เชียงราย - การเมืองเชียงรายไม่ต่างกับการเมืองระดับชาติ กลุ่ม ส.อบจ.เชียงรายเครือข่าย “ยุทธ ตู้เย็น” โดดหนีซบขั้ว “จงสุทธนามณี” ทันที หลัง “ยุทธ” ถูกศาลตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ศาลฏีกามีคำพิพากษาตัดสินให้ใบแดง นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.ระบบสัดส่วนพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีนั้น ได้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย อีกครั้ง
โดยกลุ่มสมาชิก อบจ.ในขั้วนายยงยุทธได้มีการหารือนอกรอบเจรจาหาจุดยืนทางการเมืองท้องถิ่น โดยหารือนอกรอบกับนายสุวัฒน์ ตระกูลโรจน์ หรือ สจ.ป้อม ประธานสภา อบจ.เชียงราย หลานชายนายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย ที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน อ.เมืองเชียงราย
โดย ส.อบจ.กลุ่มดังกล่าว เคยเป็นแกนนำฝ่ายค้านในสมัยบริหารที่แล้ว และมีแกนนำของกลุ่มขั้วการเมืองดังใน อ.พาน ซึ่งย้ายขั้วจากนางรัตนา จงสุทธนามณี นายก อบจ.เชียงราย มาซบกลุ่ม นายยงยุทธ เมื่อก่อนการเลือกตั้ง อบจ.ปี 51 นี้ ได้เข้าหารือถึงทิศทางการดำรงหลังจากนี้ โดยพยายามชูให้ นายสุวัฒน์ คือ เสาหลัก เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความไว้วางใจจากนางรัตนา สูงคนหนึ่งในสภา อบจ.เชียงราย เสมือนหาเสาหลักใหม่แทนที่นายยงยุทธที่โดนใบแดง
ขณะที่มีรายงานว่า นางรัตนา จงสุทธนามณี นายก อบจ.เชียงราย 2 สมัย ซึ่งเป็นแคนดิเดทชิงฐานการเมืองท้องถิ่นกับฝ่ายนายงยุทธมาโดยตลอดนั้น หลังทราบข่าวนายยงยุทธ โดนใบแดง ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ รวมทั้งไม่ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีดังกล่าวทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เดิมทีเสียงสมาชิก อบจ.ในขั้วนางรัตนาที่ชนะการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีทั้งหมด 21 เสียง ส่วน ส.อบจ.ในขั้วนายยงยุทธ มี 15 เสียง หลังหัวเรือใหญ่ของกลุ่มถูกใบแดง ทำให้เกิดกระแสเปลี่ยนขั้วการเมือง ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เสียงสมาชิก อบจ.ทั้งหมดของนายยงยุทธจะย้ายมาซบกับนางรัตนา โดยมีคนกลางเป็นตัวประสานอย่างแน่นอน ซึ่งทั้งนี้นางรัตนาก็พร้อมเปิดรับทุกคนอย่างเสมอภาค เนื่องจากไม่ได้มีนโยบายแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในระยะหลังพบว่า ส.อบจ.เชียงราย ขั้วนายยงยุทธ มักมีการนัดหารือนอกรอบกับ แกนนำฝั่ง นางรัตนาบ่อยครั้ง ซึ่งภาพการเมืองระดับท้องถิ่นเชียงราย มักไม่ต่างกับการเมืองระดับชาติมากนัก เพราะมีตัวแทนญาตินักการเมืองระดับชาติหนุนหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ศาลฏีกามีคำพิพากษาตัดสินให้ใบแดง นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.ระบบสัดส่วนพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีนั้น ได้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย อีกครั้ง
โดยกลุ่มสมาชิก อบจ.ในขั้วนายยงยุทธได้มีการหารือนอกรอบเจรจาหาจุดยืนทางการเมืองท้องถิ่น โดยหารือนอกรอบกับนายสุวัฒน์ ตระกูลโรจน์ หรือ สจ.ป้อม ประธานสภา อบจ.เชียงราย หลานชายนายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย ที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน อ.เมืองเชียงราย
โดย ส.อบจ.กลุ่มดังกล่าว เคยเป็นแกนนำฝ่ายค้านในสมัยบริหารที่แล้ว และมีแกนนำของกลุ่มขั้วการเมืองดังใน อ.พาน ซึ่งย้ายขั้วจากนางรัตนา จงสุทธนามณี นายก อบจ.เชียงราย มาซบกลุ่ม นายยงยุทธ เมื่อก่อนการเลือกตั้ง อบจ.ปี 51 นี้ ได้เข้าหารือถึงทิศทางการดำรงหลังจากนี้ โดยพยายามชูให้ นายสุวัฒน์ คือ เสาหลัก เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความไว้วางใจจากนางรัตนา สูงคนหนึ่งในสภา อบจ.เชียงราย เสมือนหาเสาหลักใหม่แทนที่นายยงยุทธที่โดนใบแดง
ขณะที่มีรายงานว่า นางรัตนา จงสุทธนามณี นายก อบจ.เชียงราย 2 สมัย ซึ่งเป็นแคนดิเดทชิงฐานการเมืองท้องถิ่นกับฝ่ายนายงยุทธมาโดยตลอดนั้น หลังทราบข่าวนายยงยุทธ โดนใบแดง ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ รวมทั้งไม่ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีดังกล่าวทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เดิมทีเสียงสมาชิก อบจ.ในขั้วนางรัตนาที่ชนะการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีทั้งหมด 21 เสียง ส่วน ส.อบจ.ในขั้วนายยงยุทธ มี 15 เสียง หลังหัวเรือใหญ่ของกลุ่มถูกใบแดง ทำให้เกิดกระแสเปลี่ยนขั้วการเมือง ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เสียงสมาชิก อบจ.ทั้งหมดของนายยงยุทธจะย้ายมาซบกับนางรัตนา โดยมีคนกลางเป็นตัวประสานอย่างแน่นอน ซึ่งทั้งนี้นางรัตนาก็พร้อมเปิดรับทุกคนอย่างเสมอภาค เนื่องจากไม่ได้มีนโยบายแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในระยะหลังพบว่า ส.อบจ.เชียงราย ขั้วนายยงยุทธ มักมีการนัดหารือนอกรอบกับ แกนนำฝั่ง นางรัตนาบ่อยครั้ง ซึ่งภาพการเมืองระดับท้องถิ่นเชียงราย มักไม่ต่างกับการเมืองระดับชาติมากนัก เพราะมีตัวแทนญาตินักการเมืองระดับชาติหนุนหลัง