กาฬสินธุ์ - เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ แนะนำเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานให้ระวังฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังกว่า 2 แสนไร่ เพราะเชื่อว่าจะเกิดปัญหาศัตรูพืชในพื้นที่นาข้าว
นายสมบูรณ์ วุฒิพงค์ประเสริฐ เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า หลังจากเกษตรกรที่เริ่มลงมือปลูกพืชฤดูแล้ง ด้วยศักยภาพของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีเขื่อนลำปาวจึงทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งมากที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งในปีนี้ มีเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังแล้วจำนวน 2.2 แสนไร่ และพืชผักสวนครัวกว่า 30,000 ไร่ รวมกว่า 2.5 แสนไร่ แต่ปัญหาสภาพอากาศหนาวเย็น ที่ส่อเค้าจะทำให้เกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง นอกจากการเตรียมการช่วยเหลือระวังภัยและให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่การเกษตร และสิ่งที่เกษตรกรควรระวังก็คือปัญหาศัตรูพืชในนาข้าว
โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จะมากับความแห้งแล้งอาจจะสร้างปัญหาให้กับต้นข้าวนาปรัง โดยเฉพาะในขณะนี้หากเป็นพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ชลประทาน เกษตรกรก็ควรที่จะหยุดทำการเพาะปลูกข้าวแต่ให้หันมาปลูกพืชผักสวนครัวแทน
สำหรับแผนการช่วยเหลือในอนาคต จะมีกิจกรรมการส่งเสริมเกษตรกรด้วยการให้ความรู้ทุกรูปแบบ โดยข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ และจะมีการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ตรงโดยปราชญ์ชาวบ้าน ที่ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จจากการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
นายสมบูรณ์ วุฒิพงค์ประเสริฐ เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า หลังจากเกษตรกรที่เริ่มลงมือปลูกพืชฤดูแล้ง ด้วยศักยภาพของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีเขื่อนลำปาวจึงทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งมากที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งในปีนี้ มีเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังแล้วจำนวน 2.2 แสนไร่ และพืชผักสวนครัวกว่า 30,000 ไร่ รวมกว่า 2.5 แสนไร่ แต่ปัญหาสภาพอากาศหนาวเย็น ที่ส่อเค้าจะทำให้เกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง นอกจากการเตรียมการช่วยเหลือระวังภัยและให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่การเกษตร และสิ่งที่เกษตรกรควรระวังก็คือปัญหาศัตรูพืชในนาข้าว
โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จะมากับความแห้งแล้งอาจจะสร้างปัญหาให้กับต้นข้าวนาปรัง โดยเฉพาะในขณะนี้หากเป็นพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ชลประทาน เกษตรกรก็ควรที่จะหยุดทำการเพาะปลูกข้าวแต่ให้หันมาปลูกพืชผักสวนครัวแทน
สำหรับแผนการช่วยเหลือในอนาคต จะมีกิจกรรมการส่งเสริมเกษตรกรด้วยการให้ความรู้ทุกรูปแบบ โดยข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ และจะมีการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ตรงโดยปราชญ์ชาวบ้าน ที่ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จจากการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน