มหาสารคาม - ชาวบ้านเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย พลิกวิกฤตภัยแล้ง สร้างงานสร้างอาชีพ ทำให้มีรายได้อย่างงดงาม ลงทุนขุดคลองเก็บกักน้ำรดแปลงดอกดาวเรือง ตัดขายรายได้งาม
รายงานข่าวแจ้งว่า เกษตรกรบ้านโนนยาง ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 10 ครอบครัว ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี ได้ร่วมกันพลิกวิกฤติหาทางออกเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว โดยยึดหลักแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการขุดคลองเก็บกักน้ำไว้รอบผืนนาเพื่อใช้ปลูกพืชฤดูแล้งที่ให้ผลตอบแทนสูง
โดยเฉพาะการปลูกต้นดาวเรืองตัดดอกขาย ปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ซึ่งจะเริ่มตัดดอกขายได้เมื่ออายุ 60-70 วัน แต่ละรุ่นจะใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 เดือน หรือ 90 วัน ตลาดรับซื้อไม่มีปัญหาจะมีลูกค้าสั่งจองให้นำไปส่งที่ตลาดกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 200,000 ดอก ราคาส่งดอกละ 60 สตางค์ ปลูก 1 ไร่ จะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท
แม้ต้นทุนค่าขนส่งจะเพิ่มจากราคาน้ำมันแพงแต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีผลกำไรไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
ขณะเดียวกัน กลุ่มแม่บ้านโนนยาง ตำบลเมืองกว่า 30 ราย ก็ร่วมกันผลิตตุ๊กตาจากผ้าและใยสังเคราะห์ ในช่วงยามว่างหลังการทำนาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ แมงมุม ช้าง เสือ และอื่นๆ ขนาดและสีสันตามลูกค้าที่กรุงเทพฯ สั่งจองไปจำหน่าย
โดยจะส่งให้กับลูกค้าตามขนาดเริ่มจากราคาตัวละ 4 บาท ไปจนถึง 100 บาท ทำให้สมาชิกแต่ละรายมีรายได้ 5,000-10,000 บาทต่อเดือน นับเป็นตำบลต้นแบบที่พลิกวิกฤตภัยแล้งสร้างงานสร้างรายได้ให้เข้าสู่ชุมชน
รายงานข่าวแจ้งว่า เกษตรกรบ้านโนนยาง ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 10 ครอบครัว ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี ได้ร่วมกันพลิกวิกฤติหาทางออกเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว โดยยึดหลักแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการขุดคลองเก็บกักน้ำไว้รอบผืนนาเพื่อใช้ปลูกพืชฤดูแล้งที่ให้ผลตอบแทนสูง
โดยเฉพาะการปลูกต้นดาวเรืองตัดดอกขาย ปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ซึ่งจะเริ่มตัดดอกขายได้เมื่ออายุ 60-70 วัน แต่ละรุ่นจะใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 เดือน หรือ 90 วัน ตลาดรับซื้อไม่มีปัญหาจะมีลูกค้าสั่งจองให้นำไปส่งที่ตลาดกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 200,000 ดอก ราคาส่งดอกละ 60 สตางค์ ปลูก 1 ไร่ จะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท
แม้ต้นทุนค่าขนส่งจะเพิ่มจากราคาน้ำมันแพงแต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีผลกำไรไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
ขณะเดียวกัน กลุ่มแม่บ้านโนนยาง ตำบลเมืองกว่า 30 ราย ก็ร่วมกันผลิตตุ๊กตาจากผ้าและใยสังเคราะห์ ในช่วงยามว่างหลังการทำนาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ แมงมุม ช้าง เสือ และอื่นๆ ขนาดและสีสันตามลูกค้าที่กรุงเทพฯ สั่งจองไปจำหน่าย
โดยจะส่งให้กับลูกค้าตามขนาดเริ่มจากราคาตัวละ 4 บาท ไปจนถึง 100 บาท ทำให้สมาชิกแต่ละรายมีรายได้ 5,000-10,000 บาทต่อเดือน นับเป็นตำบลต้นแบบที่พลิกวิกฤตภัยแล้งสร้างงานสร้างรายได้ให้เข้าสู่ชุมชน