ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – คปท.ยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ถึงนายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้ทบทวนยกเลิกมติ ครม.10 มิ.ย.51 ที่ให้เรียกคืนที่ดินราชพัสดุ 1 ล้านไร่ ให้เกษตรกรเช่าปลูกพืชอาหารและพลังงาน หวั่นการดำเนินการล้มเหลว ที่ดินตกไปอยู่ในมือนายทุนแทน ที่จะเป็นเกษตรกรผู้ยากจนอย่างแท้จริง พร้อมจี้ให้เร่งแก้ไขปัญหากรณีพิพาทเรื่องที่ดินของ คปท.ด้วยการกำหนดมาตรการที่ชัดเจน
วันนี้ (28 ก.ค.) สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ประมาณ 100 คน นำโดย นายดิเรก กองเงิน ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ ได้รวมตัวชุมนุมที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมแถลงการณ์ และยื่นหนังสือถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผ่านทางจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้ทบทวนนโยบายการให้เช่าที่ราชพัสดุและดำเนินการแก้ไขปัญหา ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
ในแถลงการณ์ดังกล่าวได้แสดงท่าทีและจุดยืนต่อมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2551 ที่ให้ขอคืนที่ราชพัสดุจากหน่วยงานราชการเพื่อให้เกษตรกรเช่าจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อปลูกพืชอาหารและพลังงาน โดยระบุว่าจากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง การจัดสรรที่ดินราชพัสดุในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แปลงที่ ชม.1664 อำเภอดอยหล่อ ภายใต้โครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ที่ดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาลทักษิณในปี 2548 ปรากฏว่า มีผลล้มเหลว เพราะพบว่าการจัดสรรที่ดิน ขาดการมีส่วนร่วมของเกษตรกรที่ยกจน ทำให้ไม่ได้รับการจัดสรร และปัจจุบันพื้นที่มากกว่า 65% ตกไปอยู่ในมือนายทุน
ดังนั้น จึงเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกรรมการร่วม ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน และประชาชน เพื่อเป็นกลไกในการอำนวยการติดตามการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่คนจน และกลุ่มเป้าหมายในการรับสิทธิเช่าตามนโยบายข้างต้น ต้องเป็นเกษตรกรยากจนที่มีความประสงค์จะทำการผลิตในที่ดินอย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน เรียกร้องให้รัฐบาลควรมีนโยบายนำที่ดินเอกชนรายใหญ่ ที่ถือครองจำนวนมากและที่ดิน NPL ที่ถูกทิ้งร้าง มาจัดสรรแทนที่จะนำที่ดินของรัฐมาจัดสรร และจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ หากพบมีการเปลี่ยนสิทธิ์และตกอยู่ในมือนายทุน จะต้องยกเลิกสัญญาเช่าและนำที่ดินกลับมาให้เกษตรกร
นอกจากนี้ เรียกร้องให้รัฐบาล กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินของ คปท.อย่างเร่งด่วนและเป็นธรรม โดยเสนอให้ยกเลิกมติ ครม.30 มิ.ย.41 เรื่องการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐ ละเมิดสิทธิ์ของชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าอย่างรุนแรง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทบทวนคำสั่งเรื่องการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า เพราะมีผลกระทบต่อเกษตรกร ที่ถือครองทำประโยชน์ที่ดินทับซ้อนกับป่าและกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาร่วมระหว่างรัฐกับประชาชน
ขณะเดียวกัน ให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พัทลุง กระบี่ สตูล นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น เลย เชียงใหม่ และลำพูน ให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาของ คปท.โดยให้ยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม และดำเนินคดีกับชาวบ้านผู้เดือดร้อน
รวมทั้งผ่อนผันให้สามารถทำประโยชน์ที่ดินเดิมได้ จนกว่าการแก้ไขปัญหาจะยุติ และให้นายกรัฐมนตรีสั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อให้ยุติคำสั่งทางปกครองเรื่องการทำลายทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ที่ทำประโยชน์ในพื้นที่ทำกินเดิมโดยเร่งด่วน รวมทั้งให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกการต่ออายุสัญญาเช่ากับเอกชนรายใหญ่ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม แล้วนำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินแก่เกษตรกรต่อไป
สำหรับแถลงการณ์และหนังสือเรียกร้องดังกล่าวของ คปท.ว่าที่ร้อยตรียงยุทธ เรืองภัทรกุล ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รับจากตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน เครือข่ายสลัม 4 ภาค และเครือข่ายองค์กรชุมชนรักษ์เทือกเขาบรรทัด
วันนี้ (28 ก.ค.) สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ประมาณ 100 คน นำโดย นายดิเรก กองเงิน ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ ได้รวมตัวชุมนุมที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมแถลงการณ์ และยื่นหนังสือถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผ่านทางจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้ทบทวนนโยบายการให้เช่าที่ราชพัสดุและดำเนินการแก้ไขปัญหา ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
ในแถลงการณ์ดังกล่าวได้แสดงท่าทีและจุดยืนต่อมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2551 ที่ให้ขอคืนที่ราชพัสดุจากหน่วยงานราชการเพื่อให้เกษตรกรเช่าจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อปลูกพืชอาหารและพลังงาน โดยระบุว่าจากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง การจัดสรรที่ดินราชพัสดุในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แปลงที่ ชม.1664 อำเภอดอยหล่อ ภายใต้โครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ที่ดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาลทักษิณในปี 2548 ปรากฏว่า มีผลล้มเหลว เพราะพบว่าการจัดสรรที่ดิน ขาดการมีส่วนร่วมของเกษตรกรที่ยกจน ทำให้ไม่ได้รับการจัดสรร และปัจจุบันพื้นที่มากกว่า 65% ตกไปอยู่ในมือนายทุน
ดังนั้น จึงเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกรรมการร่วม ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน และประชาชน เพื่อเป็นกลไกในการอำนวยการติดตามการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่คนจน และกลุ่มเป้าหมายในการรับสิทธิเช่าตามนโยบายข้างต้น ต้องเป็นเกษตรกรยากจนที่มีความประสงค์จะทำการผลิตในที่ดินอย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน เรียกร้องให้รัฐบาลควรมีนโยบายนำที่ดินเอกชนรายใหญ่ ที่ถือครองจำนวนมากและที่ดิน NPL ที่ถูกทิ้งร้าง มาจัดสรรแทนที่จะนำที่ดินของรัฐมาจัดสรร และจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ หากพบมีการเปลี่ยนสิทธิ์และตกอยู่ในมือนายทุน จะต้องยกเลิกสัญญาเช่าและนำที่ดินกลับมาให้เกษตรกร
นอกจากนี้ เรียกร้องให้รัฐบาล กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินของ คปท.อย่างเร่งด่วนและเป็นธรรม โดยเสนอให้ยกเลิกมติ ครม.30 มิ.ย.41 เรื่องการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐ ละเมิดสิทธิ์ของชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าอย่างรุนแรง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทบทวนคำสั่งเรื่องการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า เพราะมีผลกระทบต่อเกษตรกร ที่ถือครองทำประโยชน์ที่ดินทับซ้อนกับป่าและกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาร่วมระหว่างรัฐกับประชาชน
ขณะเดียวกัน ให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พัทลุง กระบี่ สตูล นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น เลย เชียงใหม่ และลำพูน ให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาของ คปท.โดยให้ยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม และดำเนินคดีกับชาวบ้านผู้เดือดร้อน
รวมทั้งผ่อนผันให้สามารถทำประโยชน์ที่ดินเดิมได้ จนกว่าการแก้ไขปัญหาจะยุติ และให้นายกรัฐมนตรีสั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อให้ยุติคำสั่งทางปกครองเรื่องการทำลายทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ที่ทำประโยชน์ในพื้นที่ทำกินเดิมโดยเร่งด่วน รวมทั้งให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกการต่ออายุสัญญาเช่ากับเอกชนรายใหญ่ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม แล้วนำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินแก่เกษตรกรต่อไป
สำหรับแถลงการณ์และหนังสือเรียกร้องดังกล่าวของ คปท.ว่าที่ร้อยตรียงยุทธ เรืองภัทรกุล ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รับจากตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน เครือข่ายสลัม 4 ภาค และเครือข่ายองค์กรชุมชนรักษ์เทือกเขาบรรทัด