เชียงใหม่ – กรรมาธิการพลังงานลงพื้นที่เชียงใหม่ ศึกษาระบบการกำจัดขยะแบบครบวงจร ของ วี.พี.เอ็น. คอลเล็คชั่นส์ หนุนแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงทดแทนการนำเข้า คาดอีก 1 ปี ใช้เชื้อเพลิงจากขยะในโรงงานอุตสาหกรรม-และครัวเรือนได้
พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน พร้อมคณะ เดินทางศึกษาดูงานการจัดการขยะของบริษัท วี.พี.เอ็น. คอลเล็คชั่นส์ จำกัด ที่โรงผลิตปุ๋ยหมักจากของเหลือใช้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ บ้านป่าตึงน้อย ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
พล.อ. เลิศรัตน์ เปิดเผยภายหลังเยี่ยมชนโครงการว่า การเดินทางลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนในครั้งนี้ เพื่อศึกษาหาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนในอนาคต โดยเฉพาะการผลิตเชื้อเพลิงขยะเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งบริษัทวี.พี.เอ็น. คอลเล็คชั่นส์ มีระบบการกำจัดขยะแบบครบวงจรที่เป็นแบบอย่างให้กับโรงงานแห่งอื่นทั่วประเทศ
ทั้งนี้พบว่าการนำขยะมูลฝอย ทำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะของโรงงานดังกล่าว น่าสนใจเป็นอย่างมาก จากการสอบถามพบว่าอยู่ในขั้นตอนการวิจัย คาดว่าในเร็วๆนี้จะสามารถนำออกมาใช้งานได้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการไม่ได้สนใจเฉพาะพลังงานจากขยะเท่านั้น แต่จะดูโดยภาพรวมของการนำสิ่งของเหลือใช้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนด้วย
“ปัจจุบันมีสิ่งของเหลือใช้ เช่น เศษไม้ กิ่งไม้ รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งกรรมาธิการจะศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต ซึ่งจะนำข้อมูลเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน ในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทน คาดว่าจะทำให้เสร็จก่อนแผนงบประมาณประจำปีนี้” พล.อ. เลิศรัตน์ กล่าว
ด้านนางวรรณี ลิทองกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท วี.พี.เอ็น.คอลเล็คชั่นส์ จำกัด เปิดเผยว่า โรงผลิตปุ๋ยหมักจากของเหลือใช้ ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ด้วยงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 465 ล้านบาท ซึ่งบริษัท วี.พี.เอ็น.คอลเล็คชั่นส์ ได้รับการว่างจ้างให้เข้ามาบริการจัดการและก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว
โรงงานแห่งนี้รับขยะจากพื้นที่ อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และอ.สันกำแพง เพื่อนำมากัดจัด คัดแยก ซึ่งเป็นโครงการกำจัดขยะมูลฝอยครบวงจรขนาดใหญ่ สามารถรองรับปริมาณขยะได้สูงสุด 300 ตันต่อวัน
นางวรรณี กล่าวต่ออีกว่า นอกจากการกำจัดขยะแล้ว โรงานยังผลิตปุ๋ยชีวภาพ และแปรรูปเป็นวัสดุก่อสร้างด้วย ล่าสุดร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการวิจัยการนำขยะมูลฝอยเพื่อทำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของขยะมูลฝอยให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ ซึ่งเชื้อเพลิงขยะเป็นพลังงานทดแทนอีกชนิดหนึ่ง เป็นทางเลือกในการนำไปในประโยชน์ลดการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากต่างประเทศ
ทั้งนี้การวิจัยดังกล่าวคาดว่าอีกประมาณ 1 ปี จะเสร็จสิ้น โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทดสอบในห้องทดลองถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน เนื่องจากการเผาไหม้จะมีก๊าซออกมาซึ่งต้องตรวจสอบและวิเคราะห็ให้แน่ชัดว่าก๊าซที่ออกมาจะไม่ส่งผลต่อสิ่งใดๆ
“การวิจัยชิ้นนี้จะนำไปสู่การใช้พลังงานทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานปูนซีเมนต์ และอาจจะนำไปใช้ในครัวเรือนได้หากการวิเคราะหฺออกมาไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน เพราะขยะในกองเดียวกันแต่เมื่อแยกและเผา ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้อาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องศึกษาให้แน่ใจว่าไม่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจน” นางวรรณี กล่าว
พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน พร้อมคณะ เดินทางศึกษาดูงานการจัดการขยะของบริษัท วี.พี.เอ็น. คอลเล็คชั่นส์ จำกัด ที่โรงผลิตปุ๋ยหมักจากของเหลือใช้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ บ้านป่าตึงน้อย ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
พล.อ. เลิศรัตน์ เปิดเผยภายหลังเยี่ยมชนโครงการว่า การเดินทางลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนในครั้งนี้ เพื่อศึกษาหาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนในอนาคต โดยเฉพาะการผลิตเชื้อเพลิงขยะเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งบริษัทวี.พี.เอ็น. คอลเล็คชั่นส์ มีระบบการกำจัดขยะแบบครบวงจรที่เป็นแบบอย่างให้กับโรงงานแห่งอื่นทั่วประเทศ
ทั้งนี้พบว่าการนำขยะมูลฝอย ทำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะของโรงงานดังกล่าว น่าสนใจเป็นอย่างมาก จากการสอบถามพบว่าอยู่ในขั้นตอนการวิจัย คาดว่าในเร็วๆนี้จะสามารถนำออกมาใช้งานได้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการไม่ได้สนใจเฉพาะพลังงานจากขยะเท่านั้น แต่จะดูโดยภาพรวมของการนำสิ่งของเหลือใช้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนด้วย
“ปัจจุบันมีสิ่งของเหลือใช้ เช่น เศษไม้ กิ่งไม้ รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งกรรมาธิการจะศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต ซึ่งจะนำข้อมูลเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน ในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทน คาดว่าจะทำให้เสร็จก่อนแผนงบประมาณประจำปีนี้” พล.อ. เลิศรัตน์ กล่าว
ด้านนางวรรณี ลิทองกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท วี.พี.เอ็น.คอลเล็คชั่นส์ จำกัด เปิดเผยว่า โรงผลิตปุ๋ยหมักจากของเหลือใช้ ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ด้วยงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 465 ล้านบาท ซึ่งบริษัท วี.พี.เอ็น.คอลเล็คชั่นส์ ได้รับการว่างจ้างให้เข้ามาบริการจัดการและก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว
โรงงานแห่งนี้รับขยะจากพื้นที่ อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และอ.สันกำแพง เพื่อนำมากัดจัด คัดแยก ซึ่งเป็นโครงการกำจัดขยะมูลฝอยครบวงจรขนาดใหญ่ สามารถรองรับปริมาณขยะได้สูงสุด 300 ตันต่อวัน
นางวรรณี กล่าวต่ออีกว่า นอกจากการกำจัดขยะแล้ว โรงานยังผลิตปุ๋ยชีวภาพ และแปรรูปเป็นวัสดุก่อสร้างด้วย ล่าสุดร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการวิจัยการนำขยะมูลฝอยเพื่อทำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของขยะมูลฝอยให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ ซึ่งเชื้อเพลิงขยะเป็นพลังงานทดแทนอีกชนิดหนึ่ง เป็นทางเลือกในการนำไปในประโยชน์ลดการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากต่างประเทศ
ทั้งนี้การวิจัยดังกล่าวคาดว่าอีกประมาณ 1 ปี จะเสร็จสิ้น โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทดสอบในห้องทดลองถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน เนื่องจากการเผาไหม้จะมีก๊าซออกมาซึ่งต้องตรวจสอบและวิเคราะห็ให้แน่ชัดว่าก๊าซที่ออกมาจะไม่ส่งผลต่อสิ่งใดๆ
“การวิจัยชิ้นนี้จะนำไปสู่การใช้พลังงานทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานปูนซีเมนต์ และอาจจะนำไปใช้ในครัวเรือนได้หากการวิเคราะหฺออกมาไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน เพราะขยะในกองเดียวกันแต่เมื่อแยกและเผา ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้อาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องศึกษาให้แน่ใจว่าไม่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจน” นางวรรณี กล่าว