เชียงราย – ทุกหน่วยเร่งล้อมคอก หลัง “เชียงราย” รั้งแชมป์เกิดอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายมากที่สุด เตรียมปรับแผนใหม่แก้ปัญหาให้ถึงระดับหมู่บ้าน หลังพบคนเจ็บ-ตาย ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นที่เมาแล้วขับ-ประมาท ไม่สวมหมวกกันน็อค ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างถิ่นนับแสนคนกลับไร้ปัญหา
รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า หลังจากเชียงราย มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย (30 ธ.ค.2551-วันที่ 5 ม.ค.2552) มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศโดยจนถึงเย็นวันที่ 5 ม.ค.พบว่ามีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 21 รายนั้น ได้ทำให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน จ.เชียงรายช่วงเทศกาล ปีใหม่ 2552 ต่างมีความวิตกกังวลในสถิติดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการเตรียมพร้อมรับช่วงเทศกาลมาแล้วเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการตั้งจุดตรวจแอลกอฮอล์ การติดป้ายรณรงค์ การกระจายกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ไปประจำตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าสถิติยังคงพุ่งสูงกว่าทุกจังหวัด ขณะที่พบว่าผู้ที่ประสบอุบัตเหตุเกือบทุกรายเป็นคนในท้องถิ่นและมึนเมาสุราก่อนจะไปขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อค
นายสุเทพ เดชชัยศรี หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย ในฐานะเลขานุการศูนย์ฯ กล่าวว่า คงต้องมีการปรับแผนอุบัติเหตุของจังหวัดกันขนานใหญ่เนื่องจากหากปล่อยทิ้งเอาไว้และใช้มาตรการเดิมต่อไปคงจะเอาไม่อยู่อย่างแน่นอน เนื่องจากในปีนี้พบว่าอุบัติเหตุเกือบทุกรายเกิดจากคนในท้องถิ่นที่ดื่มสุราจนเมาและขับขี่จักรยานยนต์ด้วยความประมาทโดยเฉพาะไม่สวมหมวกกันน็อกจะมีเพียง 2 รายเท่านั้นที่ขับขี่รถยนต์ไปตกเหวหรือชนเสาไฟฟ้า รวมทั้งอีกรายข้ามถนนถูกรถตู้ชนที่เหลือล้วนมาจากการขับขี่จักรยานยนต์ตามลักษณะดังกล่าวทั้งหมด
ขณะเดียวกัน พบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือน จ.เชียงราย หลายหมื่นหลายแสนคนนั้นแทบจะไม่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเลย
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย กล่าวด้วยว่า หากว่าไม่มีการปรับแผนคงไม่สามารถยับยั้งสถิติอุบัติเหตุที่มากมายขนาดนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะเป็นอุบัติเหตุรายย่อยที่ไม่สามารถใช้การณรงค์ ตั้งจุดตรวจ ฯลฯ ตามธรรมดาทั่วไปได้แต่ต้องลงลึกถึงระดับหมู่บ้าน ขณะที่ในนี้มีการรณรงค์ประกวดตำบลที่ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่านั้นยังไม่ถึงระดับหมู่บ้าน ทั้งนี้หลังการสรุปผลในช่วง 7 วันอันตรายในวันนี้ (6 ม.ค.) แล้ว ทางผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ในฐานะประธานศูนย์ฯ คงจะมีการปรับแผนเพื่อจะให้บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านนำไปปฏิบัติต่อไป
“ในอนาคตคงต้องมีการปรับแผนกันใหม่ โดยการรณรงค์ให้ลงไปถึงระดับชุมชน ตำบลและหมู่บ้านให้มากขึ้น เพื่อให้บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนต่างๆ ได้ลงไปพูดคุยตกลงกับลูกบ้านทุกคนให้ลดพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 1 ปี หรือถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 เพราะต้องให้เวลากับกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน”
นายสุเทพ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงในช่วงเดือน เม.ย.นี้แผนใหม่ดังกล่าวคงจะไม่ทันการณ์เพราะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน คงไม่สามารถรณรงค์อย่างเข้มข้นให้ถึงทุกหมู่บ้านได้
รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า หลังจากเชียงราย มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย (30 ธ.ค.2551-วันที่ 5 ม.ค.2552) มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศโดยจนถึงเย็นวันที่ 5 ม.ค.พบว่ามีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 21 รายนั้น ได้ทำให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน จ.เชียงรายช่วงเทศกาล ปีใหม่ 2552 ต่างมีความวิตกกังวลในสถิติดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการเตรียมพร้อมรับช่วงเทศกาลมาแล้วเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการตั้งจุดตรวจแอลกอฮอล์ การติดป้ายรณรงค์ การกระจายกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ไปประจำตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าสถิติยังคงพุ่งสูงกว่าทุกจังหวัด ขณะที่พบว่าผู้ที่ประสบอุบัตเหตุเกือบทุกรายเป็นคนในท้องถิ่นและมึนเมาสุราก่อนจะไปขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อค
นายสุเทพ เดชชัยศรี หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย ในฐานะเลขานุการศูนย์ฯ กล่าวว่า คงต้องมีการปรับแผนอุบัติเหตุของจังหวัดกันขนานใหญ่เนื่องจากหากปล่อยทิ้งเอาไว้และใช้มาตรการเดิมต่อไปคงจะเอาไม่อยู่อย่างแน่นอน เนื่องจากในปีนี้พบว่าอุบัติเหตุเกือบทุกรายเกิดจากคนในท้องถิ่นที่ดื่มสุราจนเมาและขับขี่จักรยานยนต์ด้วยความประมาทโดยเฉพาะไม่สวมหมวกกันน็อกจะมีเพียง 2 รายเท่านั้นที่ขับขี่รถยนต์ไปตกเหวหรือชนเสาไฟฟ้า รวมทั้งอีกรายข้ามถนนถูกรถตู้ชนที่เหลือล้วนมาจากการขับขี่จักรยานยนต์ตามลักษณะดังกล่าวทั้งหมด
ขณะเดียวกัน พบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือน จ.เชียงราย หลายหมื่นหลายแสนคนนั้นแทบจะไม่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเลย
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย กล่าวด้วยว่า หากว่าไม่มีการปรับแผนคงไม่สามารถยับยั้งสถิติอุบัติเหตุที่มากมายขนาดนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะเป็นอุบัติเหตุรายย่อยที่ไม่สามารถใช้การณรงค์ ตั้งจุดตรวจ ฯลฯ ตามธรรมดาทั่วไปได้แต่ต้องลงลึกถึงระดับหมู่บ้าน ขณะที่ในนี้มีการรณรงค์ประกวดตำบลที่ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่านั้นยังไม่ถึงระดับหมู่บ้าน ทั้งนี้หลังการสรุปผลในช่วง 7 วันอันตรายในวันนี้ (6 ม.ค.) แล้ว ทางผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ในฐานะประธานศูนย์ฯ คงจะมีการปรับแผนเพื่อจะให้บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านนำไปปฏิบัติต่อไป
“ในอนาคตคงต้องมีการปรับแผนกันใหม่ โดยการรณรงค์ให้ลงไปถึงระดับชุมชน ตำบลและหมู่บ้านให้มากขึ้น เพื่อให้บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนต่างๆ ได้ลงไปพูดคุยตกลงกับลูกบ้านทุกคนให้ลดพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 1 ปี หรือถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 เพราะต้องให้เวลากับกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน”
นายสุเทพ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงในช่วงเดือน เม.ย.นี้แผนใหม่ดังกล่าวคงจะไม่ทันการณ์เพราะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน คงไม่สามารถรณรงค์อย่างเข้มข้นให้ถึงทุกหมู่บ้านได้