พะเยา - รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่พะเยา ประเมินสถานที่เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน จังหวัดพะเยาที่ 2 เพื่อรับรองมาตรฐาน ศูนย์ขนาดเล็ก พร้อมทั้งระบุว่าปัจจุบันมีผู้เข้ารับการฟื้นฟูบำบัดยาเสพติด เพิ่มมากขึ้นและมีการกระทำผิดซ้ำไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20
วันนี้ (16 มิ.ย.) ที่กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดพะเยาที่ 2 อ.เมือง จ.พะเยา นางลดาวัลย์ บุญประสพ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมคณะรับรองมาตรฐานศูนย์ฟื้นฟูฯ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมการปกครอง และกองทัพอากาศ ร่วมประเมินมาตรฐาน สถานที่เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน จ.พะเยา ซึ่งเป็นศูนย์ฟื้นฟูขนาดเล็ก ของจังหวัดพะเยา ที่ปัจจุบันมีผู้เข้ารับการฟื้นฟูยาเสพติดจำนวน 13 คน จาก จ.พะเยา ลำปาง และ จ.น่าน และจะเข้ามาอีก 22 คนในวันที่ 19 มิถุนายนที่จะถึงนี้ ซึ่งดำเนินการโดย ฝ่ายปกครองจังหวัดพะเยา กรมการปกครอง
การตรวจรับรองมาตรฐานดังกล่าวเพื่อให้สถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูฯผู้ติดยาเสพติด
นางลดาวัลย์กล่าวว่า การตรวจประเมินนี้คณะกรรมการจะดำเนินการทุกๆ 3 ปี เพื่อให้ศูนย์ฟื้นฟูทั่วประเทศ ทั้ง 84 ศูนย์ มีมาตรฐาน ทั้งโครงสร้าง สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ เจ้าหน้าที่บุคลากร และสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด ซึ่งจากการเข้าประเมินในครั้งนี้พบปัญหาเรื่องการคัดกรองผู้เข้ารับการฟื้นฟู และงบประมาณไม่เพียงพอ ซึ่งกรมคุมประพฤติเองก็กำลังประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะสนับสนุนศูนย์ฯ มาตลอด ทั้งที่รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีการกระทำผิดซ้ำไม้น้อยกว่า 20%
วันนี้ (16 มิ.ย.) ที่กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดพะเยาที่ 2 อ.เมือง จ.พะเยา นางลดาวัลย์ บุญประสพ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมคณะรับรองมาตรฐานศูนย์ฟื้นฟูฯ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมการปกครอง และกองทัพอากาศ ร่วมประเมินมาตรฐาน สถานที่เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน จ.พะเยา ซึ่งเป็นศูนย์ฟื้นฟูขนาดเล็ก ของจังหวัดพะเยา ที่ปัจจุบันมีผู้เข้ารับการฟื้นฟูยาเสพติดจำนวน 13 คน จาก จ.พะเยา ลำปาง และ จ.น่าน และจะเข้ามาอีก 22 คนในวันที่ 19 มิถุนายนที่จะถึงนี้ ซึ่งดำเนินการโดย ฝ่ายปกครองจังหวัดพะเยา กรมการปกครอง
การตรวจรับรองมาตรฐานดังกล่าวเพื่อให้สถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูฯผู้ติดยาเสพติด
นางลดาวัลย์กล่าวว่า การตรวจประเมินนี้คณะกรรมการจะดำเนินการทุกๆ 3 ปี เพื่อให้ศูนย์ฟื้นฟูทั่วประเทศ ทั้ง 84 ศูนย์ มีมาตรฐาน ทั้งโครงสร้าง สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ เจ้าหน้าที่บุคลากร และสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด ซึ่งจากการเข้าประเมินในครั้งนี้พบปัญหาเรื่องการคัดกรองผู้เข้ารับการฟื้นฟู และงบประมาณไม่เพียงพอ ซึ่งกรมคุมประพฤติเองก็กำลังประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะสนับสนุนศูนย์ฯ มาตลอด ทั้งที่รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีการกระทำผิดซ้ำไม้น้อยกว่า 20%