ศูนย์ข่าวศรีราชา-หอการค้าตราดและนายกสมาคมชาวสวนผลไม้ตราดจี้ภาครัฐเลิกแทรกแซงราคาผลไม้ ชี้สร้างปัญหาเกษตรกรไม่พัฒนาคุณภาพและทำลายกลไก
จากการที่รัฐบาลได้มีการดำเนินการแทรกแซงราคาผลไม้เพื่อยกระดับราคาในทุกปี ขณะเดียวกันหอการค้า จ.ตราด ก็ได้มีการดำเนินการแก้ปัญหาผลไม้ของ จ.ตราดโดยนำส่งไปขายต่างประเทศนั้น
นางดวงใจ จันทร เลขาธิการหอการค้า จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการที่ทุกปีรัฐบาลได้จัดงบประมาณเพื่อแทรกแซงราคาผลไม้ทุกปีด้วยงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งการแทรกแซงราคาที่ผ่านมาไม่ได้เกิดผลดีต่อเกษตรกร และกลไกตลาดค้าผลไม้เท่าใดอีกทั้งยังเกิดผลเสียต่อตัวเกษตรกรและระบบตลาดด้วย
ทั้งนี้ หอการค้า จ.ตราด ได้เข้ามารับซื้อผลไม้จากเกษตรกรชาวสวนผลไม้เพื่อส่งไปจำหน่ายในประเทศกัมพูชาปีละ 2,000 ตัน โดยจะซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดเพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ได้ทั้งระบบ รวมทั้งการแทรกแซงราคาของรัฐบาลก็ไม่ใช่เกิดผลดีในระยะยาว และยังเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเกษตรกร เพราะจะไม่พัฒนาผลไม้ให้มีคุณภาพเพื่อขายให้ได้ราคาที่สูง ซึ่งทุกปีจะรอคอยให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือจึงไม่เป็นผลดี
“การแทรกแซงราคาก็เป็นการทำลายกลไกตลาดเสรีทำให้ไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด จึงควรนำเงินที่นำมาแทรกแซงราคาผลไม้นำมาวิจัยว่าจะทำให้ผลไม้มีคุณภาพอย่างไร มีระบอบหีบห่อที่ดีอย่างไร รวมทั้งการพัฒนาตลาดผลไม้มากกว่าเพราะจะเป็นการพัฒนาตลาดที่ดีและยั่งยืน” นางดวงใจ ระบุ
ขณะที่นายวุฒิพงษ์ รัตนมนต์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้ จ.ตราด กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าการแทรกแซงราคาผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ช่วยให้ราคาผลไม้สูงขึ้นทั้งหมด และรัฐบาลไม่ได้ช่วยพยุงราคาผลไม้ทั้งระบบด้วย ทำให้ไม่เกิดผลดีต่อเกษตรกร แต่กลับเป็นการทำลายระบบการตลาดค้าผลไม้ อยากจะให้รัฐ บาลได้ยกเลิกการแทรกแซงและหันมาช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องอื่นจะเกิดผลดีกว่า เช่น ด้านวิชาการ หรือการพัฒนาผลผลิต
จากการที่รัฐบาลได้มีการดำเนินการแทรกแซงราคาผลไม้เพื่อยกระดับราคาในทุกปี ขณะเดียวกันหอการค้า จ.ตราด ก็ได้มีการดำเนินการแก้ปัญหาผลไม้ของ จ.ตราดโดยนำส่งไปขายต่างประเทศนั้น
นางดวงใจ จันทร เลขาธิการหอการค้า จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการที่ทุกปีรัฐบาลได้จัดงบประมาณเพื่อแทรกแซงราคาผลไม้ทุกปีด้วยงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งการแทรกแซงราคาที่ผ่านมาไม่ได้เกิดผลดีต่อเกษตรกร และกลไกตลาดค้าผลไม้เท่าใดอีกทั้งยังเกิดผลเสียต่อตัวเกษตรกรและระบบตลาดด้วย
ทั้งนี้ หอการค้า จ.ตราด ได้เข้ามารับซื้อผลไม้จากเกษตรกรชาวสวนผลไม้เพื่อส่งไปจำหน่ายในประเทศกัมพูชาปีละ 2,000 ตัน โดยจะซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดเพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ได้ทั้งระบบ รวมทั้งการแทรกแซงราคาของรัฐบาลก็ไม่ใช่เกิดผลดีในระยะยาว และยังเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเกษตรกร เพราะจะไม่พัฒนาผลไม้ให้มีคุณภาพเพื่อขายให้ได้ราคาที่สูง ซึ่งทุกปีจะรอคอยให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือจึงไม่เป็นผลดี
“การแทรกแซงราคาก็เป็นการทำลายกลไกตลาดเสรีทำให้ไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด จึงควรนำเงินที่นำมาแทรกแซงราคาผลไม้นำมาวิจัยว่าจะทำให้ผลไม้มีคุณภาพอย่างไร มีระบอบหีบห่อที่ดีอย่างไร รวมทั้งการพัฒนาตลาดผลไม้มากกว่าเพราะจะเป็นการพัฒนาตลาดที่ดีและยั่งยืน” นางดวงใจ ระบุ
ขณะที่นายวุฒิพงษ์ รัตนมนต์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้ จ.ตราด กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าการแทรกแซงราคาผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ช่วยให้ราคาผลไม้สูงขึ้นทั้งหมด และรัฐบาลไม่ได้ช่วยพยุงราคาผลไม้ทั้งระบบด้วย ทำให้ไม่เกิดผลดีต่อเกษตรกร แต่กลับเป็นการทำลายระบบการตลาดค้าผลไม้ อยากจะให้รัฐ บาลได้ยกเลิกการแทรกแซงและหันมาช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องอื่นจะเกิดผลดีกว่า เช่น ด้านวิชาการ หรือการพัฒนาผลผลิต