พะเยา - ธ.ก.ส.เล็งรับ อปท.และพนักงานท้องถิ่นเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ หลังลูกค้าเกษตรกรน้อยลงทุกวัน เน้นโครงการลงทุนได้ผลตอบแทน ไม่รับโครงการกู้เพื่อทำโครงสร้างพื้นฐาน
นางอนงค์นารถ หิรัญพฤกษ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)สาขาภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส. ได้ปรับแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าเพื่อให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เนื่องจากอดีตที่ผ่าน ธ.ก.ส. ได้เปิดรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกษตรกรเท่านั้น แต่ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มมีจำนวนน้อยลง โดยเปิดช่องให้ส่วนราชการ-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีพนักงานในองค์กรที่ต่างก็เป็นทายาทของเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนอาชีพ เป็นลูกค้าของธนาคารได้
ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาภูซาง กล่าวต่อว่า อปท.ต่างๆ เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เหล่านี้ สามารถเป็นลูกค้าเงินกู้ของ ธ.ก.ส.ได้ โดยแยกเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานใน อปท.สามารถรวมกลุ่มกันมายื่นกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและของกลุ่ม หรือ อปท.ซึ่งเป็นนิติบุคคล ก็สามารถจัดทำโครงการในลักษณะของการลงทุนที่มีค่าตอบแทนยื่นกู้มาที่ ธ.ก.ส.สาขาในพื้นที่ได้ แต่ต้องเป็นโครงการเน้นเรื่องเชิงคุณภาพชีวิตและการลงทุนที่มีผลกำไรตอบแทน จะเป็นโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องใช้งบประมาณของรัฐ ดังนั้นจะเน้นเฉพาะโครงการที่เป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนเป็นหลัก
“การพิจารณาโครงการและวงเงินกู้ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ และความสามารถศักยภาพในการบริหารจัดการตลอดจนการจัดเก็บรายได้ของ อปท.นั้นๆ ประกอบด้วย”
นายเชาวน์ หายทุกข์ ปลัด อบต.ป่าสัก อ.ภูซาง กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับ อปท.ที่จะมีแหล่งเงินกู้เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นของ อปท.ได้ เนื่องจากหลายโครงการที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอ แต่หากมีสถาบันการเงินที่เปิดกว้างให้เงินกู้แก่ อปท.ได้ในลักษณะดังกล่าว อปท.ที่มีความสามารถในการจัดเก็บภาษีรายได้ด้วยตนเอง บวกกับเงินงบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลทุกปีงบประมาณ สามารถจัดทำโครงการในลักษณะงบประมาณผูกพันต่อเนื่องจนสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้หมดจะดีมาก
ส่วนเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น อปท.พัฒนาไปเกือบเต็มพื้นที่แล้วคิดว่ามีความจำเป็นไม่มาก ขณะที่เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับต้นๆ ในปัจจุบัน เมื่อ ธ.ก.ส.มีนโยบายดังกล่าว ซึ่งสอดรับกับนโยบายการพัฒนาของ อปท.ก็คือทางรอดของ อปท.ทางหนึ่ง
นางอนงค์นารถ หิรัญพฤกษ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)สาขาภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส. ได้ปรับแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าเพื่อให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เนื่องจากอดีตที่ผ่าน ธ.ก.ส. ได้เปิดรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกษตรกรเท่านั้น แต่ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มมีจำนวนน้อยลง โดยเปิดช่องให้ส่วนราชการ-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีพนักงานในองค์กรที่ต่างก็เป็นทายาทของเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนอาชีพ เป็นลูกค้าของธนาคารได้
ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาภูซาง กล่าวต่อว่า อปท.ต่างๆ เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เหล่านี้ สามารถเป็นลูกค้าเงินกู้ของ ธ.ก.ส.ได้ โดยแยกเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานใน อปท.สามารถรวมกลุ่มกันมายื่นกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและของกลุ่ม หรือ อปท.ซึ่งเป็นนิติบุคคล ก็สามารถจัดทำโครงการในลักษณะของการลงทุนที่มีค่าตอบแทนยื่นกู้มาที่ ธ.ก.ส.สาขาในพื้นที่ได้ แต่ต้องเป็นโครงการเน้นเรื่องเชิงคุณภาพชีวิตและการลงทุนที่มีผลกำไรตอบแทน จะเป็นโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องใช้งบประมาณของรัฐ ดังนั้นจะเน้นเฉพาะโครงการที่เป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนเป็นหลัก
“การพิจารณาโครงการและวงเงินกู้ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ และความสามารถศักยภาพในการบริหารจัดการตลอดจนการจัดเก็บรายได้ของ อปท.นั้นๆ ประกอบด้วย”
นายเชาวน์ หายทุกข์ ปลัด อบต.ป่าสัก อ.ภูซาง กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับ อปท.ที่จะมีแหล่งเงินกู้เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นของ อปท.ได้ เนื่องจากหลายโครงการที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอ แต่หากมีสถาบันการเงินที่เปิดกว้างให้เงินกู้แก่ อปท.ได้ในลักษณะดังกล่าว อปท.ที่มีความสามารถในการจัดเก็บภาษีรายได้ด้วยตนเอง บวกกับเงินงบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลทุกปีงบประมาณ สามารถจัดทำโครงการในลักษณะงบประมาณผูกพันต่อเนื่องจนสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้หมดจะดีมาก
ส่วนเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น อปท.พัฒนาไปเกือบเต็มพื้นที่แล้วคิดว่ามีความจำเป็นไม่มาก ขณะที่เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับต้นๆ ในปัจจุบัน เมื่อ ธ.ก.ส.มีนโยบายดังกล่าว ซึ่งสอดรับกับนโยบายการพัฒนาของ อปท.ก็คือทางรอดของ อปท.ทางหนึ่ง