สุราษฎร์ธานี - แจงผลสำรวจโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบริเวณทะเลฝั่งอ่าวไทย เริ่มปลายปีนี้”51มีบริษัท เพิร์ล ออย บางกอก จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานสำรวจขุดเจาะ เป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานภายในประเทศในอนาคต
นายดำริ บุญจริง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสำรวจปิโตรเลียมหมายเลข G 10/48 และ G 11/48 บริเวณทะเลฝั่งอ่าวไทย ว่ามีบริษัท เพิร์ล ออย บางกอก จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานสำรวจขุดเจาะเพื่อประเมินปริมาณปิโตรเลียม ในแปลงสำรวจที่ G10/48 บริเวณ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส โดยมีการสำรวจขุดเจาะ 3 หลุมแรก คือหลุมเจาะ นิรมัย 1,หลุมเจาะกระดังงา 1 ,และหลุมเจาะจันทนา 1 มีระยะห่างจากชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 190 ถึง 215 กิโลเมตร ขณะที่แปลงสำรวจหมายเลข G11/48 มีระยะห่าง จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 300 กิโลเมตร
สำหรับการดำเนินงานโครงการ ได้ถูกกำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานจำนวน 2 ช่วงคือช่วงแรกปี 2551 - 2552 จะทำการขุดเจาะหลุมสำรวจในแปลงสำรวจ G 10/48 จำนวน 3 หลุม ในช่วงปลายปี 2551 และในช่วงที่ 2 ตั้งแต่ปี 2552 โดยคัดเลือกเจาะหลุมที่เหลือตามลำดับ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ก็เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมที่สำรวจ เป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานภายในประเทศ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย
นายดำริ บุญจริง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสำรวจปิโตรเลียมหมายเลข G 10/48 และ G 11/48 บริเวณทะเลฝั่งอ่าวไทย ว่ามีบริษัท เพิร์ล ออย บางกอก จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานสำรวจขุดเจาะเพื่อประเมินปริมาณปิโตรเลียม ในแปลงสำรวจที่ G10/48 บริเวณ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส โดยมีการสำรวจขุดเจาะ 3 หลุมแรก คือหลุมเจาะ นิรมัย 1,หลุมเจาะกระดังงา 1 ,และหลุมเจาะจันทนา 1 มีระยะห่างจากชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 190 ถึง 215 กิโลเมตร ขณะที่แปลงสำรวจหมายเลข G11/48 มีระยะห่าง จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 300 กิโลเมตร
สำหรับการดำเนินงานโครงการ ได้ถูกกำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานจำนวน 2 ช่วงคือช่วงแรกปี 2551 - 2552 จะทำการขุดเจาะหลุมสำรวจในแปลงสำรวจ G 10/48 จำนวน 3 หลุม ในช่วงปลายปี 2551 และในช่วงที่ 2 ตั้งแต่ปี 2552 โดยคัดเลือกเจาะหลุมที่เหลือตามลำดับ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ก็เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมที่สำรวจ เป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานภายในประเทศ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย