ตาก - KNU และกลุ่มแนวร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยพม่า ออกแถลงคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทหารพม่าและแผนการเลือกตั้งในปี 2553 พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวนักโทษการเมือง-แก้ไขรัฐธรรมนูญ
วันนี้ (11 เมษายน 2552) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU หรือกะเหรี่ยงคริสต์ ร่วมกับ กลุ่มแนวร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งมาจากหลายกลุ่มได้ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทหารพม่า ปี 2551 และคัดค้านแผนการเลือกตั้งของรัฐบาลที่จะมีขึ้นในปี 2552 โดยให้เหตุผลว่าไม่มีความชอบธรรม พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งรวมถึงนางอองซานซูจี ผู้นำค่ายประชาธิปไตยในพม่า หัวหน้าพรรคพรรคเอ็นแอลดี(พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย) นายติ่นอู รองประธานพรรคเอ็นแอลดี และนายขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย (เอสเอ็นแอลดี)
นอกจากนี้ แถลงการณ์ของกลุ่มแนวร่วมยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าเปิดการเจรจาอย่างจริงจังเพื่อทบทวนแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งร่วมกันด้วย
แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากกลุ่ม กะเหรี่ยง KNU ภายใต้การนำของ พล.ต. เนอดา เมียะ ผู้นำทางทหารกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นบุตรชายนาย พลโบเมียะ อดีตประธานาธิบดี เคเอ็นยู. และกลุ่ม แนวร่วมซึ่งมาจากหลายกลุ่มได้นัดจัดประชุมหารือถึงแนวทางการต่อสู้อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 12 ภายใต้ชื่อ “การประชุมปรึกษายุทธศาสตร์” ซึ่งมีการจัดขึ้นต้นเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา ณ.สถานที่แห่งหนึ่งบริเวณชายแดนไทย –พม่า
โดยกลุ่มแนวร่วมที่เข้าร่วมประชุมและร่วมออกแถลงการณ์มี 7 กลุ่ม กับ 1 กองกำลัง ได้แก่ สภาแห่งชาติสหภาพพม่า (NCUB) รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งชาติสหภาพพม่า (NCGUB) สภากลุ่มชาติพันธุ์ (ENC) สันนิบาตสตรีพม่า (WLB) กลุ่มประชาธิปไตยในพม่า (FDB) สภานักศึกษาและเยาวชนพม่า (SYCB) และ ฟอรั่มเยาวชนแห่งชาติ (NYF) ซึ่งแนวร่วมทั้ง 7 กลุ่มนี้ได้ตกลงที่จะจัดตั้งเป็นแนวร่วมใหญ่ เพื่อดำเนินการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและความเสมอภาคในพม่า โดยมีกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เข้ามาร่วมเพื่อเป็นกองกำลังหลักในการคุ้มครองดูแลกลุ่ม 7 แนวร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า
วันนี้ (11 เมษายน 2552) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU หรือกะเหรี่ยงคริสต์ ร่วมกับ กลุ่มแนวร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งมาจากหลายกลุ่มได้ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทหารพม่า ปี 2551 และคัดค้านแผนการเลือกตั้งของรัฐบาลที่จะมีขึ้นในปี 2552 โดยให้เหตุผลว่าไม่มีความชอบธรรม พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งรวมถึงนางอองซานซูจี ผู้นำค่ายประชาธิปไตยในพม่า หัวหน้าพรรคพรรคเอ็นแอลดี(พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย) นายติ่นอู รองประธานพรรคเอ็นแอลดี และนายขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย (เอสเอ็นแอลดี)
นอกจากนี้ แถลงการณ์ของกลุ่มแนวร่วมยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าเปิดการเจรจาอย่างจริงจังเพื่อทบทวนแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งร่วมกันด้วย
แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากกลุ่ม กะเหรี่ยง KNU ภายใต้การนำของ พล.ต. เนอดา เมียะ ผู้นำทางทหารกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นบุตรชายนาย พลโบเมียะ อดีตประธานาธิบดี เคเอ็นยู. และกลุ่ม แนวร่วมซึ่งมาจากหลายกลุ่มได้นัดจัดประชุมหารือถึงแนวทางการต่อสู้อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 12 ภายใต้ชื่อ “การประชุมปรึกษายุทธศาสตร์” ซึ่งมีการจัดขึ้นต้นเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา ณ.สถานที่แห่งหนึ่งบริเวณชายแดนไทย –พม่า
โดยกลุ่มแนวร่วมที่เข้าร่วมประชุมและร่วมออกแถลงการณ์มี 7 กลุ่ม กับ 1 กองกำลัง ได้แก่ สภาแห่งชาติสหภาพพม่า (NCUB) รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งชาติสหภาพพม่า (NCGUB) สภากลุ่มชาติพันธุ์ (ENC) สันนิบาตสตรีพม่า (WLB) กลุ่มประชาธิปไตยในพม่า (FDB) สภานักศึกษาและเยาวชนพม่า (SYCB) และ ฟอรั่มเยาวชนแห่งชาติ (NYF) ซึ่งแนวร่วมทั้ง 7 กลุ่มนี้ได้ตกลงที่จะจัดตั้งเป็นแนวร่วมใหญ่ เพื่อดำเนินการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและความเสมอภาคในพม่า โดยมีกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เข้ามาร่วมเพื่อเป็นกองกำลังหลักในการคุ้มครองดูแลกลุ่ม 7 แนวร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า