นายชุมพร พลรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ว่า ตนเองพร้อมภาคเอกชนในจังหวัดตาก(หอการค้า-สภาอุตสาหกรรม) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) จะยื่นหนังสือถึงสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) เพื่อให้สนับสนุนโครงการการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด
โดยผลการศึกษาสำรวจที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการด้วยงบประมาณการลงทุน 30,000 ล้านบาทมีการเจาะอุโมงค์ประมาณ 20 กม.ซึ่งจะคุ้มทุนในระยะเวลาประมาณ 10-15 ปี
ผู้ว่าฯตาก ระบุว่า เส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด สามารถร่นระยะทางจากทางรถยนต์ 86-88 กม. เหลือประมาณ 70 กม. เป็นเส้นทางการคมนาคม,การขนส่งสินค้าชายแดน,การขนส่งเอทานอลและหินน้ำมันที่ขุดเจาะพบในพื้นที่ อ.แม่สอด และยังเป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวสายใหม่ได้อีกเส้นทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ยังจะเป็นเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อกับประเทศพม่าในอนาคต โดยเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ยังเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ที่จะมีขึ้นในอนาคต
นายชุมพร กล่าวว่า เบื้องต้นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นด้วยกับโครงการการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ซึ่งจะได้มีการนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณมาดำเนินการต่อไป
ส่วนนักลงทุนนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า จะเข้าพบกับกงสุลจีนเพื่อเสนอโครงการศึกษาสำรวจ เพื่อให้นักธุรกิจจีนมาร่วมทุนด้วย
ทั้งนี้โครงการการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ที่ได้ทำการสำรวจเส้นทางที่ 1.ระยะทาง 68.8 กม. ต้องเจาะภูเขาสร้างอุโมงค์ 2 แห่ง ระยะทางรวม 29.45 กม. มูลค่าก่อสร้างวางระบบรางงบประมาณ 13,000 ล้านบาท(หัวจักรอีกประมาณกว่า 15,000 -17,000 ล้านบาท) มีสถานีต้นทางบริเวณวิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิง ขุดอุโมงค์แรกทะลุภูเขาในเขตอุทยานตากสิน และขุดอุโมงค์ที่ 2 บริเวณเขาพะวอ และสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีชายแดนไทย-พม่า เขต ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ติดริมแม่น้ำเมย
ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวย้ำในตอนท้ายอีกว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้หากสำเร็จ จะช่วยเกื้อหนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด ที่เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือไทย-พม่า ตามแผนที่จัดไว้ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเหนือ 8,000 ล้านบาท
โดยผลการศึกษาสำรวจที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการด้วยงบประมาณการลงทุน 30,000 ล้านบาทมีการเจาะอุโมงค์ประมาณ 20 กม.ซึ่งจะคุ้มทุนในระยะเวลาประมาณ 10-15 ปี
ผู้ว่าฯตาก ระบุว่า เส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด สามารถร่นระยะทางจากทางรถยนต์ 86-88 กม. เหลือประมาณ 70 กม. เป็นเส้นทางการคมนาคม,การขนส่งสินค้าชายแดน,การขนส่งเอทานอลและหินน้ำมันที่ขุดเจาะพบในพื้นที่ อ.แม่สอด และยังเป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวสายใหม่ได้อีกเส้นทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ยังจะเป็นเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อกับประเทศพม่าในอนาคต โดยเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ยังเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ที่จะมีขึ้นในอนาคต
นายชุมพร กล่าวว่า เบื้องต้นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นด้วยกับโครงการการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ซึ่งจะได้มีการนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณมาดำเนินการต่อไป
ส่วนนักลงทุนนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า จะเข้าพบกับกงสุลจีนเพื่อเสนอโครงการศึกษาสำรวจ เพื่อให้นักธุรกิจจีนมาร่วมทุนด้วย
ทั้งนี้โครงการการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ตาก-แม่สอด ที่ได้ทำการสำรวจเส้นทางที่ 1.ระยะทาง 68.8 กม. ต้องเจาะภูเขาสร้างอุโมงค์ 2 แห่ง ระยะทางรวม 29.45 กม. มูลค่าก่อสร้างวางระบบรางงบประมาณ 13,000 ล้านบาท(หัวจักรอีกประมาณกว่า 15,000 -17,000 ล้านบาท) มีสถานีต้นทางบริเวณวิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิง ขุดอุโมงค์แรกทะลุภูเขาในเขตอุทยานตากสิน และขุดอุโมงค์ที่ 2 บริเวณเขาพะวอ และสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีชายแดนไทย-พม่า เขต ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ติดริมแม่น้ำเมย
ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวย้ำในตอนท้ายอีกว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้หากสำเร็จ จะช่วยเกื้อหนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด ที่เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือไทย-พม่า ตามแผนที่จัดไว้ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเหนือ 8,000 ล้านบาท