มหาสารคาม - ผลกระทบจากภัยแล้งส่งผลให้ประชาชนหลายพื้นที่ป่วยด้วยโรคท้องร่วงแล้ว กว่า 2,000 ราย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะวิธีการป้องกันและการรับประทานอาหารให้ปลอดภัย
จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ครอบคลุมไปทุกพื้นที่ ส่งผลให้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการแพร่ระบาดของโรคท้องร่วง ล่าสุดเฉพาะที่เข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐแล้ว 2,255 คน คิดเป็นอัตรา 235.31 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วย 3 ลำดับแรกพบมากที่อำเภอนาดูน 130 ราย อำเภอแกดำจำนวน 98 ราย และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 389 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงอาการอุจจาระร่วงจากการรับประทานอาหาร ซึ่งยังไม่ถึงขั้นอุจจาระร่วงอย่างแรง หรืออุจจาระร่วงจากการติดเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว ประชาชนควรรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงให้สุกใหม่ๆด้วยความร้อน ไม่ค้างคืน ไม่มีแมลงวันตอม ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปควรนำมาอุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน สำหรับน้ำดื่มจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด เพื่อความปลอดภัยจะต้องต้มให้เดือดก่อนนำไปดื่ม
อย่างไรก็ตาม หากพบผู้ป่วยอุจจาระร่วง มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ 2-3 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง ปวดท้อง อาเจียน เหนื่อย อ่อนเพลีย มีไข้ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเกลือแร่แทนน้ำ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ครอบคลุมไปทุกพื้นที่ ส่งผลให้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการแพร่ระบาดของโรคท้องร่วง ล่าสุดเฉพาะที่เข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐแล้ว 2,255 คน คิดเป็นอัตรา 235.31 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วย 3 ลำดับแรกพบมากที่อำเภอนาดูน 130 ราย อำเภอแกดำจำนวน 98 ราย และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 389 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงอาการอุจจาระร่วงจากการรับประทานอาหาร ซึ่งยังไม่ถึงขั้นอุจจาระร่วงอย่างแรง หรืออุจจาระร่วงจากการติดเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว ประชาชนควรรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงให้สุกใหม่ๆด้วยความร้อน ไม่ค้างคืน ไม่มีแมลงวันตอม ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปควรนำมาอุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน สำหรับน้ำดื่มจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด เพื่อความปลอดภัยจะต้องต้มให้เดือดก่อนนำไปดื่ม
อย่างไรก็ตาม หากพบผู้ป่วยอุจจาระร่วง มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ 2-3 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง ปวดท้อง อาเจียน เหนื่อย อ่อนเพลีย มีไข้ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเกลือแร่แทนน้ำ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป