พะเยา - กกต.ปรับแผนจัดเวทีหาเสียงผู้สมัคร ส.ว.ในสถานศึกษา เน้นดึงกลุ่มเยาวชนที่มีสิทธิเลือกตั้งเรียนรู้ประชาธิปไตย
นายศานิต บุญเรือง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เช่น เลือกตั้ง ส.ส.มีผู้สมัครต่างวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะไม่ให้ความเชื่อมั่น และยอมรับในการจัดเวทีหาเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีประชาชนให้ความสนใจเท่าใดนัก มีเพียงกลุ่มกองเชียร์หรือหน้าม้าของผู้สมัครแต่ละคนเท่านั้น
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจมาร่วมเวทีน้อย เนื่องจากบางช่วงของการเลือกตั้งประชาชนต้องทำมาหากินประกอบอาชีพ ทำให้ผู้สมัครเกิดความน้อยใจไม่อยากมาร่วมเวทีหาเสียงที่ กกต.จัดทำให้
ดังนั้น ในการจัดเวทีสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้ ได้มีผู้เสนอให้ปรับเปลี่ยนการจัดเวทีในที่ชุมชนแต่ละอำเภอมาเป็นการจัดเวทีในสถานศึกษา เช่น โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งสถานศึกษาต่างๆ มีนักเรียน นักศึกษาที่อายุใกล้จะครบกำหนดใช้สิทธิเลือกตั้ง และส่วนหนึ่งมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย จึงเห็นว่าการจัดเวทีในสถานศึกษาตรงกับความต้องการของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ไม่เพียงเยาวชนจะได้ร่วมรับฟังวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ประชาชนที่สนใจยังได้ร่วมรับฟังอย่างเปิดกว้างด้วย
นายวีระ พงศ์นภารักษ์ กกต.ประจำจังหวัดพะเยา กล่าวเสริมว่า อดีตการจัดเวทีหาเสียงของ กกต.ประจำจังหวัด เพื่อจัดขึ้นให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งเคยจัดในสถานศึกษา แต่มีผู้สมัครบางท่านแย้งว่าไม่มีคนฟังจึงเสนอจัดในที่ชุมชน มาปัจจุบันได้เสนอกลับไปจัดเวทีในสถาบันการศึกษาอีกครั้ง ก็สามารถจัดทำได้ตามสะดวกประกอบกับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเยาวชนในสถานศึกษาได้ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย ศึกษาบุคคลที่เสนอตัวต้องการเป็นผู้แทนของตนเองอย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีสิทธิเลือกตั้ง และตระหนักถึงการใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกอย่างมีคุณค่ากรณีเยาวชนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก
นายชัยวัฒน์ จันธิมา ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.เบอร์ 4 กล่าวว่า การจัดเวทีหาเสียงให้กับผู้สมัครในสถานศึกษา ตนเห็นว่า เหมาะสม ดังเช่นในมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ปัจจุบันมีนิสิตจำนวนกว่า 3,000 คน ที่มีสิทธิเลือกตั้งและมีทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง หากผู้สมัครได้มีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์และนำเสนอตัวต่อกลุ่มนิสิต จะเป็นผลดีต่อผู้สมัครที่ได้เสนอตัวโดยตรงต่อกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับนิสิตได้เรียนรู้ผู้สมัครไปในตัว
นายศานิต บุญเรือง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เช่น เลือกตั้ง ส.ส.มีผู้สมัครต่างวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะไม่ให้ความเชื่อมั่น และยอมรับในการจัดเวทีหาเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีประชาชนให้ความสนใจเท่าใดนัก มีเพียงกลุ่มกองเชียร์หรือหน้าม้าของผู้สมัครแต่ละคนเท่านั้น
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจมาร่วมเวทีน้อย เนื่องจากบางช่วงของการเลือกตั้งประชาชนต้องทำมาหากินประกอบอาชีพ ทำให้ผู้สมัครเกิดความน้อยใจไม่อยากมาร่วมเวทีหาเสียงที่ กกต.จัดทำให้
ดังนั้น ในการจัดเวทีสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้ ได้มีผู้เสนอให้ปรับเปลี่ยนการจัดเวทีในที่ชุมชนแต่ละอำเภอมาเป็นการจัดเวทีในสถานศึกษา เช่น โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งสถานศึกษาต่างๆ มีนักเรียน นักศึกษาที่อายุใกล้จะครบกำหนดใช้สิทธิเลือกตั้ง และส่วนหนึ่งมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย จึงเห็นว่าการจัดเวทีในสถานศึกษาตรงกับความต้องการของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ไม่เพียงเยาวชนจะได้ร่วมรับฟังวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ประชาชนที่สนใจยังได้ร่วมรับฟังอย่างเปิดกว้างด้วย
นายวีระ พงศ์นภารักษ์ กกต.ประจำจังหวัดพะเยา กล่าวเสริมว่า อดีตการจัดเวทีหาเสียงของ กกต.ประจำจังหวัด เพื่อจัดขึ้นให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งเคยจัดในสถานศึกษา แต่มีผู้สมัครบางท่านแย้งว่าไม่มีคนฟังจึงเสนอจัดในที่ชุมชน มาปัจจุบันได้เสนอกลับไปจัดเวทีในสถาบันการศึกษาอีกครั้ง ก็สามารถจัดทำได้ตามสะดวกประกอบกับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเยาวชนในสถานศึกษาได้ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย ศึกษาบุคคลที่เสนอตัวต้องการเป็นผู้แทนของตนเองอย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีสิทธิเลือกตั้ง และตระหนักถึงการใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกอย่างมีคุณค่ากรณีเยาวชนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก
นายชัยวัฒน์ จันธิมา ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.เบอร์ 4 กล่าวว่า การจัดเวทีหาเสียงให้กับผู้สมัครในสถานศึกษา ตนเห็นว่า เหมาะสม ดังเช่นในมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ปัจจุบันมีนิสิตจำนวนกว่า 3,000 คน ที่มีสิทธิเลือกตั้งและมีทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง หากผู้สมัครได้มีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์และนำเสนอตัวต่อกลุ่มนิสิต จะเป็นผลดีต่อผู้สมัครที่ได้เสนอตัวโดยตรงต่อกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับนิสิตได้เรียนรู้ผู้สมัครไปในตัว