กาฬสินธุ์ - จังหวัดกาฬสินธุ์รณรงค์ให้ประชาชนซื้อผ้าพื้นเมือง เป็นของฝากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มั่นใจหลังจากผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาจะทำให้มีรายได้เพียงพอสู้ภัยในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (27 มี.ค.) นางพิไลลักษณ์ ตันติยวรงค์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ผ้าฝ้ายทอมืออีสาน ที่ตำบลคุ้มเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตและส่งเสริมผ้าทออีสาน ที่มีกลุ่มสตรีทอผ้า นำผลิตภัณฑ์เข้ามาร่วมกันจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นผ้าแพรวา ผ้าไหมลายขิดและผ้าฝ้ายทอมือ เครื่องจักสารนที่ในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดปีละกว่า 10 ล้านบาท
นางพิไลลักษณ์ ตันติยวรงค์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตามนโยบายการส่งเสริมอาชีพ ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จังหวัดมั่นใจว่าหากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็น ผลิตภัณฑ์ของดีในชุมชน ที่ผ่านการยกมาตรฐานสินค้า และมีการวางแผนจำหน่ายอย่างครบวงจร ผลของการรวมกลุ่มจะทำให้ ชาวบ้าน สามารถที่จะต่อสู้กับพิษเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน ผ้าไหมทอมือ ซึ่งจะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นที่แตกต่างกัน แต่หากสามารถผลิตและมีมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด ก็จะทำให้ ชุมชนนั้นสามารถมีรายได้ที่เพียงพอ
โดยเฉพาะในศูนย์รวมผ้าฝ้ายทอมืออีสานแห่งนี้ ในแต่ละเดือนจะมีออเดอร์สั่งตรงจากร้านค้าในกรุงเทพฯ เฉลี่ยต่อเดือนกว่า 2 แสนบาท หรือประมาณ 10 ล้านบาทในแต่ละปี ทั้งนี้นอกจากผลิตภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้ จังหวัดก็ยังจะพยายามจัดหาตลาดเข้ามารับซื้อในพื้นที่อีกด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (27 มี.ค.) นางพิไลลักษณ์ ตันติยวรงค์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ผ้าฝ้ายทอมืออีสาน ที่ตำบลคุ้มเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตและส่งเสริมผ้าทออีสาน ที่มีกลุ่มสตรีทอผ้า นำผลิตภัณฑ์เข้ามาร่วมกันจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นผ้าแพรวา ผ้าไหมลายขิดและผ้าฝ้ายทอมือ เครื่องจักสารนที่ในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดปีละกว่า 10 ล้านบาท
นางพิไลลักษณ์ ตันติยวรงค์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตามนโยบายการส่งเสริมอาชีพ ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จังหวัดมั่นใจว่าหากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็น ผลิตภัณฑ์ของดีในชุมชน ที่ผ่านการยกมาตรฐานสินค้า และมีการวางแผนจำหน่ายอย่างครบวงจร ผลของการรวมกลุ่มจะทำให้ ชาวบ้าน สามารถที่จะต่อสู้กับพิษเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน ผ้าไหมทอมือ ซึ่งจะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นที่แตกต่างกัน แต่หากสามารถผลิตและมีมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด ก็จะทำให้ ชุมชนนั้นสามารถมีรายได้ที่เพียงพอ
โดยเฉพาะในศูนย์รวมผ้าฝ้ายทอมืออีสานแห่งนี้ ในแต่ละเดือนจะมีออเดอร์สั่งตรงจากร้านค้าในกรุงเทพฯ เฉลี่ยต่อเดือนกว่า 2 แสนบาท หรือประมาณ 10 ล้านบาทในแต่ละปี ทั้งนี้นอกจากผลิตภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้ จังหวัดก็ยังจะพยายามจัดหาตลาดเข้ามารับซื้อในพื้นที่อีกด้วย