ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – คณะทำงานกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชน จัดเวทีเสวนาวางแนวทางให้ผู้ประกอบการทั่วภาคเหนือเพื่อเตรียมพร้อมก่อนออกใบอนุญาตชั่วคราว ซึ่งล่าสุดกำลังอยู่ระหว่างการวางหลักเกณฑ์ คาด ราว เม.ย.52 เริ่มออกใบอนญาตได้ พร้อมย้ำวิทยุชุมชนที่ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือแสวงประโยชน์ หมดสิทธิ์ได้รับการพิจารณา
วันนี้ (19 ธ.ค.) คณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จัดการเสวนาเรื่อง “แนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนในระหว่างการเตรียมออกใบอนุญาตชั่วคราว” โดยมีตัวแทนสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วมประมาณ 200 คน ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการสถานีวิทยุชุมชนและผู้สนใจ ได้มีความรู้ถึงแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนในระหว่างการเตรียมออกใบอนุญาตชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
ขณะเดียวกัน ยังเพื่อระดมความเห็นจากผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ในการหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตชั่วคราว ซึ่งเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการวางหลักเกณฑ์ คาดว่า ประมาณเดือนเมษายน 2552 น่าจะเริ่มออกใบอนุญาตชั่วคราวได้
สำหรับแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนนั้น ประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ย้ำว่า จะต้องเป็นกลางดำเนินการโดยชุมชนและยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง ไม่เกี่ยวข้องหรือได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ หากวิทยุชุมชนใดที่มีการออกอากาศในลักษณะปลุกระดม เกี่ยวข้องกับการเมือง และใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทำให้เกิดความเสียหาย จะไม่ได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตให้อย่างแน่นอน ทั้งนี้วิทยุชุมชนใดๆ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องและมีการออกอากาศทำให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเสียหายก็จะต้องถูกดำเนินการลงโทษตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีการบังคับใช้อยู่ด้วย และจะไม่ได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 3 ปี
ในระหว่างการเสวนาครั้งนี้ เครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ นำโดยนายอินทอง ไชยลังกา ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนชาวล้านนา ได้ยื่นหนังสือรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตให้กับประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยมีข้อเสนอจำนวน 11 ข้อ ได้แก่
1.การออกใบอนุญาต ต้องมจากความต้องการของชุมชน โดยชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
2.แผนคลื่นความถี่ ให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุให้ประชาชนได้ใช้ไม่น้อยกว่า 20% โดยพิจารณาจากคลื่นความถี่ 87-108 MHz
3.การหารายได้ การดำเนินการวิทยุชุมชน ผู้รับใบอนุญาตประเภทวิทยุชุมชนห้ามหารายได้จากโฆษณา เนื่องจากเป็นข้อบังคับตามมาตรา 21 ของกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
4.เนื้อหารายการ ต้องเป็นรายการที่มีสาระไม่น้อยกว่า 70% ตามกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
5.ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ สำหรับการดำเนินการของวิทยุชุมชนของภาคประชาชนควรได้รับการยกเว้น เนื่องจากเป็นการประกอบกิจการที่ไม่แสวงหารายได้ตามกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
6.พื้นที่การให้บริการ ต้องมีรัศมีการกระจายเสียงไม่ต่ำกว่า 15 กิโลเมตร หรือครอบคลุมพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการของสมาชิกในชุมชน
7.ลักษณะทางเทคนิคที่พึงประสงค์ ความสูงของเสาจากระดับพื้นดินไม่เกิน 30 เมตร และกำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ และต้องสามารถกระจายเสียงได้ครอบคลุมพื้นที่บริการ
8.กลไกการกำกับดูแลภาคประชาชน ให้คณะกรรมการตามมาตรา 78 หรือคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามมาตรา 79 สนับสนุนกลไกให้ภาคประชาชนมีการรวมตัวกันเพื่อกำกับดูแลการดำเนินกิจการวิทยุชุมชน
9.การออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิทยุชุมชน ต้องเปิดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา ข้อบังคับ ก่อนจะมีผลบังคับใช้
