จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรี ออกมาตรการควบคุม และป้องกันการตัดทุเรียนอ่อน ส่งออกต่างประเทศ หวั่นมีผลกระทบต่อราคาทุเรียน
นายมานพ วีระอาชากุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรีได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อนมา 3 – 4 เดือนแล้ว จากมาตรการที่คณะทำงานทำกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการควบคุมคุณภาพของการผลิต การรวมกลุ่มเกษตรกร ผ่านสหกรณ์ต่าง ๆ ขอความร่วมมือชาวสวน ขอความร่วมมือจากผู้รับซื้อ หรือ ล้งต่าง ๆ มาตรการในการปรามตรวจจับผลไม้อ่อน ไม่ให้ส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อป้องกันชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรีไม่ให้เสื่อมเสียและรักษาราคาทุเรียนไม่ให้ตกต่ำไปด้วย
“จริง ๆ แล้วจันทบุรีเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกที่ควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจัง หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบคือศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สามารถยืนยันได้เลยว่า ทุเรียนอ่อนไม่ได้ไปจากจันทบุรี เพราะมีชุดตรวจ ปราม ซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ อ.ส. เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ออกไปตรวจทุกล้ง ทุกตลาดที่มีการจำหน่าย ไม่ให้ส่งออก ขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ย้อนกลับเข้ามาสู่ตลาดรองอีก”
นายมานพ กล่าวอีกว่า การควบคุมทุเรียนอ่อนจะสำเร็จได้ ก็ต้องเริ่มจากชาวสวนเองต้องไม่ปล่อยให้ทุเรียนอ่อนออกมา ไม่ใช่มีพ่อค้ามาเหมาสวนแล้ว ปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้รับเหมาว่าจะมาตัดเมื่อไหร่ ตัดทีเดียวหมดสวนหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าทำลายตัวเอง แล้วระบบเกษตรกรก็จะเสียไปทั้งหมด ดังนั้นผู้รับซื้อ และชาวสวนก็ต้องมีจิตสำนึก และมีคุณธรรมร่วมกันรวมทั้งมาตรการสุดท้ายคือการใช้กฎหมายมาบังคับด้วย
นายมานพ วีระอาชากุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรีได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อนมา 3 – 4 เดือนแล้ว จากมาตรการที่คณะทำงานทำกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการควบคุมคุณภาพของการผลิต การรวมกลุ่มเกษตรกร ผ่านสหกรณ์ต่าง ๆ ขอความร่วมมือชาวสวน ขอความร่วมมือจากผู้รับซื้อ หรือ ล้งต่าง ๆ มาตรการในการปรามตรวจจับผลไม้อ่อน ไม่ให้ส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อป้องกันชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรีไม่ให้เสื่อมเสียและรักษาราคาทุเรียนไม่ให้ตกต่ำไปด้วย
“จริง ๆ แล้วจันทบุรีเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกที่ควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจัง หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบคือศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สามารถยืนยันได้เลยว่า ทุเรียนอ่อนไม่ได้ไปจากจันทบุรี เพราะมีชุดตรวจ ปราม ซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ อ.ส. เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ออกไปตรวจทุกล้ง ทุกตลาดที่มีการจำหน่าย ไม่ให้ส่งออก ขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ย้อนกลับเข้ามาสู่ตลาดรองอีก”
นายมานพ กล่าวอีกว่า การควบคุมทุเรียนอ่อนจะสำเร็จได้ ก็ต้องเริ่มจากชาวสวนเองต้องไม่ปล่อยให้ทุเรียนอ่อนออกมา ไม่ใช่มีพ่อค้ามาเหมาสวนแล้ว ปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้รับเหมาว่าจะมาตัดเมื่อไหร่ ตัดทีเดียวหมดสวนหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าทำลายตัวเอง แล้วระบบเกษตรกรก็จะเสียไปทั้งหมด ดังนั้นผู้รับซื้อ และชาวสวนก็ต้องมีจิตสำนึก และมีคุณธรรมร่วมกันรวมทั้งมาตรการสุดท้ายคือการใช้กฎหมายมาบังคับด้วย