บุรีรัมย์ - น้ำในลำน้ำมูลเริ่มตื้นเขินส่งผลกระทบกับผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ลดลงกว่าครึ่ง เหตุเกรงประสบปัญหาขาดทุนซ้ำซาก หลายรายอพยพไปหาทำงานรับจ้างต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว
วันนี้ ( 3 ก.พ. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.บุรีรัมย์เริ่มเข้าสู่สภาวะภัยแล้ง น้ำในลำน้ำมูลที่ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณตื้นเขินลงอย่างรวดเร็วจนสามารถเดินข้ามไปมาได้ ส่งผลกระทบกับผู้มีอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง บ.ท่าเรือ ต.ท่าม่วง อ.สตึก ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่มั่นใจเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอ เพราะหากน้ำตื้นเขินไม่ไหลเวียนจะทำให้เกิดกรดแก๊ส ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไว้ช็อกตายและประสบปัญหาขาดทุนอย่างเช่นทุกปีที่ผ่านมา เกษตรกรจึงได้ชะลอการเลี้ยงลง
ทั้งนี้จากเมื่อหลายปีก่อนมีเกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชังใน ต.ท่าม่วง ร่วม 50 ราย ขณะนี้เหลือเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น เกษตรกรที่เลิกและชะลอการเลี้ยงได้หันไปประกอบอาชีพอื่นแทน หลายรายเคลื่อนย้ายไปหาทำงานก่อสร้างและรับจ้างทั่วไปยังต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว และชดใช้หนี้สินทั้งในและนอกระบบที่เกิดจากการกู้ยืมมาลงทุน
นายณรงค์ วงศ์แสงรัตน์ อายุ 49 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง บ.ท่าเรือ ต.ท่าม่วง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ปีนี้ได้ชะลอการเลี้ยง เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดทุนติดต่อกันมาหลายปีจนไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน จึงต้องหันไปทำงานรับเหมาก่อสร้างที่กรุงเทพฯ เพื่อนำเงินมาใช้หนี้สินและใช้จ่ายในครอบครัว
“จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลมาสำรวจและทำเขื่อนยาง หรือฝาย ให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี และเพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังได้อย่างเช่นที่ผ่านมา” นายณรงค์ กล่าว
วันนี้ ( 3 ก.พ. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.บุรีรัมย์เริ่มเข้าสู่สภาวะภัยแล้ง น้ำในลำน้ำมูลที่ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณตื้นเขินลงอย่างรวดเร็วจนสามารถเดินข้ามไปมาได้ ส่งผลกระทบกับผู้มีอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง บ.ท่าเรือ ต.ท่าม่วง อ.สตึก ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่มั่นใจเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอ เพราะหากน้ำตื้นเขินไม่ไหลเวียนจะทำให้เกิดกรดแก๊ส ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไว้ช็อกตายและประสบปัญหาขาดทุนอย่างเช่นทุกปีที่ผ่านมา เกษตรกรจึงได้ชะลอการเลี้ยงลง
ทั้งนี้จากเมื่อหลายปีก่อนมีเกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชังใน ต.ท่าม่วง ร่วม 50 ราย ขณะนี้เหลือเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น เกษตรกรที่เลิกและชะลอการเลี้ยงได้หันไปประกอบอาชีพอื่นแทน หลายรายเคลื่อนย้ายไปหาทำงานก่อสร้างและรับจ้างทั่วไปยังต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว และชดใช้หนี้สินทั้งในและนอกระบบที่เกิดจากการกู้ยืมมาลงทุน
นายณรงค์ วงศ์แสงรัตน์ อายุ 49 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง บ.ท่าเรือ ต.ท่าม่วง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ปีนี้ได้ชะลอการเลี้ยง เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดทุนติดต่อกันมาหลายปีจนไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน จึงต้องหันไปทำงานรับเหมาก่อสร้างที่กรุงเทพฯ เพื่อนำเงินมาใช้หนี้สินและใช้จ่ายในครอบครัว
“จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลมาสำรวจและทำเขื่อนยาง หรือฝาย ให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี และเพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังได้อย่างเช่นที่ผ่านมา” นายณรงค์ กล่าว