เชียงใหม่ – เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะเตรียมยื่นอุทธรณ์หลังศาลตัดสินให้ กฟผ.จ่ายเงิน 2.4 แสนบาท ให้ 91 คนเท่านั้น ขนะที่อีก 40 คน ได้ 10,000-20,000 บาท ทั้งที่ป่วยเช่นเดียวกัน พร้อมยื่นหนังสือ “อภิสิทธิ์” หลังพบ กฟผ.-จังหวัดลำปาง อมเงินกองทุนชุมชนรอบโรงไฟฟ้าฯ 300 กว่าล้านบาท
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เปิดเผยว่า จากการประชุมของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะได้มีมติเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อขอความเป็นธรรมในกรณีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยไม่เท่ากันภายหลังศาลปกครองเชียงใหม่ตัดสินใจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ่ายเงินชดเชยให้คนละ 240,000 บาท
โดยมีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยจำนวน 240,000 คน เพียง 91 คน เท่านั้น ขณะที่ผู้ป่วยอีก 40 คนได้รับเงินชดเชย 10,000-20,000 บาท เท่านั้น ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ป่วย เนื่องจากได้รับผลกระทบเหมือนกัน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เดียวกัน รวมทั้งมีอาการเดียวกันด้วย
“จำนวนเงินที่ได้รับมาผู้ป่วยมองว่าไม่เพียงพอต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน ดังนั้น ในวันพรุ่งนี้ (6 มี.ค.) จะเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อปรึกษากับสภาทนายความ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกฏหมายและนำหลักฐานเพิ่มเติมไปให้ก่อนยื่นอุทธรณ์ต่อไป” นางมะลิวรรณ กล่าว
นางมะลิวรรณ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ จะเข้าไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะมีสิทธิในกองทุนรวมชุมชมรอบโรงไฟฟ้า ที่ได้จากการเก็บจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศ 2% ในการดูแลชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจังหวัดลำปางได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 300 กว่าล้านบาท แต่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากลับไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนเหล่านั้น
“จังหวัดได้ 30% ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะได้ 70% ซึ่งที่ผ่านมาเงินจำนวนนี้ชุมชนไม่เคยได้จากประโยชน์จากเงินเหล่านี้ ซึ่งจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อนำมาเยียวยา และช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ หรือชุมชนที่อยู่รอบข้าง ทั้งที่เครือข่ายฯเป็นคนเรียกร้องจนได้เงินมา แต่จังหวัดและแม่เมาะกลับไม่นำมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง” นางมะลิวรรณ กล่าว
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เปิดเผยว่า จากการประชุมของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะได้มีมติเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อขอความเป็นธรรมในกรณีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยไม่เท่ากันภายหลังศาลปกครองเชียงใหม่ตัดสินใจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ่ายเงินชดเชยให้คนละ 240,000 บาท
โดยมีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยจำนวน 240,000 คน เพียง 91 คน เท่านั้น ขณะที่ผู้ป่วยอีก 40 คนได้รับเงินชดเชย 10,000-20,000 บาท เท่านั้น ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ป่วย เนื่องจากได้รับผลกระทบเหมือนกัน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เดียวกัน รวมทั้งมีอาการเดียวกันด้วย
“จำนวนเงินที่ได้รับมาผู้ป่วยมองว่าไม่เพียงพอต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน ดังนั้น ในวันพรุ่งนี้ (6 มี.ค.) จะเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อปรึกษากับสภาทนายความ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกฏหมายและนำหลักฐานเพิ่มเติมไปให้ก่อนยื่นอุทธรณ์ต่อไป” นางมะลิวรรณ กล่าว
นางมะลิวรรณ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ จะเข้าไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะมีสิทธิในกองทุนรวมชุมชมรอบโรงไฟฟ้า ที่ได้จากการเก็บจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศ 2% ในการดูแลชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจังหวัดลำปางได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 300 กว่าล้านบาท แต่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากลับไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนเหล่านั้น
“จังหวัดได้ 30% ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะได้ 70% ซึ่งที่ผ่านมาเงินจำนวนนี้ชุมชนไม่เคยได้จากประโยชน์จากเงินเหล่านี้ ซึ่งจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อนำมาเยียวยา และช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ หรือชุมชนที่อยู่รอบข้าง ทั้งที่เครือข่ายฯเป็นคนเรียกร้องจนได้เงินมา แต่จังหวัดและแม่เมาะกลับไม่นำมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง” นางมะลิวรรณ กล่าว