มหาสารคาม - สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนูในเมืองมหาสารคามน่าห่วง โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพภาคการเกษตร ล่าสุดพบผู้ป่วยแล้วจำนวน 44 ราย เสียชีวิต 1 ราย
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชากรหนูอพยพไปยังแหล่งอาหารที่ไม่ถูกน้ำท่วมโดยเฉพาะนาข้าวที่พบการระบาดสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมากว่าเท่าตัว ส่งผลให้เกษตรกรที่จำเป็นต้องเหยียบย่ำไปตามที่ชื้นแฉะจากการตักน้ำรดผัก เกี่ยวหญ้าตามคันนา รวมถึงลงไปสำรวจแปลงข้าว เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสในระดับที่สูง
ล่าสุด พบผู้ป่วยเฉพาะที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม แล้ว 44 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.59 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย 3 อำเภอแรกมากที่สุดคืออำเภอเมือง จำนวน 18 คน เสียชีวิต 1 ราย อำเภอกันทรวิชัย จำนวน 6 ราย และ อำเภอนาดูน จำนวน 4 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน
โรงพยาบาลมหาสารคามจึงฝากเตือนวิธีป้องกันตนเองด้วยการสวมรองเท้าบูต สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม เมื่อขึ้นจากน้ำจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำทันที มีภูมิปัญญาชาวบ้านแนะนำให้นำผลไม้รสเปรี้ยวเช่นมะนาว มะกรูด มะขามเปียก ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสกับน้ำ โดยเฉพาะง่ามมือ ง่ามเท้า จะเป็นการลดความรุนแรงของเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีล เพราะเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีลจะอยู่ในภาวะเป็นด่าง เมื่อถูกกรดจะทำให้เชื้ออ่อนตัวลงได้
อาการเริ่มแรกเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผู้ป่วยครั่นเนื้อ ครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อบริเวณขา บริเวณน่อง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีไข้สูง หนาวสั่น หากมีอาการดังกล่าวประชาชนไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะได้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าวได้
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชากรหนูอพยพไปยังแหล่งอาหารที่ไม่ถูกน้ำท่วมโดยเฉพาะนาข้าวที่พบการระบาดสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมากว่าเท่าตัว ส่งผลให้เกษตรกรที่จำเป็นต้องเหยียบย่ำไปตามที่ชื้นแฉะจากการตักน้ำรดผัก เกี่ยวหญ้าตามคันนา รวมถึงลงไปสำรวจแปลงข้าว เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสในระดับที่สูง
ล่าสุด พบผู้ป่วยเฉพาะที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม แล้ว 44 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.59 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย 3 อำเภอแรกมากที่สุดคืออำเภอเมือง จำนวน 18 คน เสียชีวิต 1 ราย อำเภอกันทรวิชัย จำนวน 6 ราย และ อำเภอนาดูน จำนวน 4 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน
โรงพยาบาลมหาสารคามจึงฝากเตือนวิธีป้องกันตนเองด้วยการสวมรองเท้าบูต สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม เมื่อขึ้นจากน้ำจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำทันที มีภูมิปัญญาชาวบ้านแนะนำให้นำผลไม้รสเปรี้ยวเช่นมะนาว มะกรูด มะขามเปียก ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสกับน้ำ โดยเฉพาะง่ามมือ ง่ามเท้า จะเป็นการลดความรุนแรงของเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีล เพราะเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีลจะอยู่ในภาวะเป็นด่าง เมื่อถูกกรดจะทำให้เชื้ออ่อนตัวลงได้
อาการเริ่มแรกเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผู้ป่วยครั่นเนื้อ ครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อบริเวณขา บริเวณน่อง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีไข้สูง หนาวสั่น หากมีอาการดังกล่าวประชาชนไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะได้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าวได้