ตาก - คณะกรรมการลุ่มน้ำสาละวิน ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนบริหารการจัดการลุ่มน้ำสาละวิน คาดอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีระบบชลประทานช่วยเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 1 แสนไร่
วันนี้ (24 ก.ค.) นายกฤตพัฒน์ จันทร์สังข์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารการจัดการลุ่มน้ำสาละวิน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวินแบบบูรณาการ โดยมีคณะกรรมการกว่า 70 คน เข้าร่วมประชุม ที่ห้องสบเมย โรงแรมเซ็นทารา แม่สอดฮิลล์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตากว่า สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการลุ่มน้ำสาละวิน สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 1 กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนบริหารการจัดการ และพัฒนาลุ่มน้ำแบบบูรณาการ
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการประสานงาน การวางแผนระหว่างหน่วยงานในระดับจังหวัด ภูมิภาค และ หน่วยงานส่วนกลาง และ เพื่อให้โครงการจากการพัฒนาจังหวัดสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานส่วนกลางสามารถรับทราบความต้องการ และ ปรับปรุงโครงการ เสนอมาตรการโครงการที่เห็นว่ามีความจำเป็นเพิ่มเติม
สำหรับในการประชุมครั้งนี้มีคณะกรรมการลุ่มน้ำสาละวิน จาก 4 อำเภอชายแดนไทย-พม่า (อำเภอแม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง และอำเภอพบพระ) เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นและแนวคิดแนวทางในการพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน โดยคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน ได้วางกรอบแนวทางในการดำเนินงาน สร้างยุทธศาสตร์จากประเด็นปัญหาในพื้นที่-กำหนดมาตรการ จากการวิเคราะห์ การจัดทำแผนงานและโครงการที่สอดคล้องกับมาตรการ และการสร้างกรอบแผนงาน ทั้ง 3 แนวทางตั้งแต่ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
รายงานข่าวแจ้งว่า การพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน ของคณะกรรมการ ฯเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญในพื้นที่จังหวัดตาก ในเขตลุ่มน้ำฯ เช่น การขาดแคลนน้ำ, การใช้น้ำเพื่อการเกษตร, การใช้น้ำในพื้นที่สูง, การป้องกันน้ำสาละวินท่วม, การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมตามลุ่มน้ำ, การบุกรุกพื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำ, การยึดครองพื้นที่และทำลายสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำ และการรักษาคุณภาพของน้ำและสภาพโดยรวมและการจัดการทรัพยากรน้ำ
โดยปัจจุบันจากการสำรวจพบว่าลุ่มน้ำสาละวินในพื้นที่จังหวัดตากมีจำนวนโครงการ 85 โครงการ พื้นที่ชลประทาน 98,080 ไร่โดยมีความเหมาะสมปลูกพืชเศรษฐกิจจำนวน 681,516 ไร่ และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีพื้นที่การทำชลประทานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 114,037 ไร่ สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นมีทั้งอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ระบบส่งน้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอื่นๆ
วันนี้ (24 ก.ค.) นายกฤตพัฒน์ จันทร์สังข์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารการจัดการลุ่มน้ำสาละวิน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวินแบบบูรณาการ โดยมีคณะกรรมการกว่า 70 คน เข้าร่วมประชุม ที่ห้องสบเมย โรงแรมเซ็นทารา แม่สอดฮิลล์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตากว่า สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการลุ่มน้ำสาละวิน สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 1 กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนบริหารการจัดการ และพัฒนาลุ่มน้ำแบบบูรณาการ
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการประสานงาน การวางแผนระหว่างหน่วยงานในระดับจังหวัด ภูมิภาค และ หน่วยงานส่วนกลาง และ เพื่อให้โครงการจากการพัฒนาจังหวัดสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานส่วนกลางสามารถรับทราบความต้องการ และ ปรับปรุงโครงการ เสนอมาตรการโครงการที่เห็นว่ามีความจำเป็นเพิ่มเติม
สำหรับในการประชุมครั้งนี้มีคณะกรรมการลุ่มน้ำสาละวิน จาก 4 อำเภอชายแดนไทย-พม่า (อำเภอแม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง และอำเภอพบพระ) เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นและแนวคิดแนวทางในการพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน โดยคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน ได้วางกรอบแนวทางในการดำเนินงาน สร้างยุทธศาสตร์จากประเด็นปัญหาในพื้นที่-กำหนดมาตรการ จากการวิเคราะห์ การจัดทำแผนงานและโครงการที่สอดคล้องกับมาตรการ และการสร้างกรอบแผนงาน ทั้ง 3 แนวทางตั้งแต่ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
รายงานข่าวแจ้งว่า การพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน ของคณะกรรมการ ฯเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญในพื้นที่จังหวัดตาก ในเขตลุ่มน้ำฯ เช่น การขาดแคลนน้ำ, การใช้น้ำเพื่อการเกษตร, การใช้น้ำในพื้นที่สูง, การป้องกันน้ำสาละวินท่วม, การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมตามลุ่มน้ำ, การบุกรุกพื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำ, การยึดครองพื้นที่และทำลายสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำ และการรักษาคุณภาพของน้ำและสภาพโดยรวมและการจัดการทรัพยากรน้ำ
โดยปัจจุบันจากการสำรวจพบว่าลุ่มน้ำสาละวินในพื้นที่จังหวัดตากมีจำนวนโครงการ 85 โครงการ พื้นที่ชลประทาน 98,080 ไร่โดยมีความเหมาะสมปลูกพืชเศรษฐกิจจำนวน 681,516 ไร่ และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีพื้นที่การทำชลประทานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 114,037 ไร่ สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นมีทั้งอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ระบบส่งน้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอื่นๆ