จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรี และหน่วยทหารในพื้นที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อประสิทธิภาพในการช่วยเหลือประชาชน
วันนี้ (22 เม.ย.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างนายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด กับ พลเรือโท สุวิทย์ ธาระรูป ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตราที่ 46 ที่กำหนดให้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายในเขตทหาร หรือที่เกี่ยวกับกิจการเจ้าหน้าที่ หรือทรัพย์สินในราชการทหาร ให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการจังหวัด และผู้บังคับบัญชาของทหารในเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ย้ำถึงการลงนามดังกล่าว ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของจังหวัดจันทบุรี และหน่วยทหารในพื้นที่ แต่เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ซึ่งจะมีผลต่อขั้นตอนการดำเนินงาน และการเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้การประสานงานมีประสิทธิภาพ สามารถให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
วันนี้ (22 เม.ย.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างนายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด กับ พลเรือโท สุวิทย์ ธาระรูป ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตราที่ 46 ที่กำหนดให้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายในเขตทหาร หรือที่เกี่ยวกับกิจการเจ้าหน้าที่ หรือทรัพย์สินในราชการทหาร ให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการจังหวัด และผู้บังคับบัญชาของทหารในเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ย้ำถึงการลงนามดังกล่าว ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของจังหวัดจันทบุรี และหน่วยทหารในพื้นที่ แต่เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ซึ่งจะมีผลต่อขั้นตอนการดำเนินงาน และการเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้การประสานงานมีประสิทธิภาพ สามารถให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว