xs
xsm
sm
md
lg

สกย.มุ่งปั้น “สองแคว” ขึ้นชั้น “ฮับ” ยางพาราเหนือ-เตรียมเปิดตลาดกลางเดือนหน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายพิริยะ เอกวานิช รองผอ.สกย. ใส่เสื้อดำ(ไม่ได้ใส่หมวก) โชว์การกรีดยาง
พิษณุโลก - เริ่มแล้วงานเกษตรแห่งชาติปี 51 รอง ผอ.สกย.โชว์กรีดยางพารา กลางสวนยางสาธิต ม.นเรศวร หนุนปลูกยางพาราลดภาวะโลกร้อน ฟังธงเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศอันดับ 4 ผอ.สกย.สองแควเตรียมเปิดตลาดกลางยางพารา ภาคเหนือล่างตุลาคมนี้

นายพิริยะ เอกวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.), นายชัยโรจน์ ธรรมรัตน์ รองผู้อำนวยการ องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และนายพงศ์ศักดิ์ พรหมโชติชัย ผอ.สกย.พิษณุโลก ได้แถลงข่าวการจัดงาน นิทรรศการยาพาราที่จัดขึ้นใน “วันเกษตรแห่งชาติปี 2551” ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก จัดขึ้น 5-14 กันยายน 2551 เพื่อทำแปลงสาธิต แสดงผลงานในการผลิต แปรรูปยางพารา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้แก่เกษตรกรผู้สนใจและผู้ปลูกยางพาราในภาคเหนือ

นายพิริยะ เอกวานิช รอง ผอ.สกย.กล่าวว่า การจัดงานแปลงสาธิตปลูกยางพาราแก้ปัญหาโลกร้อน ในงานเกษตรแห่งชาติ ม.นเรศวร มีเป้าหมายให้ความรู้แก่ผู้สนใจปลูกยางพาราในภาคเหนือ เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศอันดับ 4 ที่รองมาจากข้าว ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิปต่างๆ

ดังนั้น ถือว่าอุสาหกรรมแปรรูปยางพาราเป็นสินค้าที่สำคัญ สร้างรายให้กับผืนแผ่นดินไทยเอง สร้างรายได้แก่คนในประเทศอย่างยั่งยืน ถือได้ว่าความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวสวนยางยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความยั่งยืนในสังคมไทย และยังช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ผืนป่าสำหรับประเทศไทย

ผลผลิตยางพาราในภาพรวมปีที่ผ่านมา 3.05 ล้านตัด เฉลี่ย 2.73 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2 แสนล้านบาท ผลผลิตจำนวน 12 % ใช้ในประเทศ 88% ส่งออกยังต่างประเทศ ถ้าหากคิดมูลค่าเกี่ยวเนื่องกับยางพารา เช่น ไม้เฟอร์นิเจอร์และอื่นๆ ก็สร้างมูลค่าถึง 3.5 แสนล้านบาท ถือว่า เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 ของประเทศไทย ที่รองจากผลผลิตข้าว ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และชิป-แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ในปี 52 ตั้งงบไว้ 60 ล้านบาทในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยี การกรีด การตลาดและสร้างกลุ่มเกษตรกร หลังจากปีที่ผ่านมาได้ส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ไปแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แสนไร่ และ 3 แสนไร่ในภาคเหนือ

ขณะที่ภาพรวมทั้งปี มีสวนยางจำนวน 65.3 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคใต้ 11.1 ล้านไร่ ภาคกลางและตะวันออก 1.7 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แปลงใหม่) 2.1 ล้านไร่ และภาคเหนือ 4 แสนไร่

ด้าน นายพงศ์ศักดิ์ พรหมโชติชัย ผอ.สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า พื้นที่ปลูกยางพาราที่พิษณุโลกเรียกได้ว่า มากที่สุดในภาคเหนือ คือ ตัวเลขที่ สกย.สำรวจพบ 130,000 ไร่ รองลงมาคือ จังหวัดเชียงรายจำนวน 90,000 ไร่ ซึ่งยอดพื้นที่ปลูกยางพาราอาจมากว่านี้เพราะเกษตรกรมักไม่ค่อยแจ้งพื้นที่ปลูกยางพารา

อย่างไรก็ตาม พิษณุโลกถือว่าเป็นฮับยางพาราก็ว่าได้ อีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้เข้าจังหวัดพิษณุโลกมากเป็นอันดับ 2 รองจากข้าวเปลือก และเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ สกย.พิษณุโลก จะเปิดตลาดกลางบริเวณ ต.ทรัพย์ไพวัลย์ อ.วังทอง เพื่อเป็นตลาดกลางแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้ายางพาราโดยเฉพาะยางแผ่น เนื่องจากอำเภอวังทองมีพื้นที่ปลูกยางพาราจำนวน 4 หมื่นไร่ อำเภอนครไทย 3.8 หมื่นไร่ และอำเภอชาติตะการ 3.5 หมื่นไร่


กำลังโหลดความคิดเห็น