พะเยา – ชาวบ้านโร่ร้องผู้ว่าฯ หลังถูกป่าไม้ยึดที่ทำกินคืน ทั้งที่ได้ ส.ป.ก.4-01 ตั้งแต่ปี 41 และทำกินมาต่อเนื่องหลายสิบปี จี้ให้ ส.ป.ก.เร่งรับผิดชอบ ด้าน ผวจ.รับศึกษาข้อมูลก่อนดำเนินการช่วยเหลือ
วันนี้ (3 มิ.ย.) นายมานิตย์ สารทอง อดีตข้าราชการครู หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากได้มีประชาชนซึ่งเป็นเกษตรกรจำนวน 11 ราย ซึ่งมีพื้นที่ทำกินรวมกันประมาณ 200 ไร่ ในพื้นที่หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อนอย่างมากจากกรณีที่ได้มีเจ้าหน้าที่ของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดพะเยา ห้ามไม่ให้เข้าไปทำกินในที่ดินดังกล่าว ซึ่งได้ทำกันมานานหลายสิบปีแล้ว
กระทั่งปี 2539 สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้แจ้งให้พวกตนจับจองที่ทำกินเพื่อเตรียมออกเอกสารสิทธิให้ ในปี 2541 ตนพร้อมด้วยประชาชนจำนวน 10 ราย ได้รับการแจกเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก.4-01 จากผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้รับสิทธิในการเข้าทำกินที่ดินของตนเองตามกฎหมาย
ปี 2550 ที่ผ่านมาได้เกิดเรื่อง ตนและประชาชนที่เข้าไปทำกินถูกเจ้าหน้าที่ของสถานีควบคุมไฟป่าห้ามไม่ให้เข้าไปทำกิน เนื่องจากได้รับแจ้งว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกกันคืนเป็นพื้นที่ของป่าไม้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2538
เรื่องนี้พวกตนจึงได้ทำเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปที่ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดพะเยา เมื่อเดือนกันยายน 2550 และเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยนางสาวอรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา ได้เดินทางเข้ามาพบกับพวกตนและรับข้อมูลที่เป็นความเดือดร้อนของพวกตนไปศึกษาเพื่อหาวิธีช่วยเหลือในขั้นตอนต่อไป
ขณะที่ นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวภายหลังได้ลงพื้นที่ติดตามข้อมูลจากชาวบ้านบ้านต๋อมว่า ต้องขอเวลาศึกษาข้อมูลทั้งหมดก่อนว่ามีหน่วยงานใดบ้างของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ จากนั้นคาดว่าคงจะต้องขอเชิญหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมด้วยกลุ่มประชาชนที่ประสบปัญหา หารือถึงทางออกพร้อมกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอีกครั้ง
ด้าน นายฉกาจ เทพทองตัน หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดพะเยา เผยว่า ประมาณ 7-8 ปีที่ผ่านมาเมื่อครั้งหัวหน้าสถานีฯ คนเดิมทำหน้าที่ ขณะนั้นพื้นที่บริเวณดังกล่าวกำลังดำเนินการสำรวจและรังวัดเป็นพื้นที่ปฏิรูปของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน ต่อมาไม่นานได้ถูกกันคืนให้กับกรมป่าไม้ ถือว่าเป็นพื้นที่ในความดูแลของป่าไม้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นสภาพพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์มีต้นไม้ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งมีความชันประมาณ 45-60 องศา ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นพื้นที่ทำกินแต่อย่างใด
ดังนั้น หากประชาชนจะเข้าไปทำกินคงไม่สามารถทำได้ แต่หากต้องการทำกินจริงตามที่กล่าวอ้างว่าได้ทำกินมานานแล้วนั้น ประชาชนสามารถเข้าไปติดต่อและทำเรื่องขออนุญาตจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) พะเยา เพื่อขอเข้าไปทำประโยชน์ สำหรับหน่วยงานของตนเองขึ้นตรงกับกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพรรณพืช ทำหน้าที่เพียงดูแลพื้นที่ป่าเท่านั้น ไม่สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าทำกินในพื้นที่ป่าได้
วันนี้ (3 มิ.ย.) นายมานิตย์ สารทอง อดีตข้าราชการครู หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากได้มีประชาชนซึ่งเป็นเกษตรกรจำนวน 11 ราย ซึ่งมีพื้นที่ทำกินรวมกันประมาณ 200 ไร่ ในพื้นที่หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อนอย่างมากจากกรณีที่ได้มีเจ้าหน้าที่ของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดพะเยา ห้ามไม่ให้เข้าไปทำกินในที่ดินดังกล่าว ซึ่งได้ทำกันมานานหลายสิบปีแล้ว
กระทั่งปี 2539 สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้แจ้งให้พวกตนจับจองที่ทำกินเพื่อเตรียมออกเอกสารสิทธิให้ ในปี 2541 ตนพร้อมด้วยประชาชนจำนวน 10 ราย ได้รับการแจกเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก.4-01 จากผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้รับสิทธิในการเข้าทำกินที่ดินของตนเองตามกฎหมาย
ปี 2550 ที่ผ่านมาได้เกิดเรื่อง ตนและประชาชนที่เข้าไปทำกินถูกเจ้าหน้าที่ของสถานีควบคุมไฟป่าห้ามไม่ให้เข้าไปทำกิน เนื่องจากได้รับแจ้งว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกกันคืนเป็นพื้นที่ของป่าไม้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2538
เรื่องนี้พวกตนจึงได้ทำเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปที่ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดพะเยา เมื่อเดือนกันยายน 2550 และเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยนางสาวอรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา ได้เดินทางเข้ามาพบกับพวกตนและรับข้อมูลที่เป็นความเดือดร้อนของพวกตนไปศึกษาเพื่อหาวิธีช่วยเหลือในขั้นตอนต่อไป
ขณะที่ นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวภายหลังได้ลงพื้นที่ติดตามข้อมูลจากชาวบ้านบ้านต๋อมว่า ต้องขอเวลาศึกษาข้อมูลทั้งหมดก่อนว่ามีหน่วยงานใดบ้างของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ จากนั้นคาดว่าคงจะต้องขอเชิญหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมด้วยกลุ่มประชาชนที่ประสบปัญหา หารือถึงทางออกพร้อมกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอีกครั้ง
ด้าน นายฉกาจ เทพทองตัน หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดพะเยา เผยว่า ประมาณ 7-8 ปีที่ผ่านมาเมื่อครั้งหัวหน้าสถานีฯ คนเดิมทำหน้าที่ ขณะนั้นพื้นที่บริเวณดังกล่าวกำลังดำเนินการสำรวจและรังวัดเป็นพื้นที่ปฏิรูปของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน ต่อมาไม่นานได้ถูกกันคืนให้กับกรมป่าไม้ ถือว่าเป็นพื้นที่ในความดูแลของป่าไม้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นสภาพพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์มีต้นไม้ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งมีความชันประมาณ 45-60 องศา ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นพื้นที่ทำกินแต่อย่างใด
ดังนั้น หากประชาชนจะเข้าไปทำกินคงไม่สามารถทำได้ แต่หากต้องการทำกินจริงตามที่กล่าวอ้างว่าได้ทำกินมานานแล้วนั้น ประชาชนสามารถเข้าไปติดต่อและทำเรื่องขออนุญาตจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) พะเยา เพื่อขอเข้าไปทำประโยชน์ สำหรับหน่วยงานของตนเองขึ้นตรงกับกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพรรณพืช ทำหน้าที่เพียงดูแลพื้นที่ป่าเท่านั้น ไม่สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าทำกินในพื้นที่ป่าได้