xs
xsm
sm
md
lg

กนอ.จัดเสวนา “กลยุทธ์การฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้านแรงงาน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - กนอ.แหลมฉบัง จัดเสวนา “กลยุทธ์การฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้านแรงงาน”

วันนี้ (3 เม.ย.) ที่ห้องประชุมราชพฤกษ์ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี นายเสริมศักดิ์ สินธุเสก ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นประธาน จัดเสวนา “กลยุทธ์การฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้านแรงงาน” โดยมีหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จังหวัดชลบุรี, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน,ประกันสังคมจังหวัด และจัดหางานจังหวัด ซึ่งมีผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ร่วมเสวนาครั้งนี้จำนวน 140 คน

การจัดเสวนาในครั้งนี้ เนื่องด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ได้ตระหนักถึงปัญหาเศรษฐกิจที่สถานประกอบการกำลังได้รับ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคลากร ดังนั้นเพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ทราบถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยหวังเพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและพนักงาน มีความเข้าใจและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในอนาคต

ด้าน นายบรรจบ ศรีสุข ประธานชมรมผู้บริหารงานบุคคลแหลมฉบัง กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นนั้น ทุกๆคนที่เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้คงทราบปัญหาที่เกิดขึ้นดี เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกๆประเทศทั่วโลก ดังนั้น ควรจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ทั้งผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม สามารถอยู่ควบคู่กันได้ โดยไม่ส่งผลกระทบนรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย

ขณะนี้ทางรัฐบาล พยายามหาแนวทางและนโยบายในการเข้ามาแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้น เพื่อให้สภาวะทางเศรษฐกิจ มีสภาพที่คล่องตัวขึ้น โดยเฉพาะการจำจ่ายซื้อสินค้า เพื่อให้เงินมีการหมุนเวียน เพราะหากสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และไม่มีการกระทำอะไรเลย ปัญหาก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

นายสุวัฒน์ กองเงิน นักวิชาการสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้น ทางผู้ประกอบการและพนักงานจะต้องมีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ใช่ให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดการ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่มีข้อยุติ เช่น การจะลดค่าใช้จ่ายของบริษัทนั้น ควรจะลดแบบไหนอย่างไร, จะลดเท่าไร โดยหากโรงงานหรือบริษัท เป็นผู้ดำเนินการเอง ปัญหาเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เหมือนปัญหาการรวมตัวประท้วงของแรงงานในขณะนี้ ดังนั้น ควรจะต้องหาแนวทางร่วมกัน

กำลังโหลดความคิดเห็น