ผู้จัดการออนไลน์ -ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เปิด “โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มุ่งเน้นการกระจายความรู้ด้านการออกแบบสู่สังคมไทยในภูมิภาคต่างๆ และเป็นความร่วมมือในการขยายบริการ TCDC ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและผู้ประกอบการด้านการออกแบบ เพื่อเป็นการสร้างเสริมศักยภาพของงานออกแบบท้องถิ่นให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า “โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง TCDC กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบ และเปิดโอกาสให้นักเรียน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักออกแบบ และผู้ประกอบการได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านการออกแบบและการใช้ความคิดสร้างสรรค์
ทั้งยัง เป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดในวงการการศึกษาและวิชาชีพด้านงานออกแบบ รวมถึงการสืบค้นข้อมูลวัสดุเพื่อการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านวิชาการกับ TCDC ได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ระยะทางไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
นอกจากนี้ โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ยังเป็นการสร้างเครือข่ายด้านการออกแบบเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบ ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูล สื่อมัลติมีเดีย วัสดุเพื่อการออกแบบ รวมถึงกิจกรรมกระตุ้นความคิดระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กับสถาบันการศึกษา สถาบันวิชาชีพ และผู้ประกอบการในท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี ในการจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพงานด้านออกแบบในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประกอบด้วยรูปแบบการให้บริการของ TCDC ดังนี้ 1) บริการชุดหนังสือและตัวอย่างวัสดุไทยที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและสถาบันการศึกษานั้นๆ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนและปรับปรุงทุกไตรมาส 2) บริการฐานข้อมูลวัสดุเพื่อการออกแบบ (Material ConneXion®) เพื่อให้ผู้สนใจเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมแก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน ตลอดจนความช่วยเหลือในการจัดหาบริษัทผู้ผลิตและแหล่งจำหน่ายวัสดุที่มีคุณภาพ
และน่าเชื่อถือ
รวมทั้งเป็นช่องทางในการนำวัสดุไทยเข้าสู่ฐานข้อมูลวัสดุระดับโลก 3) บริการข้อมูลบันทึกกิจกรรม อาทิ การอบรม การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และชุดจำลองนิทรรศการต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้สถาบันเครือข่ายนำไปใช้อ้างอิงให้ตรงกับกิจกรรมที่อาจจัดขึ้น และ 4) บริการถ่ายทอดสดกิจกรรมหรือการสัมมนาของ TCDC ไปยังสถาบันเครือข่ายที่สนใจและมีความสอดคล้องเหมาะกับกลุ่มผู้ฟังในแต่ละพื้นที่ พร้อมมีการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับกิจกรรม ซึ่งทาง TCDC จะบันทึกเทปกิจกรรมดังกล่าวและส่งไปให้สถาบันเครือข่ายทุกแห่งเพื่อเผยแพร่ต่อไป
ห้องสมุดวัสดุเพื่อการศึกษาแบบออนไลน์ Material ConneXion® ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ mini TCDC เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวัสดุที่มีความน่าสนใจจากทั่วโลก ประกอบด้วย ข้อมูลของวัสดุมากกว่า 4,000 ชนิด และข้อมูลของวัสดุใหม่เดือนละ 30-40 ชนิด โดยวัสดุเหล่านี้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาอาชีพ และปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก ใช้ประโยชน์จากห้องสมุดวัสดุเพื่อการศึกษาแบบออนไลน์ เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทันต่อนวัตกรรม และนักศึกษาสามารถก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้
“จุดเด่นของ โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC คือการให้โอกาสเข้าถึงความรู้ด้านการออกแบบ โดยเฉพาะหนังสือและสื่อการเรียนรู้หลายรายการที่หาซื้อได้ยากและไม่มีในห้องสมุดทั่วไปในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นโครงการที่คำนึงถึงความต้องการและพื้นฐานทางวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความคิดสร้างสรรค์ และนำไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตนได้ ทั้งนี้ TCDC จะประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ ก่อนจะมีการปรับรูปแบบบริการให้สมบูรณ์มากขึ้นและขยายไปยังสถาบันการศึกษาอื่นต่อไป” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ “โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ยังมีการจัดแสดง ”นิทรรศการ นุ่ง จับ พับ จีบ” เป็นนิทรรศการที่แสดงถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมการนุ่งห่มของไทยโบราณที่ไม่มีการตัดเย็บ ตลอดจนการเลือกใช้วัตถุดิบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาแห่งการออกแบบเครื่องแต่งกายอันแยบยลของคนไทยสมัยก่อน โดยการใช้ผ้าเพียงผืนเดียวสามารถนำมานุ่งห่ม จับ พับ จีบ ให้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณี
ตลอดจนบอกให้รู้ถึงฐานันดรของผู้สวมใส่ ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยตั้งแต่โบราณได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับตามยุคตามสมัย แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จนไม่อาจสรุปได้ว่าแบบใดยุคใดจะดีกว่าหรือดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมที่พอเหมาะพอควรสำหรับตนเอง พอควรแก่โอกาส สถานที่ และกาลเทศะ
นิทรรศการนี้ จัดแสดงวิธีการนุ่งห่มผ้าของไทยในรูปแบบต่างๆ 18 รูปแบบ โดยถ่ายทอดผ่านหุ่นโชว์ขนาดเล็ก พร้อมภาพประกอบคำอธิบายขั้นตอนในการนุ่งห่มผ้า ซึ่งผู้ชมนิทรรศการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ต่อไป โดยจะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2551
นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า “โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง TCDC กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบ และเปิดโอกาสให้นักเรียน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักออกแบบ และผู้ประกอบการได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านการออกแบบและการใช้ความคิดสร้างสรรค์
ทั้งยัง เป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดในวงการการศึกษาและวิชาชีพด้านงานออกแบบ รวมถึงการสืบค้นข้อมูลวัสดุเพื่อการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านวิชาการกับ TCDC ได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ระยะทางไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
นอกจากนี้ โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ยังเป็นการสร้างเครือข่ายด้านการออกแบบเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบ ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูล สื่อมัลติมีเดีย วัสดุเพื่อการออกแบบ รวมถึงกิจกรรมกระตุ้นความคิดระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กับสถาบันการศึกษา สถาบันวิชาชีพ และผู้ประกอบการในท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี ในการจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพงานด้านออกแบบในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประกอบด้วยรูปแบบการให้บริการของ TCDC ดังนี้ 1) บริการชุดหนังสือและตัวอย่างวัสดุไทยที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและสถาบันการศึกษานั้นๆ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนและปรับปรุงทุกไตรมาส 2) บริการฐานข้อมูลวัสดุเพื่อการออกแบบ (Material ConneXion®) เพื่อให้ผู้สนใจเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมแก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน ตลอดจนความช่วยเหลือในการจัดหาบริษัทผู้ผลิตและแหล่งจำหน่ายวัสดุที่มีคุณภาพ
และน่าเชื่อถือ
รวมทั้งเป็นช่องทางในการนำวัสดุไทยเข้าสู่ฐานข้อมูลวัสดุระดับโลก 3) บริการข้อมูลบันทึกกิจกรรม อาทิ การอบรม การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และชุดจำลองนิทรรศการต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้สถาบันเครือข่ายนำไปใช้อ้างอิงให้ตรงกับกิจกรรมที่อาจจัดขึ้น และ 4) บริการถ่ายทอดสดกิจกรรมหรือการสัมมนาของ TCDC ไปยังสถาบันเครือข่ายที่สนใจและมีความสอดคล้องเหมาะกับกลุ่มผู้ฟังในแต่ละพื้นที่ พร้อมมีการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับกิจกรรม ซึ่งทาง TCDC จะบันทึกเทปกิจกรรมดังกล่าวและส่งไปให้สถาบันเครือข่ายทุกแห่งเพื่อเผยแพร่ต่อไป
ห้องสมุดวัสดุเพื่อการศึกษาแบบออนไลน์ Material ConneXion® ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ mini TCDC เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวัสดุที่มีความน่าสนใจจากทั่วโลก ประกอบด้วย ข้อมูลของวัสดุมากกว่า 4,000 ชนิด และข้อมูลของวัสดุใหม่เดือนละ 30-40 ชนิด โดยวัสดุเหล่านี้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาอาชีพ และปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก ใช้ประโยชน์จากห้องสมุดวัสดุเพื่อการศึกษาแบบออนไลน์ เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทันต่อนวัตกรรม และนักศึกษาสามารถก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้
“จุดเด่นของ โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC คือการให้โอกาสเข้าถึงความรู้ด้านการออกแบบ โดยเฉพาะหนังสือและสื่อการเรียนรู้หลายรายการที่หาซื้อได้ยากและไม่มีในห้องสมุดทั่วไปในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นโครงการที่คำนึงถึงความต้องการและพื้นฐานทางวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความคิดสร้างสรรค์ และนำไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตนได้ ทั้งนี้ TCDC จะประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ ก่อนจะมีการปรับรูปแบบบริการให้สมบูรณ์มากขึ้นและขยายไปยังสถาบันการศึกษาอื่นต่อไป” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ “โครงการกระจายโอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค หรือ mini TCDC” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ยังมีการจัดแสดง ”นิทรรศการ นุ่ง จับ พับ จีบ” เป็นนิทรรศการที่แสดงถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมการนุ่งห่มของไทยโบราณที่ไม่มีการตัดเย็บ ตลอดจนการเลือกใช้วัตถุดิบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาแห่งการออกแบบเครื่องแต่งกายอันแยบยลของคนไทยสมัยก่อน โดยการใช้ผ้าเพียงผืนเดียวสามารถนำมานุ่งห่ม จับ พับ จีบ ให้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณี
ตลอดจนบอกให้รู้ถึงฐานันดรของผู้สวมใส่ ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยตั้งแต่โบราณได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับตามยุคตามสมัย แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จนไม่อาจสรุปได้ว่าแบบใดยุคใดจะดีกว่าหรือดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมที่พอเหมาะพอควรสำหรับตนเอง พอควรแก่โอกาส สถานที่ และกาลเทศะ
นิทรรศการนี้ จัดแสดงวิธีการนุ่งห่มผ้าของไทยในรูปแบบต่างๆ 18 รูปแบบ โดยถ่ายทอดผ่านหุ่นโชว์ขนาดเล็ก พร้อมภาพประกอบคำอธิบายขั้นตอนในการนุ่งห่มผ้า ซึ่งผู้ชมนิทรรศการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ต่อไป โดยจะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2551