ตราด - ธ.ก.ส.ตราด เผยชาวนาขอสินเชื่อปลูกข้าวเพิ่มในพื้นที่รกร้างหลังข้าวราคาดี ขณะที่ชาวนา ขายข้าวราคาดีนำเงินชำระหนี้ 100% ระบุ มีเกษตรกรเข้าโครงการแค่ 23 ราย
นายมานพ ทองศรีสมบูรณ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ธ.ก.ส.ตราด ได้ปล่อยสินเชื่อ ให้กับเกษตรกรชาวนาใน 2 ลักษณะ คือ การปล่อยสินเชื่อโดยตรง มีลูกค้า 73 ราย โดยมียอดสินเชื่อ 70 กว่าล้าน และปล่อยผ่านสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าของธนาคาร หรือสถาบันมี 10 ล้านบาท
แต่ปีนี้ราคาข้าวเปลือกมีราคาสูงกว่าที่ธนาคารรับจำนำทำให้ปีนี้มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการเพียง 23 รายเท่านั้น และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 เกษตรกรชาวนาก็ชำระสินเชื่อไปหมดแล้ว แสดงให้เห็นว่าปีนี้ เกษตรกรเครดิตดี เนื่องจากราคาข้าวเปลือกมีราคาดี ทำให้เกษตรกรชาวนาได้เข้ามาขอสินเชื่อ กับ ธ.ก.ส.ตราด เพื่อนำเงินสินเชือไปปลูกข้าวเพิ่มในพื้นที่รกร้าง และที่นาทิ้งร้าง ซึ่งเพิ่มมากกว่าปี 2550 ถึง 2 เท่า ตัว หรือกว่า 140 กว่าราย
“สำหรับปีนี้ ที่มีเกษตรกรชาวนา 3 ราย ที่เข้าร่วมโครงการและเดินทางมาชำระหนี้ไปแล้ว 21 ราย เหลือเพียง 2 ราย และหากขายข้าวเปลือกได้แล้ว ก็คงจะชำระหนี้ และเหตุที่ราคาข้าวเปลือกมีราคาสูง เป็นเรื่องที่ดีสำหรับ เกษตรกรที่จะมีรายได้เพิ่ม และจะมีการชำระหนี้ได้ แต่ปัญหาของชาวนาในขณะนี้ก็คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งราคาปุ๋ย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่จะเป็นตัวทำให้กำไรลดลง ดังนั้น เกษตรกรชาวนาจะต้องบริหาร ต้นทุน การผลิตให้ดีด้วย”
นายมานพ ทองศรีสมบูรณ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ธ.ก.ส.ตราด ได้ปล่อยสินเชื่อ ให้กับเกษตรกรชาวนาใน 2 ลักษณะ คือ การปล่อยสินเชื่อโดยตรง มีลูกค้า 73 ราย โดยมียอดสินเชื่อ 70 กว่าล้าน และปล่อยผ่านสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าของธนาคาร หรือสถาบันมี 10 ล้านบาท
แต่ปีนี้ราคาข้าวเปลือกมีราคาสูงกว่าที่ธนาคารรับจำนำทำให้ปีนี้มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการเพียง 23 รายเท่านั้น และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 เกษตรกรชาวนาก็ชำระสินเชื่อไปหมดแล้ว แสดงให้เห็นว่าปีนี้ เกษตรกรเครดิตดี เนื่องจากราคาข้าวเปลือกมีราคาดี ทำให้เกษตรกรชาวนาได้เข้ามาขอสินเชื่อ กับ ธ.ก.ส.ตราด เพื่อนำเงินสินเชือไปปลูกข้าวเพิ่มในพื้นที่รกร้าง และที่นาทิ้งร้าง ซึ่งเพิ่มมากกว่าปี 2550 ถึง 2 เท่า ตัว หรือกว่า 140 กว่าราย
“สำหรับปีนี้ ที่มีเกษตรกรชาวนา 3 ราย ที่เข้าร่วมโครงการและเดินทางมาชำระหนี้ไปแล้ว 21 ราย เหลือเพียง 2 ราย และหากขายข้าวเปลือกได้แล้ว ก็คงจะชำระหนี้ และเหตุที่ราคาข้าวเปลือกมีราคาสูง เป็นเรื่องที่ดีสำหรับ เกษตรกรที่จะมีรายได้เพิ่ม และจะมีการชำระหนี้ได้ แต่ปัญหาของชาวนาในขณะนี้ก็คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งราคาปุ๋ย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่จะเป็นตัวทำให้กำไรลดลง ดังนั้น เกษตรกรชาวนาจะต้องบริหาร ต้นทุน การผลิตให้ดีด้วย”