พะเยา – รองผู้ว่าฯเมืองกว๊าน เดินหน้าเยียวยาเกษตรกรชาวสวนกาแฟ ภายใต้การส่งเสริมจากกรมประชาสงเคราะห์ (เดิม) หลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ตัดฟันเหี้ยน เมื่อตรวจพบรุกป่ากว่า 64 ไร่ พร้อมเตรียมทำลายทิ้งอีก 500 กว่าไร่-200,000 ต้น ที่ชาวบ้านปลูกกลางอุทยาน
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมาตนพร้อมด้วย นายเข็มทอง ม่วงสุข นายอำเภอแม่ใจ, เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง, ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัด, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ศรีถ้อย และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.แม่ใจ ได้ร่วมประชุมกัน ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านปางปูเลาะ เพื่อหาทางแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
หลังจากที่ชนเผ่าเมี่ยนจำนวน 39 รายได้เข้าปลูกกาแฟในพื้นที่ป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง บริเวณบ้านฮ่างวังแก้ว ต.วังแก้ว อ.วังเหนือ และบ้านปางปูเลาะ ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ กว่า 600 ไร่ ตรงรอยต่อจังหวัดพะเยา-ลำปาง เพื่อปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา ที่กรมประชาสงเคราะห์ (เดิม) ได้รับงบประมาณจากประเทศนอร์เวย์ ในการส่งเสริมราษฎร เมื่อ พ.ศ.2530 ที่ผ่านมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 51 จนท.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จ.พะเยา-เชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้ารื้อถอนต้นกาแฟในพื้นที่ป่าอุทยานกว่า 64 ไร่ หลังได้ประกาศให้เจ้าของต้นกาแฟดังกล่าวรื้อถอน แต่ชาวบ้านฝ่าฝืนจนทำให้เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ จำเป็นต้องใช้กำลังกว่า 500 นายเข้ารื้อถอนต้นกาแฟทั้งหมด และจากการที่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ บินสำรวจบริเวณป่าดังกล่าวยังพบการลักลอบปลูกกาแฟอีกว่า 500 ไร่ รวมต้นกาแฟที่ต้องทำการรื้อถอนทั้งสิ้นกว่า 200,000 ต้น
นายสมศักดิ์ กล่าวหลังจากการหารือว่า ได้มีการสรุปแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวเขาที่ได้รับผลกระทบจากการตัดต้นกาแฟ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะยาว ประชาชนต้องการแหล่งน้ำมาใช้ในการดูแลสวนลิ้นจี่ โดยตนได้มอบหมายให้กับนายช่างจากสำนักงานชลประทานจังหวัดออกไปสำรวจพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ หากสามารถดำเนินการได้ก็จะต้องดำเนินการผลักดันงบประมาณเพื่อก่อสร้างต่อไป
ระยะกลาง คือ การจัดการส่งเสริมท่องเที่ยวโดยการทำโฮมสเตย์ท่องเที่ยว 3 หมู่บ้าน ระหว่างบ้านปางปูเลาะ ผาแดง และป่าเมี่ยง ต.ศรีถ้อย พร้อมทั้งมอบหมาย กศน.เข้าไปฝึกอบรมการชงกาแฟทั้งร้อนและเย็นแก่ประชาชน เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวปีละไม่น้อยกว่า 500 คน
รอง ผวจ.พะเยา เปิดเผยต่อว่า ส่วนในระยะสั้น คือ ประชาชนจำนวน 39 ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการตัดต้นกาแฟครั้งนี้ และมีประชาชนชาวเขาจำนวน 31 รายที่ร้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ-ท้องถิ่น โดยแยกเป็นการเรียกร้องปลูกยางพาราในพื้นที่ทดแทนลิ้นจี่ที่หมดอายุ 10 ไร่ 2 ราย-ปลูกผักหวาน 1 ราย มอบให้ อบต.ศรีถ้อย สนับสนุนต้นกล้ายางพาราและต้นกล้าผักหวาน-ต้องการไปทำงานต่างประเทศ 2 ราย มอบหมายอำเภอประสานงานไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดเพื่อขึ้นทะเบียนแรงงาน เมื่อมีอัตราว่างให้ดำเนินการตามขั้นตอน
