ศูนย์ข่าวศรีราชา- จังหวัดชลบุรี เร่งจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า มูลค่ากว่า 120 ล้านบาท เพื่อนำเงินกองทุนมาพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น
นายฐานิศร์ น้อยเพ็ง นายอำเภอศรีราชา กล่าวถึงกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 กองทุน ประกอบด้วย 1.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าอมตะเพาเวอร์ 2.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเครือไทยออยล์ แหลมฉบังเพาเวอร์ และสหโคเจน 3.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี และ 4.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าน้ำตาลระยอง (ชลบุรี)
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมติคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเงินกองทุนมาพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีทั้งสิ้น 7 โรงไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีโรงไฟฟ้าต่างๆ ประกอบด้วย 1.บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ จำกัด 2.บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด 3.บริษัท โคเจน (ชลบุรี) มหาชน 4.บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด 5.บริษัท อมตะ เพาเวอร์(บางปะกง) จำกัด 6.บริษัท ไทยออยล์ เพาะเวอร์ จำกัด และ 7.บริษัท น้ำตาลระยอง จำกัด จึงต้องสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และประสบการณ์ มาบริหารกองทุนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
นายฐานิศร์ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนรอบชุมชนโรงไฟฟ้านั้น หลังได้รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการประชุมวางแผนกองทุน เช่น แผนโครงการ, ด้านการคลัง-เงิน, ด้านพัสดุ เพื่อวางแนวทางไปในทิศทางใดต่อไป เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบระหว่างประชาชนกับโรงฟ้า เช่น เดินขบวนประท้วงปิดโรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้งโดยไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ดังนั้นจึงต้องมีกองทุนนี้เข้ามาช่วยเหลือประชาชนและคลี่คลายปัญหา เพื่อให้ทั้งสองส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี
ด้าน นายธีระศักดิ์ จรัสศรีวิสิษฐ์ หัวหน้าสำนักงานพลังงานจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับกองทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ทั้ง 4 กองทุน กว่า 120 ล้านบาท เช่น กองทุนรอบโรงไฟฟ้าอมตะ เพาเวอร์ มีเงินกองทุนประมาณ 11 ล้านบาท ,กองทุนรอบโรงไฟฟ้าไทยออยล์แหลมฉบังและสหโคเจน เงินกองทุนประมาณ 70 ล้านบาท ,เงินกองทุนรอบโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี ประมาณ 50 ล้านบาท และ เงินกองทุนโรงไฟฟ้าน้ำตาลระยอง(ชลบุรี) ประมาณ 60,000 บาท โดยเก็บเงินกองทุนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่แต่ละโรงงานจำหน่ายออกไป หน่วยละ 1 สตางค์ เข้าสู่กองทุน
สำหรับคณะกรรมการกองทุนจังหวัดชลบุรีนั้น ประกอบด้วย ภาคประชาชน 12 คน ,ด้านตัวแทนจากโรงไฟฟ้าและภาคราชการ 9 คน และจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ซึ่งรวมคณะกรรมการบริหารกองทุนทั้งสิ้น 23 คน
นายฐานิศร์ น้อยเพ็ง นายอำเภอศรีราชา กล่าวถึงกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 กองทุน ประกอบด้วย 1.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าอมตะเพาเวอร์ 2.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเครือไทยออยล์ แหลมฉบังเพาเวอร์ และสหโคเจน 3.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี และ 4.กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าน้ำตาลระยอง (ชลบุรี)
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมติคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเงินกองทุนมาพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีทั้งสิ้น 7 โรงไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีโรงไฟฟ้าต่างๆ ประกอบด้วย 1.บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ จำกัด 2.บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด 3.บริษัท โคเจน (ชลบุรี) มหาชน 4.บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด 5.บริษัท อมตะ เพาเวอร์(บางปะกง) จำกัด 6.บริษัท ไทยออยล์ เพาะเวอร์ จำกัด และ 7.บริษัท น้ำตาลระยอง จำกัด จึงต้องสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และประสบการณ์ มาบริหารกองทุนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
นายฐานิศร์ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนรอบชุมชนโรงไฟฟ้านั้น หลังได้รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการประชุมวางแผนกองทุน เช่น แผนโครงการ, ด้านการคลัง-เงิน, ด้านพัสดุ เพื่อวางแนวทางไปในทิศทางใดต่อไป เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบระหว่างประชาชนกับโรงฟ้า เช่น เดินขบวนประท้วงปิดโรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้งโดยไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ดังนั้นจึงต้องมีกองทุนนี้เข้ามาช่วยเหลือประชาชนและคลี่คลายปัญหา เพื่อให้ทั้งสองส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี
ด้าน นายธีระศักดิ์ จรัสศรีวิสิษฐ์ หัวหน้าสำนักงานพลังงานจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับกองทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ทั้ง 4 กองทุน กว่า 120 ล้านบาท เช่น กองทุนรอบโรงไฟฟ้าอมตะ เพาเวอร์ มีเงินกองทุนประมาณ 11 ล้านบาท ,กองทุนรอบโรงไฟฟ้าไทยออยล์แหลมฉบังและสหโคเจน เงินกองทุนประมาณ 70 ล้านบาท ,เงินกองทุนรอบโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี ประมาณ 50 ล้านบาท และ เงินกองทุนโรงไฟฟ้าน้ำตาลระยอง(ชลบุรี) ประมาณ 60,000 บาท โดยเก็บเงินกองทุนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่แต่ละโรงงานจำหน่ายออกไป หน่วยละ 1 สตางค์ เข้าสู่กองทุน
สำหรับคณะกรรมการกองทุนจังหวัดชลบุรีนั้น ประกอบด้วย ภาคประชาชน 12 คน ,ด้านตัวแทนจากโรงไฟฟ้าและภาคราชการ 9 คน และจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ซึ่งรวมคณะกรรมการบริหารกองทุนทั้งสิ้น 23 คน