ตราด-เกษตรกรตราดแจ้งนักวิชาการเกษตรตรวจสอบปุ๋ย หลังพบเป็นปุ๋ยปลอม ระบุใช้แล้วผลลีบ-น้ำหนักลด วอนผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือด่วน ด้านนักวิชาการเก็บตัวอย่างพิสูจน์
วันนี้ (23 ธ.ค.51) ที่บ้านเลขที่ 219 หมู่ 6 ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ของนายสมโภชน์ ตรีวงษ์ นายสนอง วิสัยจร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 (สารวัตรเกษตร) ศูนย์พลิ้ว อ.พลิ้ว จ.จันทบุรี เขต 6 และเจ้าหน้าที่ศูนย์ได้เดินทางมาตรวจสอบและเก็บตัวอย่างปุ๋ย หลังจากได้รับการร้องเรียนจากนาง สมโภชน์ ตรีวงษ์ เกษตรกรผู้ปลูกสละและผลไม้ว่าใช้ปุ๋ยที่ซื้อมาจากร้านฟุกเทียนตะวันออก อ.นายายอาม จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 จำนวน 30 ตัน (สูตร 20-8-20) มูลค่า 414,000 บาท แต่ใช้แล้วกลับไม่ได้ผลเหมือน ที่เคยใช้จากบริษัทอื่น
เจ้าหน้าที่เกษตรจากศูนย์พลิ้ว ได้เก็บปุ๋ยตามขั้นตอนการทางวิชาการนำไปตรวจวิเคราะห์ว่าปุ๋ยมีส่วน ผสมทางวิทยาศาสตร์อย่างไร จะเป็นปุ๋ยที่ปลอมหรือปุ๋ยไม่เต็มสูตรหรือไม่ แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
นางสมโภชน์ กล่าวว่า ได้สั่งซื้อปุ๋ยจากคนที่มาติดต่อที่คุ้นเคยกัน เพราะช่วงนั้นราคาปุ๋ยกำลังขึ้นราคาจึง ตัดสินใจสั่งซื้อจากร้านฟุกเทียนตะวันออกมา 30 ตัน และก็ใช้มาจนเหลือเพียง 25 ตันเศษ โดยใช้เพียง 1 ครั้งเท่า นั้น ซึ่งจะใช้ในสวนสละสุมาลี จำนวน 200 ไร่ ปรากฏว่า เมื่อถึงช่วงออกผลพบว่า ผลสละมีน้ำหนักน้อย ผลลีบ มีเนื้อน้อย บางผลไม่มีเนื้อเลย ขณะที่ลองกองลูกจะไม่โต เหมือนเก่า น้ำหนักก็ลดลงไป ทำให้ผลผลิตเสียหาย มาก โดยสละสุมาลีที่เคยขายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท ก็ขายได้ไม่มาก ขณะที่ผลผลิตลดลงไป 7-8,000 กิโลกรัม/ เดือน ได้รับความเสีย 3-400,000 บาท/เดือน
ขณะที่เพื่อนเกษตรกรด้วยกันที่ใช้ปุ๋ยจากบริษัทอื่น ๆ กลับได้ผลดี จึงได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่เกษตกรเพื่อให้มาตรวจสอบและวิเคราะห์ปุ๋ย ที่ผ่านการตรวจสอบมาหลายแห่งพบว่า สูตร เคมีของปุ๋ย มีเฉพาะตัวแรกและตัวสุดท้ายเท่านั้น แต่ไม่มีตัวกลาง หากพบว่า เป็นปุ๋ยปลอมก็จะแจ้งความดำเนิน คดีทางอาญาและทางแพ่งด้วย
ด้านนายสนอง กล่าวว่าได้เก็บตัวอย่างปุ๋ยไว้เพื่อวิเคราะห์สารทางเคมีว่าปุ๋ยมีสูตรทางเคมีอย่างไร แต่ต้องใช้เวลานาน 2 เดือนจึงจะรู้ผลเพราะต้องสู้ไปวิเคราะห์ที่กรุงเทพ อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามและ ประเด็นในเบื้องต้นน่า จะเป็นปุ๋ยไม่เต็มสูตรมากกว่า โดยผลวิเคราะห์ที่จะเป็นปุ๋ยปลอมผลจะออกมาจะมีตัวเลข น้อยกว่า 10 แต่ถ้าเกิน 10 ก็จะเป็นปุ๋ยไม่เต็มสูตร ที่ผ่านมาเกษตรกรมีปัญหาในเรื่องปุ๋ยไม่เต็มสูตรเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสารเคมีบางชนิดมีราคาแพงอันเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องลดต้นทุนโดยใส่สารเคมีไม่เต็ม ตามสูตรที่กำหนด ทำให้เกษตรกรเสียหายเป็นอันมาก