ต้องการขายน้ำเต้าหู้และทอดปาท่องโก๋ 9 ราย มอบหมายให้ พมจ.จัดหาอุปกรณ์สนับสนุน ต้องการท่อพีวีซี.ใช้ต่อน้ำจากลำห้วยเพื่อเลี้ยงต้นลิ้นจี่ 8 ราย มอบอำเภอจัดหางบประมาณจากยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขสนับสนุน และต้องการทุนการศึกษาให้บุตรหลานที่กำลังศึกษา 9 ราย มอบหมายให้อำเภอประสานงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 1 ที่มีระบบการให้ทุนอยู่แล้วจัดการดูแลเป็นพิเศษ ส่วนที่เหลืออีก 8 ราย ไม่ร้องขอความช่วยเหลือเพราะอยู่ได้เพียงพอกับสวนลิ้นจี่ประมาณ 5-10 ไร่ที่มีอยู่
ในการประชุมหารือครั้งนี้ มีประชาชนเข้าร่วมไม่มากนัก เนื่องจาก 1.เกรงจะถูกจับกุมเพราะรู้ว่าบุกรุกพื้นที่อุทบยานแห่งชาติดอยหลวง 2.ไม่เชื่อใจส่วนราชการว่าจะให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจและต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อตนและหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ร่วมกันมาวางแผนดำเนินโครงการให้กับประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดำเนินการด้วยความจริงใจกับประชาชน ดังนั้นเพื่อแสดงความจริงใจกับประชาชน ตนจะมีการตรวจสอบทุกแผนการช่วยเหลือเป็นระยะ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทางราชการไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนเหมือนที่พวกเขาหวั่นวิตกกัน
ด้านนายชาญชัย ใจปรีชาวัฒนากุล สมาชิกสภา อบต.(ส.อบต.) ผู้เป็นตัวแทนประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ กล่าวว่า ชาวบ้านยินดีที่จะประกอบอาชีพใหม่ เนื่องจากตระหนักว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกกฎหมาย แต่ยังไม่มั่นใจว่าหน่วยงานราชการจะสามารถดำเนินการตามที่ตกลงไว้ในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้กึ่งหนึ่งมาจากการปลูกกาแฟ หากเปลี่ยนอาชีพก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่ารายได้จะมากเหมือนการปลูกกาแฟหรือไม่ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของราษฎร
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมาตนพร้อมด้วย นายเข็มทอง ม่วงสุข นายอำเภอแม่ใจ, เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง, ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัด, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ศรีถ้อย และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.แม่ใจ ได้ร่วมประชุมกัน ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านปางปูเลาะ เพื่อหาทางแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
หลังจากที่ชนเผ่าเมี่ยนจำนวน 39 รายได้เข้าปลูกกาแฟในพื้นที่ป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง บริเวณบ้านฮ่างวังแก้ว ต.วังแก้ว อ.วังเหนือ และบ้านปางปูเลาะ ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ กว่า 600 ไร่ ตรงรอยต่อจังหวัดพะเยา-ลำปาง เพื่อปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา ที่กรมประชาสงเคราะห์ (เดิม) ได้รับงบประมาณจากประเทศนอร์เวย์ ในการส่งเสริมราษฎร เมื่อ พ.ศ.2530 ที่ผ่านมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 51 จนท.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จ.พะเยา-เชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้ารื้อถอนต้นกาแฟในพื้นที่ป่าอุทยานกว่า 64 ไร่ หลังได้ประกาศให้เจ้าของต้นกาแฟดังกล่าวรื้อถอน แต่ชาวบ้านฝ่าฝืนจนทำให้เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ จำเป็นต้องใช้กำลังกว่า 500 นายเข้ารื้อถอนต้นกาแฟทั้งหมด และจากการที่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ บินสำรวจบริเวณป่าดังกล่าวยังพบการลักลอบปลูกกาแฟอีกว่า 500 ไร่ รวมต้นกาแฟที่ต้องทำการรื้อถอนทั้งสิ้นกว่า 200,000 ต้น
นายสมศักดิ์ กล่าวหลังจากการหารือว่า ได้มีการสรุปแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวเขาที่ได้รับผลกระทบจากการตัดต้นกาแฟ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะยาว ประชาชนต้องการแหล่งน้ำมาใช้ในการดูแลสวนลิ้นจี่ โดยตนได้มอบหมายให้กับนายช่างจากสำนักงานชลประทานจังหวัดออกไปสำรวจพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ หากสามารถดำเนินการได้ก็จะต้องดำเนินการผลักดันงบประมาณเพื่อก่อสร้างต่อไป
ระยะกลาง คือ การจัดการส่งเสริมท่องเที่ยวโดยการทำโฮมสเตย์ท่องเที่ยว 3 หมู่บ้าน ระหว่างบ้านปางปูเลาะ ผาแดง และป่าเมี่ยง ต.ศรีถ้อย พร้อมทั้งมอบหมาย กศน.เข้าไปฝึกอบรมการชงกาแฟทั้งร้อนและเย็นแก่ประชาชน เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวปีละไม่น้อยกว่า 500 คน
รอง ผวจ.พะเยา เปิดเผยต่อว่า ส่วนในระยะสั้น คือ ประชาชนจำนวน 39 ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการตัดต้นกาแฟครั้งนี้ และมีประชาชนชาวเขาจำนวน 31 รายที่ร้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ-ท้องถิ่น โดยแยกเป็นการเรียกร้องปลูกยางพาราในพื้นที่ทดแทนลิ้นจี่ที่หมดอายุ 10 ไร่ 2 ราย-ปลูกผักหวาน 1 ราย มอบให้ อบต.ศรีถ้อย สนับสนุนต้นกล้ายางพาราและต้นกล้าผักหวาน-ต้องการไปทำงานต่างประเทศ 2 ราย มอบหมายอำเภอประสานงานไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดเพื่อขึ้นทะเบียนแรงงาน เมื่อมีอัตราว่างให้ดำเนินการตามขั้นตอน
ต้องการขายน้ำเต้าหู้และทอดปาท่องโก๋ 9 ราย มอบหมายให้ พมจ.จัดหาอุปกรณ์สนับสนุน ต้องการท่อพีวีซี.ใช้ต่อน้ำจากลำห้วยเพื่อเลี้ยงต้นลิ้นจี่ 8 ราย มอบอำเภอจัดหางบประมาณจากยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขสนับสนุน และต้องการทุนการศึกษาให้บุตรหลานที่กำลังศึกษา 9 ราย มอบหมายให้อำเภอประสานงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 1 ที่มีระบบการให้ทุนอยู่แล้วจัดการดูแลเป็นพิเศษ ส่วนที่เหลืออีก 8 ราย ไม่ร้องขอความช่วยเหลือเพราะอยู่ได้เพียงพอกับสวนลิ้นจี่ประมาณ 5-10 ไร่ที่มีอยู่
ในการประชุมหารือครั้งนี้ มีประชาชนเข้าร่วมไม่มากนัก เนื่องจาก 1.เกรงจะถูกจับกุมเพราะรู้ว่าบุกรุกพื้นที่อุทบยานแห่งชาติดอยหลวง 2.ไม่เชื่อใจส่วนราชการว่าจะให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจและต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อตนและหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ร่วมกันมาวางแผนดำเนินโครงการให้กับประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดำเนินการด้วยความจริงใจกับประชาชน ดังนั้นเพื่อแสดงความจริงใจกับประชาชน ตนจะมีการตรวจสอบทุกแผนการช่วยเหลือเป็นระยะ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทางราชการไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนเหมือนที่พวกเขาหวั่นวิตกกัน
ด้านนายชาญชัย ใจปรีชาวัฒนากุล สมาชิกสภา อบต.(ส.อบต.) ผู้เป็นตัวแทนประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ กล่าวว่า ชาวบ้านยินดีที่จะประกอบอาชีพใหม่ เนื่องจากตระหนักว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกกฎหมาย แต่ยังไม่มั่นใจว่าหน่วยงานราชการจะสามารถดำเนินการตามที่ตกลงไว้ในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้กึ่งหนึ่งมาจากการปลูกกาแฟ หากเปลี่ยนอาชีพก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่ารายได้จะมากเหมือนการปลูกกาแฟหรือไม่ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของราษฎร