ตราด - กำนัน ต.ห้วยแร้งเผย 2 ตำบลแล้งหนัก เตรียมทำฝายกั้นคลอง ด้าน NGO ต้าน ระบุกระทบท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ขณะนายก อบต.ห้วยแร้งแก้ดึงชุมชน ส่วนราชการทำประชาพิจารณ์
นายชูชีพ เลี้ยงถนอม กำนัน ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด เปิดเผยว่า ต.ห้วยแร้ง เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนักใน 4 หมู่บ้าน เนื่องจากอ่างเก็บน้ำ 2-3 แห่ง สภาพน้ำเหลือน้อย และไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของประชาชน ที่ต้องใช้ในการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวบ้านหมู่ที่ 5 และหมู่ 10 จะดำเนินการทำฝายกั้นคลองห้วยแร้งเพื่อเก็บน้ำไว้ใน 2 หมู่บ้าน และจะสามารถทำให้ประชาชนใน 4 หมู่บ้านไม่ได้รับความเดือดร้อน ปรากฏว่ากลุ่ม NGO และนักวิชาการ ที่เข้ามาทำกิจกรรมท่องเที่ยวในตำบลไม่เห็นด้วย เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งตนไม่เห็นด้วย เพราะต้องช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ก่อน
“ขณะที่ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะขาดแคลนน้ำทางการเกษตร แต่กลุ่ม NGO กลับมาต่อต้านเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ เพราะหากไม่มีน้ำพืชผลทางการเกษตรจะได้รับความเสียหายเป็นอันมาก ผมเข้าใจว่า กลุ่มอนุรักษ์ต้องการที่จะคัดค้านการสร้างฝาย เพราะจะทำให้จัดการท่องเที่ยวไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจปัญหาของเกษตรกรด้วย และการที่จะมีการทำประชาพิจารณ์ เป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องโปร่งใสด้วย”
ขณะที่ นายประพัฒน์ ฤทธิเพช นายกอบต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นใน ตำบลห้วยแร้งหนักที่สุดใน 1 หมู่บ้าน เพราะอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง น้ำเหลือน้อย แม้อ่างเก็บน้ำกระดูกช้างจะปล่อยน้ำมาให้ แต่ไม่เพียงพอ ชาวบ้าน 2 หมู่บ้านจึงมีความคิดที่จะทำฝายกั้นเก็บรักษาน้ำไว้ในคลองห้วยแร้ง แต่ก็ไปกระทบต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาวบ้านอีก 1 หมู่บ้าน
อบต.ห้วยแร้งจึงต้องการที่จะแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ก่อนที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน จึงได้เชิญประชาชนชาว ต.ห้วยแร้งมาทำประชาพิจารณ์ เพื่อหาข้อยุติทั้ง 2 ฝ่าย แต่ อบต.ต้องการให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ข้อยุติที่เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งเสีย และไม่เกิดความ ขัดแย้งด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วย
นายชูชีพ เลี้ยงถนอม กำนัน ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด เปิดเผยว่า ต.ห้วยแร้ง เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนักใน 4 หมู่บ้าน เนื่องจากอ่างเก็บน้ำ 2-3 แห่ง สภาพน้ำเหลือน้อย และไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของประชาชน ที่ต้องใช้ในการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวบ้านหมู่ที่ 5 และหมู่ 10 จะดำเนินการทำฝายกั้นคลองห้วยแร้งเพื่อเก็บน้ำไว้ใน 2 หมู่บ้าน และจะสามารถทำให้ประชาชนใน 4 หมู่บ้านไม่ได้รับความเดือดร้อน ปรากฏว่ากลุ่ม NGO และนักวิชาการ ที่เข้ามาทำกิจกรรมท่องเที่ยวในตำบลไม่เห็นด้วย เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งตนไม่เห็นด้วย เพราะต้องช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ก่อน
“ขณะที่ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะขาดแคลนน้ำทางการเกษตร แต่กลุ่ม NGO กลับมาต่อต้านเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ เพราะหากไม่มีน้ำพืชผลทางการเกษตรจะได้รับความเสียหายเป็นอันมาก ผมเข้าใจว่า กลุ่มอนุรักษ์ต้องการที่จะคัดค้านการสร้างฝาย เพราะจะทำให้จัดการท่องเที่ยวไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจปัญหาของเกษตรกรด้วย และการที่จะมีการทำประชาพิจารณ์ เป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องโปร่งใสด้วย”
ขณะที่ นายประพัฒน์ ฤทธิเพช นายกอบต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นใน ตำบลห้วยแร้งหนักที่สุดใน 1 หมู่บ้าน เพราะอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง น้ำเหลือน้อย แม้อ่างเก็บน้ำกระดูกช้างจะปล่อยน้ำมาให้ แต่ไม่เพียงพอ ชาวบ้าน 2 หมู่บ้านจึงมีความคิดที่จะทำฝายกั้นเก็บรักษาน้ำไว้ในคลองห้วยแร้ง แต่ก็ไปกระทบต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาวบ้านอีก 1 หมู่บ้าน
อบต.ห้วยแร้งจึงต้องการที่จะแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ก่อนที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน จึงได้เชิญประชาชนชาว ต.ห้วยแร้งมาทำประชาพิจารณ์ เพื่อหาข้อยุติทั้ง 2 ฝ่าย แต่ อบต.ต้องการให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ข้อยุติที่เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งเสีย และไม่เกิดความ ขัดแย้งด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วย