เชียงราย – อุตุฯ เร่งตรวจสอบรอยเลื่อนแม่ทา หลังเกิดแผ่นดินไหวถี่ เตือนทุกหน่วยงานให้ความสำคัญเรื่องการวางมาตรการป้องกัน และให้ความรู้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่
นายสมพล สุปการ หัวหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยา จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ได้ประสานงานไปที่กรมอุตุนิยมวิทยาส่วนกลาง ให้ตรวจสอบการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวบริเวณจุดรอยเลื่อนแม่ทาหลังจากตรวจสอบพบว่าเกิดเหตุแผ่นดินไหวล่าสุด เมื่อเวลา 16.45 น.วันที่ 1 ก.ค. ที่บริเวณรอยต่อ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กับ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ด้วยขนาด 3.8 ริกเตอร์ ที่ละติจูด 19.26 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.24 องศาตะวันออก แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย แผ่นดินไหวบริเวณดังกล่าว เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.51 รวมแล้วเกิดขึ้น 3 ครั้ง ติดต่อกัน
นายสมพล กล่าวว่า ต้องตรวจสอบตามจอเรดาร์เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเปลือกโลกใต้พิภพบริเวณรอยเลื่อนแม่ทาอย่างใกล้ชิด เพราะในระยะนี้เกิดการสั่นสะเทือนตรงรอยเลื่อนแม่ทาถี่ขึ้นผิดปกติ ต้องพิเคราะห์ดูว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด มีการเปลี่ยนแปลง หรือการเสียสมดุลทางธรรมชาติบริเวณนี้มากน้อยเพียงใด จนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนมากขึ้น ตรงกันข้ามกับรอยเลื่อนอื่นๆ ในเชียงรายที่ไม่ค่อยมีการสั่นสะเทือนขึ้น
นายสมพล กล่าวว่า หน่วยงานหลัก เช่น จังหวัดเชียงราย หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)เชียงราย ควรให้ความสำคัญเรื่องการวางมาตรการป้องกัน และให้ความรู้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีรอยเลื่อนพาดผ่าน เช่น ที่ อ.เวียงป่าเป้า อ.เมือง อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ.แม่สาย อ.เชียงของ ให้ดึงเอาผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามารับการอบรม เพื่อนำกลับไปกระจายต่อประชาชนในเขตรับผิดชอบให้มีความพร้อมรับสถานการณ์แผ่นดินไหว หากเกิดขึ้นสถานการณ์จริงขึ้นมาจะได้ลดความเสียหายและการล้มตายลงไปได้มาก
นายสมพล สุปการ หัวหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยา จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ได้ประสานงานไปที่กรมอุตุนิยมวิทยาส่วนกลาง ให้ตรวจสอบการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวบริเวณจุดรอยเลื่อนแม่ทาหลังจากตรวจสอบพบว่าเกิดเหตุแผ่นดินไหวล่าสุด เมื่อเวลา 16.45 น.วันที่ 1 ก.ค. ที่บริเวณรอยต่อ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กับ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ด้วยขนาด 3.8 ริกเตอร์ ที่ละติจูด 19.26 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.24 องศาตะวันออก แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย แผ่นดินไหวบริเวณดังกล่าว เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.51 รวมแล้วเกิดขึ้น 3 ครั้ง ติดต่อกัน
นายสมพล กล่าวว่า ต้องตรวจสอบตามจอเรดาร์เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเปลือกโลกใต้พิภพบริเวณรอยเลื่อนแม่ทาอย่างใกล้ชิด เพราะในระยะนี้เกิดการสั่นสะเทือนตรงรอยเลื่อนแม่ทาถี่ขึ้นผิดปกติ ต้องพิเคราะห์ดูว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด มีการเปลี่ยนแปลง หรือการเสียสมดุลทางธรรมชาติบริเวณนี้มากน้อยเพียงใด จนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนมากขึ้น ตรงกันข้ามกับรอยเลื่อนอื่นๆ ในเชียงรายที่ไม่ค่อยมีการสั่นสะเทือนขึ้น
นายสมพล กล่าวว่า หน่วยงานหลัก เช่น จังหวัดเชียงราย หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)เชียงราย ควรให้ความสำคัญเรื่องการวางมาตรการป้องกัน และให้ความรู้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีรอยเลื่อนพาดผ่าน เช่น ที่ อ.เวียงป่าเป้า อ.เมือง อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ.แม่สาย อ.เชียงของ ให้ดึงเอาผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามารับการอบรม เพื่อนำกลับไปกระจายต่อประชาชนในเขตรับผิดชอบให้มีความพร้อมรับสถานการณ์แผ่นดินไหว หากเกิดขึ้นสถานการณ์จริงขึ้นมาจะได้ลดความเสียหายและการล้มตายลงไปได้มาก