กาฬสินธุ์- จังหวัดกาฬสินธุ์ประกาศให้พื้นที่ทั้ง 18 อำเภอ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ขณะที่ระดับน้ำชียังอยู่ที่จุดวิกฤตและขยายวงกว้างเพิ่มอีก 1 อำเภอ
รายงานแจ้งว่า ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีฝนตกชุกทั่วบริเวณทำให้ระดับน้ำในลำน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำชี มีระดับสูงขึ้น และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นตามไปด้วยโดยล่าสุดน้ำชีได้ล้นตะลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร-พื้นที่การเกษตร อำเภอร่องคำอีก ทำให้ในตอนนี้จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 3 อำเภอ และพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมแล้วตอนนี้จำนวน 68,000 ไร่
โดยอำเภอกมลาไสยได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมากที่สุด โดยมี 6 ตำบลพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประชาชนเดือดร้อนแล้วกว่า 4,600 ครัวเรือน
นายวิทยา มากปาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เร่งทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่ลงลำน้ำธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการจัดเวรยามเฝ้าระวังพนังลำน้ำชี และบริเวณริมตะลิ่งตลอด 24 ชั่วโมง เพราะถึงแม้ว่าระดับน้ำชีที่อยู่ที่จุดวิกฤต 14.2 เมตร จะยังทรงตัวอยู่แต่น้ำเหนือที่ยังไหลเข้ามาพื้นที่จะทะลักเข้ามาในช่วงบ่าย ที่ในวันนี้จะมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่อีก 2 เท่าตัวเฝ้าระวังเตรียมการณ์รับมือน้ำท่วมน้ำล้นตะลิ่ง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนความเสียหายขณะนี้หลังจากที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ให้ประกาศทั้ง 18 อำเภอเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว ใน 3 อำเภอที่อยู่ติดกับลำน้ำชียังเป็นพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ
โดยมีอำเภอกมลาไสย อำเภอฆ้องชัย และ อำเภอร่องคำ ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่การเกษตรเสียหายจากน้ำท่วมแล้ว 68,000 ไร่ มีบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอฆ้องชัยถูกน้ำท่วมแล้ว 10 หลังคาเรือน และอำเภอกมลาไสยมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมครั้งนี้มากที่สุดถึง 4,600 ครัวเรือน
รายงานแจ้งว่า ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีฝนตกชุกทั่วบริเวณทำให้ระดับน้ำในลำน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำชี มีระดับสูงขึ้น และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นตามไปด้วยโดยล่าสุดน้ำชีได้ล้นตะลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร-พื้นที่การเกษตร อำเภอร่องคำอีก ทำให้ในตอนนี้จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 3 อำเภอ และพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมแล้วตอนนี้จำนวน 68,000 ไร่
โดยอำเภอกมลาไสยได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมากที่สุด โดยมี 6 ตำบลพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประชาชนเดือดร้อนแล้วกว่า 4,600 ครัวเรือน
นายวิทยา มากปาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เร่งทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่ลงลำน้ำธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการจัดเวรยามเฝ้าระวังพนังลำน้ำชี และบริเวณริมตะลิ่งตลอด 24 ชั่วโมง เพราะถึงแม้ว่าระดับน้ำชีที่อยู่ที่จุดวิกฤต 14.2 เมตร จะยังทรงตัวอยู่แต่น้ำเหนือที่ยังไหลเข้ามาพื้นที่จะทะลักเข้ามาในช่วงบ่าย ที่ในวันนี้จะมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่อีก 2 เท่าตัวเฝ้าระวังเตรียมการณ์รับมือน้ำท่วมน้ำล้นตะลิ่ง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนความเสียหายขณะนี้หลังจากที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ให้ประกาศทั้ง 18 อำเภอเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว ใน 3 อำเภอที่อยู่ติดกับลำน้ำชียังเป็นพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ
โดยมีอำเภอกมลาไสย อำเภอฆ้องชัย และ อำเภอร่องคำ ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่การเกษตรเสียหายจากน้ำท่วมแล้ว 68,000 ไร่ มีบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอฆ้องชัยถูกน้ำท่วมแล้ว 10 หลังคาเรือน และอำเภอกมลาไสยมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมครั้งนี้มากที่สุดถึง 4,600 ครัวเรือน