มหาสารคาม - ชลประทานมหาสารคาม เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำชี เนื่องจากมีฝนตกหนักและต่อเนื่อง ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางยังรองรับน้ำได้อีกกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่าง
นายวรรัตน์ ประวาลปัทมกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานมหาสารคาม กล่าวว่า หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงจังหวัดมหาสารคาม ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศต่ำ ทำให้มีฝนตกหนักและกระจายเกือบทั่วทุกพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมเพิ่มขึ้น จากการติตามและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยพบว่าระดับน้ำในลำน้ำชีตั้งแต่ฝายคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย ไปจนถึงฝายวังยาง ตลอดความยาว กว่า 80 กิโลเมตร ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่าวันละ 10-15 เซนติเมตร จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมรับมือโดยการพร่องน้ำออกจากฝายวังยาง ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้อย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนได้รับทราบทันเหตุการณ์
ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 17 แห่ง มีปริมาณเก็บกักเพิ่มขึ้น ล่าสุดในภาพรวมมีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 57.12 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 70.35 ของความจุอ่าง 81.20 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีกมาก
นายวรรัตน์ ประวาลปัทมกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานมหาสารคาม กล่าวว่า หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงจังหวัดมหาสารคาม ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศต่ำ ทำให้มีฝนตกหนักและกระจายเกือบทั่วทุกพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมเพิ่มขึ้น จากการติตามและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยพบว่าระดับน้ำในลำน้ำชีตั้งแต่ฝายคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย ไปจนถึงฝายวังยาง ตลอดความยาว กว่า 80 กิโลเมตร ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่าวันละ 10-15 เซนติเมตร จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมรับมือโดยการพร่องน้ำออกจากฝายวังยาง ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้อย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนได้รับทราบทันเหตุการณ์
ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 17 แห่ง มีปริมาณเก็บกักเพิ่มขึ้น ล่าสุดในภาพรวมมีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 57.12 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 70.35 ของความจุอ่าง 81.20 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีกมาก