ตราด - สมาชิกวุฒิสภาตราดแก้ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ, เดินทางศึกษาส่งขายต่างประเทศ EU, USA ชี้ผลไม้ภาคตะวันออกส่งขายกัมพูชาได้ ระบุ 2 ฝ่ายน่าจะสามารถเจรจายุติได้
นายสุพจน์ เลียดประถม สมาชิกวุฒิสภา จ.ตราด และประธานหอการค้า จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการที่ราคาผลไม้ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก และผลไม้ของไทยมักจะประสบปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ ทุกปี และเกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมักจะใช้เงินประกันราคา หรือให้พ่อค้าคนกลางนำผลไม้ออกจากแหล่งผลิตพร้อมช่วยเหลือค่าขนส่ง ซึ่งการแก้ไขลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาไม่ได้
รวมทั้งยังเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดอีกด้าน ซึ่งตนเองในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาและแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภาในการเดินทางไปศึกษาดูงานเรื่อง การแปรรูปผลไม้ การเก็บรักษา และการนำเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวมาใช้เพื่อแก้ปัญหาผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ จึงได้เดินทางมาศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในภาคตะวันออก เพื่อนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปดำเนินการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ
“ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ แต่จะต้องส่งภายใต้แบรนด์ของผู้ส่งออกเป็นหลัก แม้คุณภาพของ เขาจะดีมาก และทุกวันนี้ก็ส่งออกอยู่แล้ว แต่เป็นแบรนด์ที่เป็นของผู้ส่งออก เพราะฉะนั้นคุณภาพเราไม่ห่วง ตอนนี้จะทำอย่างไรที่จะเพิ่มคุณภาพให้ได้เพิ่มขึ้นอีก และเพิ่มจำนวนให้ถึง 10-20 เท่า และตลาดรวมทั้งห้องเย็น สิ่งเหล่านี้ต้องหางบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนและต้องเข้าไปจัดการบริหารด้วย สำคัญที่สุดก็คือ หลักการพิจารณาและศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการฯ จะไม่ทำแค่นี้จบ แต่จะเข้าไปดำเนินการด้วย นี่คือความตั้งใจในการทำงาน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมแน่นอน”
นายสุพจน์ กล่าวต่อว่า ผลไม้ของภาคตะวันออกที่จะส่งไปขายในกัมพูชา ในปี 2552 กว่า 1,000 ตันจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องพรมแดนและความขัดแย้งได้เร็วๆ นี้ รวมทั้งจะไม่ลากยาวไปถึงช่วงกลางเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ที่เป็นช่วงผลไม้ออกสู่ตลาด ในขณะเดียวกัน ผลไม้ของไทยมีจุดแข็งก็คือ ไม่มีที่ใดในโลก ทำให้ผลไม้ของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลกและประเทศอื่นๆ
นายสุพจน์ เลียดประถม สมาชิกวุฒิสภา จ.ตราด และประธานหอการค้า จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการที่ราคาผลไม้ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก และผลไม้ของไทยมักจะประสบปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ ทุกปี และเกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมักจะใช้เงินประกันราคา หรือให้พ่อค้าคนกลางนำผลไม้ออกจากแหล่งผลิตพร้อมช่วยเหลือค่าขนส่ง ซึ่งการแก้ไขลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาไม่ได้
รวมทั้งยังเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดอีกด้าน ซึ่งตนเองในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาและแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภาในการเดินทางไปศึกษาดูงานเรื่อง การแปรรูปผลไม้ การเก็บรักษา และการนำเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวมาใช้เพื่อแก้ปัญหาผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ จึงได้เดินทางมาศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในภาคตะวันออก เพื่อนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปดำเนินการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ
“ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ แต่จะต้องส่งภายใต้แบรนด์ของผู้ส่งออกเป็นหลัก แม้คุณภาพของ เขาจะดีมาก และทุกวันนี้ก็ส่งออกอยู่แล้ว แต่เป็นแบรนด์ที่เป็นของผู้ส่งออก เพราะฉะนั้นคุณภาพเราไม่ห่วง ตอนนี้จะทำอย่างไรที่จะเพิ่มคุณภาพให้ได้เพิ่มขึ้นอีก และเพิ่มจำนวนให้ถึง 10-20 เท่า และตลาดรวมทั้งห้องเย็น สิ่งเหล่านี้ต้องหางบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนและต้องเข้าไปจัดการบริหารด้วย สำคัญที่สุดก็คือ หลักการพิจารณาและศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการฯ จะไม่ทำแค่นี้จบ แต่จะเข้าไปดำเนินการด้วย นี่คือความตั้งใจในการทำงาน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมแน่นอน”
นายสุพจน์ กล่าวต่อว่า ผลไม้ของภาคตะวันออกที่จะส่งไปขายในกัมพูชา ในปี 2552 กว่า 1,000 ตันจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องพรมแดนและความขัดแย้งได้เร็วๆ นี้ รวมทั้งจะไม่ลากยาวไปถึงช่วงกลางเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ที่เป็นช่วงผลไม้ออกสู่ตลาด ในขณะเดียวกัน ผลไม้ของไทยมีจุดแข็งก็คือ ไม่มีที่ใดในโลก ทำให้ผลไม้ของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลกและประเทศอื่นๆ