ศูนย์ข่าวขอนแก่น - สอจร.ชี้ไทยเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดติด 1 ใน 5 ของโลก ระบุเหล้ายังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละหลายหมื่นล้านบาท
นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ในฐานะประธานคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนนในระดับจังหวัด หรือ สอจร. เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนนในประเทศไทยพบว่าติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกที่เกิดความเสียหาย และความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเกิดอุบัติเหตุปีละหลายหมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ หากตัวเลขยอดรวมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุถึง 2 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.8% ของ GDP ซึ่งทำให้มาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจึงถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เริ่มจากมาตรการสวมหมวกนิรภัยเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ และถูกผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติโดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากหลายหน่วยงานประสานการทำงานเข้าด้วยกัน
ในแผนงานของ สอจร.ร่วมกับ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้สนับสนุนด้านงบประมาณและวิชาการ ด้วยการวางยุทธศาสตร์ 5E ประกอบด้วย การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) ให้การศึกษา (Education) การช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Medical Service) ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering) ด้านการมีส่วนร่วม (Empowerment) อย่างไรก็ตามการทำงานในระยะที่ 4 คือปี 2552 จะเพิ่มความเข้มข้นด้านการวิจัยและประเมินผล (Evaluation) ให้มากขึ้น
จากสถิติตัวเลข ในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยอดหลังตั้งแต่ปี 2545-2551 ตลอดทั้งปี คือ ปึ 2545 รวม 12,316 ราย ปี 2546 มีผู้เสียชีวิตรวม 14,012 ราย ปี2547 รวม 13,766 ราย ปี 2548 รวม 12,858 ราย ปี 2549 รวม 12,693 ราย ปี 2550 รวม 12,492 ราย และปี 2551 ยอดสรุปถึงเดือนสิงหาคม 7,350 ราย
จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงถึงปี 2549 และเพิ่มขึ้นในปี 2550 และลดลงอีกครั้งในปี 2551 โดยทั้งหมดเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นกับอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด ทำให้แผนการทำงานที่เน้นในเชิงรุก คือ ความร่วมมือของเครือข่ายทั่วประเทศ มาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เช่น สถาบันการศึกษา องค์การปกครองท้องถิ่น อบต. ชุมชน ที่ต้องเข้ามาสนใจเอาใจใส่กับเรื่องนี้ให้มากขึ้น”
ประธาน สอจร.ขอนแก่น กล่าวต่อว่า สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุจราจร มากกว่าร้อยละ 70 เกิดจากการขับรถขณะเมาสุรา ขณะที่การเตรียมความพร้อมรับมือการเกิดอุบัติเหตุ นั้นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลนำร่อง ต้นแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1669
ขณะนี้มีทีมกู้ชีพขั้นพื้นฐานก่อนนำส่งโรงพยาบาลอยู่ในทุกตำบล รวมกว่า 2,000 ทีม เพราะการใช้ทีมกู้ชีพที่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้ป่วยวิกฤติจากอุบัติเหตุมีโอกาสรอดจากความพิการและการเสียชีวิตได้สูง ซึ่งเป็นกระบวนการรักษาขั้นต้นก่อนถึงโรงพยาบาล อีกทั้งโรงพยาบาลขอนแก่นมีลานเฮลิคอปเตอร์อยู่ชั้นบนของตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ซึ่งถือเป็น 1 ใน 8 ตึกอุบัติเหตุทั่วประเทศ ที่มีการให้บริการรับ-ส่งผู้ป่วยด้วยเฮลิคอปเตอร์ที่จะสามารถปฏิบัติการรักษาได้ทันที
นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ในฐานะประธานคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนนในระดับจังหวัด หรือ สอจร. เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนนในประเทศไทยพบว่าติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกที่เกิดความเสียหาย และความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเกิดอุบัติเหตุปีละหลายหมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ หากตัวเลขยอดรวมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุถึง 2 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.8% ของ GDP ซึ่งทำให้มาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจึงถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เริ่มจากมาตรการสวมหมวกนิรภัยเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ และถูกผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติโดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากหลายหน่วยงานประสานการทำงานเข้าด้วยกัน
ในแผนงานของ สอจร.ร่วมกับ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้สนับสนุนด้านงบประมาณและวิชาการ ด้วยการวางยุทธศาสตร์ 5E ประกอบด้วย การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) ให้การศึกษา (Education) การช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Medical Service) ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering) ด้านการมีส่วนร่วม (Empowerment) อย่างไรก็ตามการทำงานในระยะที่ 4 คือปี 2552 จะเพิ่มความเข้มข้นด้านการวิจัยและประเมินผล (Evaluation) ให้มากขึ้น
จากสถิติตัวเลข ในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยอดหลังตั้งแต่ปี 2545-2551 ตลอดทั้งปี คือ ปึ 2545 รวม 12,316 ราย ปี 2546 มีผู้เสียชีวิตรวม 14,012 ราย ปี2547 รวม 13,766 ราย ปี 2548 รวม 12,858 ราย ปี 2549 รวม 12,693 ราย ปี 2550 รวม 12,492 ราย และปี 2551 ยอดสรุปถึงเดือนสิงหาคม 7,350 ราย
จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงถึงปี 2549 และเพิ่มขึ้นในปี 2550 และลดลงอีกครั้งในปี 2551 โดยทั้งหมดเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นกับอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด ทำให้แผนการทำงานที่เน้นในเชิงรุก คือ ความร่วมมือของเครือข่ายทั่วประเทศ มาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เช่น สถาบันการศึกษา องค์การปกครองท้องถิ่น อบต. ชุมชน ที่ต้องเข้ามาสนใจเอาใจใส่กับเรื่องนี้ให้มากขึ้น”
ประธาน สอจร.ขอนแก่น กล่าวต่อว่า สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุจราจร มากกว่าร้อยละ 70 เกิดจากการขับรถขณะเมาสุรา ขณะที่การเตรียมความพร้อมรับมือการเกิดอุบัติเหตุ นั้นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลนำร่อง ต้นแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1669
ขณะนี้มีทีมกู้ชีพขั้นพื้นฐานก่อนนำส่งโรงพยาบาลอยู่ในทุกตำบล รวมกว่า 2,000 ทีม เพราะการใช้ทีมกู้ชีพที่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้ป่วยวิกฤติจากอุบัติเหตุมีโอกาสรอดจากความพิการและการเสียชีวิตได้สูง ซึ่งเป็นกระบวนการรักษาขั้นต้นก่อนถึงโรงพยาบาล อีกทั้งโรงพยาบาลขอนแก่นมีลานเฮลิคอปเตอร์อยู่ชั้นบนของตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ซึ่งถือเป็น 1 ใน 8 ตึกอุบัติเหตุทั่วประเทศ ที่มีการให้บริการรับ-ส่งผู้ป่วยด้วยเฮลิคอปเตอร์ที่จะสามารถปฏิบัติการรักษาได้ทันที