กาฬสินธุ์ - ภัยแห้งแล้ง เริ่มส่งผลให้ชาวนาที่กาฬสินธุ์ ประสบปัญหาหอยเชอรี่ และเพลี้ยระบาด สร้างความเสียหายให้กับต้นข้าวในนาเป็นบริเวณกว้าง อีกทั้งยังได้รับความเดือดร้อนจากราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับสูงขึ้นอีก
นางบุญร่วม ภูผาลาด อายุ 61 ปี ชาวนาตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัญหาภาวะความแห้งแล้ง ได้ส่งผลให้สภาวะอากาศวิปริต ขณะนี้เกิดปัญหาหอยเชอรี่ และเพลี้ยระบาดในนาข้าวหนักกว่าทุกปี โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไรแดง ได้เข้ากัดกินต้นข้าวเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ เชื่อว่า เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน
อีกทั้งปัญหาราคาปุ๋ยเคมีก็ยังมีราคาสูงเฉลี่ยกระสอบละ 1 พันบาท ที่ทำให้เกษตรกรที่ไม่มีกำลังซื้อจะส่งผลให้ต้นข้าวที่ขาดปุ๋ยเกิดปัญหาต้นข้าวแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตที่จะทำให้ได้ผลผลิตน้อย
ปัญหาภัยธรรมชาติและปัญหาราคาปุ๋ยแพงทุกปี จะทำให้ผู้ประกอบการโรงสีใหญ่ ฉวยโอกาสในการรับซื้อ และมีการกดราคาให้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จึงต้องการให้ภาครัฐ เข้ามาควบคุมระบบการรับซื้อ ที่จะต้องไม่ปล่อยช่องว่างให้กลุ่มโรงสีเอาเปรียบชาวนา
สำหรับปริมาณข้าวนาปรังในปีนี้ที่กาฬสินธุ์ ทำการเพาะปลูกจำนวน 260,000 ไร่ ในเขตชลประทาน และคาดว่า จะได้ข้าวมากกว่า 2 ล้านตัน ที่นับว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แต่มักจะประสบปัญหาการเอาเปรียบจากผู้ประกอบการโรงสีข้าวทุกปี เนื่องจากมีระบบการตกเขียวกับการตั้งชาวนาเป็นหัวคะแนนให้กับนักการเมือง
นางบุญร่วม ภูผาลาด อายุ 61 ปี ชาวนาตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัญหาภาวะความแห้งแล้ง ได้ส่งผลให้สภาวะอากาศวิปริต ขณะนี้เกิดปัญหาหอยเชอรี่ และเพลี้ยระบาดในนาข้าวหนักกว่าทุกปี โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไรแดง ได้เข้ากัดกินต้นข้าวเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ เชื่อว่า เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน
อีกทั้งปัญหาราคาปุ๋ยเคมีก็ยังมีราคาสูงเฉลี่ยกระสอบละ 1 พันบาท ที่ทำให้เกษตรกรที่ไม่มีกำลังซื้อจะส่งผลให้ต้นข้าวที่ขาดปุ๋ยเกิดปัญหาต้นข้าวแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตที่จะทำให้ได้ผลผลิตน้อย
ปัญหาภัยธรรมชาติและปัญหาราคาปุ๋ยแพงทุกปี จะทำให้ผู้ประกอบการโรงสีใหญ่ ฉวยโอกาสในการรับซื้อ และมีการกดราคาให้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จึงต้องการให้ภาครัฐ เข้ามาควบคุมระบบการรับซื้อ ที่จะต้องไม่ปล่อยช่องว่างให้กลุ่มโรงสีเอาเปรียบชาวนา
สำหรับปริมาณข้าวนาปรังในปีนี้ที่กาฬสินธุ์ ทำการเพาะปลูกจำนวน 260,000 ไร่ ในเขตชลประทาน และคาดว่า จะได้ข้าวมากกว่า 2 ล้านตัน ที่นับว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แต่มักจะประสบปัญหาการเอาเปรียบจากผู้ประกอบการโรงสีข้าวทุกปี เนื่องจากมีระบบการตกเขียวกับการตั้งชาวนาเป็นหัวคะแนนให้กับนักการเมือง