10.การตรวจสอบวิทยุชุมชน กทช.ควรทำหน้าที่ตรวจสอบวิทยุชุมชนผู้ขอรับใบอนุญาตว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ของวิทยุชุมชนที่กำหนดไว้ และ
11.การประกาศหลักเกณฑ์วิทยุชุมชน เมื่อกำหนดแล้วต้องมีการประกาศต่อสาธารณะเพื่อได้ทราบโดยทั่วกัน
วันนี้ (19 ธ.ค.) คณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จัดการเสวนาเรื่อง “แนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนในระหว่างการเตรียมออกใบอนุญาตชั่วคราว” โดยมีตัวแทนสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วมประมาณ 200 คน ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการสถานีวิทยุชุมชนและผู้สนใจ ได้มีความรู้ถึงแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนในระหว่างการเตรียมออกใบอนุญาตชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
ขณะเดียวกัน ยังเพื่อระดมความเห็นจากผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ในการหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตชั่วคราว ซึ่งเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการวางหลักเกณฑ์ คาดว่า ประมาณเดือนเมษายน 2552 น่าจะเริ่มออกใบอนุญาตชั่วคราวได้
สำหรับแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนนั้น ประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ย้ำว่า จะต้องเป็นกลางดำเนินการโดยชุมชนและยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง ไม่เกี่ยวข้องหรือได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ หากวิทยุชุมชนใดที่มีการออกอากาศในลักษณะปลุกระดม เกี่ยวข้องกับการเมือง และใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทำให้เกิดความเสียหาย จะไม่ได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตให้อย่างแน่นอน ทั้งนี้วิทยุชุมชนใดๆ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องและมีการออกอากาศทำให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเสียหายก็จะต้องถูกดำเนินการลงโทษตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีการบังคับใช้อยู่ด้วย และจะไม่ได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 3 ปี
ในระหว่างการเสวนาครั้งนี้ เครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ นำโดยนายอินทอง ไชยลังกา ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนชาวล้านนา ได้ยื่นหนังสือรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตให้กับประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยมีข้อเสนอจำนวน 11 ข้อ ได้แก่
1.การออกใบอนุญาต ต้องมจากความต้องการของชุมชน โดยชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
2.แผนคลื่นความถี่ ให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุให้ประชาชนได้ใช้ไม่น้อยกว่า 20% โดยพิจารณาจากคลื่นความถี่ 87-108 MHz
3.การหารายได้ การดำเนินการวิทยุชุมชน ผู้รับใบอนุญาตประเภทวิทยุชุมชนห้ามหารายได้จากโฆษณา เนื่องจากเป็นข้อบังคับตามมาตรา 21 ของกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
4.เนื้อหารายการ ต้องเป็นรายการที่มีสาระไม่น้อยกว่า 70% ตามกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
5.ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ สำหรับการดำเนินการของวิทยุชุมชนของภาคประชาชนควรได้รับการยกเว้น เนื่องจากเป็นการประกอบกิจการที่ไม่แสวงหารายได้ตามกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
6.พื้นที่การให้บริการ ต้องมีรัศมีการกระจายเสียงไม่ต่ำกว่า 15 กิโลเมตร หรือครอบคลุมพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการของสมาชิกในชุมชน
7.ลักษณะทางเทคนิคที่พึงประสงค์ ความสูงของเสาจากระดับพื้นดินไม่เกิน 30 เมตร และกำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ และต้องสามารถกระจายเสียงได้ครอบคลุมพื้นที่บริการ
8.กลไกการกำกับดูแลภาคประชาชน ให้คณะกรรมการตามมาตรา 78 หรือคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามมาตรา 79 สนับสนุนกลไกให้ภาคประชาชนมีการรวมตัวกันเพื่อกำกับดูแลการดำเนินกิจการวิทยุชุมชน
9.การออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิทยุชุมชน ต้องเปิดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา ข้อบังคับ ก่อนจะมีผลบังคับใช้
10.การตรวจสอบวิทยุชุมชน กทช.ควรทำหน้าที่ตรวจสอบวิทยุชุมชนผู้ขอรับใบอนุญาตว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ของวิทยุชุมชนที่กำหนดไว้ และ
11.การประกาศหลักเกณฑ์วิทยุชุมชน เมื่อกำหนดแล้วต้องมีการประกาศต่อสาธารณะเพื่อได้ทราบโดยทั่วกัน