค์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เผยว่า บริเวณบึงใหญ่ ภายในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว มีจะ ฝูงนกกระทุง นับร้อยตัว จะลงมาเล่นน้ำ ที่บึงแห่งนี้ ทุกปี บริเวณ บึงน้ำแห่งนี้ โดยนกกระทุงนั้นเป็นนกที่หาชมได้ยากชนิดหนึ่งในประเทศไทย จะบินอพยพข้ามถิ่นมาหาอาหาร ที่สวนสัตว์เป็นประจำทุกปี

โดยจะเริ่มทยอยมาตั้งแต่ เดือนกลางเดือนกรกฎาคม จากประมาณสิบตัว เป็นร้อยตัว จนถึงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ก็จะบินจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ไปที่อื่นๆ ต่อไป จึงนับเป็นโอกาสดี ทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียวจึงอยากจะเชิญชวนนักท่องเที่ยว เข้ามาสัมผัสธรรมชาติที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้ ในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ ในบริเวณบึงน้ำแห่งนี้ ยังสามารถชมฝูงนกกาบบัว นับร้อยๆ ตัว นกกระยางหลากหลายพันธุ์ นกกาน้ำ รวมถึง เป็ดป่า บางชนิดด้วย

สำหรับนกกระทง มี ชื่อสามัญ SPOT-BILLED PELICAN ชื่อวิทยาศาสตร์Pelecanus philippensis ถิ่นอาศัย มีถิ่นอาศัยแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย พม่า จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย เคยพบมากที่สุดในภาคกลางแต่ปัจจุบันหาชมได้ยาก เคยพบมีปะปนอยู่กับฝูงนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานีลักษณะ ของนกกระทุงเป็นนกน้ำขนาดใหญ่

ความยาวลำตัวประมาณ 130 ซ.ม น้ำหนัก 7-14 ก.ก. ขาสั้นสีน้ำตาล นิ้วทั้งสี่มีเยื่อยึดติดกันเป็นพืด ใช้สำหรับว่ายน้ำ ปากยาวใหญ่ ปลายปากแบนสีชมพู ปากล่างจะมีหนังยื่นห้อยลงมาคล้ายถุง เพื่อเอาไว้จับปลา ขอบปากบนมีจุดสีฟ้าคล้ำๆ เรียงต่อกันเป็นระยะตามความยาวของปาก รอบตามีวงสีขาว ตาสีเหลือง บนหัวมีขนตั้งสั้นๆ คล้ายหงอน

ขนตามลำตัวสีเทาอ่อน ปลายขนปีกสีดำ ด้านล่างลำตัวขนสีขาว ขณะบินจะหดคอแนบเข้ามาและวางหัวไว้บนไหล่ ในตัวที่ยังโตไม่เต็มที่ ส่วนหัว คอ ลำตัว และใต้ปีกสีน้ำตาล ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และปากสั้นกว่าชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากิน และทำรัง เวลาหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าทีคล้ายสวิงช้อนปลาลงไปในลำคอ ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เช่น ก้มหัวช้อนปลาพร้อมๆ กัน เวลาอยู่เฉยๆ จะหันหน้าไปทิศเดียวกัน เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินเป็นแถวเรียงหนึ่ง หรือบินเกาะกลุ่มเป็นรูปตัววีคว่ำ หรือรูปขั้นบันไดกว้างๆ ปัจจุบันในธรรมชาติพบได้ยากมาก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปีพุทธศักราช 2535


กำลังโหลดความคิดเห็น