สกลนคร - ผู้ว่าฯ สกลนครสั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือภัยแล้ง หลังประกาศให้17อำเภอจาก 18 อำเภอเป็นพื้นที่เผชิญพิบัติแล้ง พร้อมเน้นย้ำให้ทุก อบต.รณรงค์ให้ชาวบ้านเป็นหูเป็นตาป้องกันไฟป่า
นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เปิดเผยว่า หลังจากที่ฤดูหนาวเพิ่งผ่านพ้นไป หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม โดยเฉพาะระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ที่มีผลกระทบหนักอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสกลนคร ถึงแม้จะมีอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรกรจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนกับปัญหาน้ำไม่พอใช้ เพราะอยู่ห่างไกลจากคลองชลประทาน
จึงได้สั่งการให้หน่วยงาน ในระดับ ตำบล และอำเภอ ทั้ง 18 อำเภอ รายงานจุดเสี่ยงที่พบว่า ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทุกๆปี และในพื้นที่ใด น้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านพบว่ามีการลดระดับกว่าปกติรีบรายงานให้จังหวัดทราบทันที เพื่อจะได้จัดสรรงบ ประมาณลงไปเพื่อจัดสร้าง ฝายแม้วในการรองรับน้ำ โดยการจัดสร้างกระสอบทราย และขุดลอกร่องน้ำในการกักเก็บให้น้ำให้มากกขึ้น
ขณะที่เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญได้ ประสานให้ควบคุมการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนและชลอตามความเหมาะสม ให้สามารถมีน้ำใช้ไม่ขัดสน ก่อนเข้าฤดูฝนนี้ ในเบื้องต้นจังหวัดสกลนคร ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 17 อำเภอจากทั้งหมด 18 อำเภอ
นายไพรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากปัญหาการคลาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ตนยังได้สั่งการให้น่วยงานทุกหน่วยงานจังหวัดสกลนคร ออกประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนช่วยกันดูแลสอดส่องเฝ้าระวังร่วมกัน เรื่องของไฟป่า เพราะหน้าแล้งย่อมทำให้ต้นไม้ ใปไม้ ที่แห้งผุลง เป็นเชื้อไฟอย่างดี เพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว นอกจากเพลิงที่ลุกทำลายอันเป็นปัญหาต่อระบบนิเวศแล้วอาจจะลุกลามเข้าทำลาย บ้านเรือนประชาชนและสถานที่ราชการที่ตั้งอยู่บนเทือกเขา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การป้องกันเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในการเตรียมการป้องกันรับมือภัยแล้ง
ขณะนี้ได้มีคำสั่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทีมเฝ้าระวังและรถในการบรรทุกน้ำเพื่อไปบรรเทาความเดือดร้อน และมอบหมายให้หน่วยป้องกันไฟป่าจังหวัดสกลนครจัดฝึกอบรมประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและระงับเหตุเมื่อเกิดไฟป่าในช่วงฤดูแล้งนี้
นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เปิดเผยว่า หลังจากที่ฤดูหนาวเพิ่งผ่านพ้นไป หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม โดยเฉพาะระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ที่มีผลกระทบหนักอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสกลนคร ถึงแม้จะมีอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรกรจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนกับปัญหาน้ำไม่พอใช้ เพราะอยู่ห่างไกลจากคลองชลประทาน
จึงได้สั่งการให้หน่วยงาน ในระดับ ตำบล และอำเภอ ทั้ง 18 อำเภอ รายงานจุดเสี่ยงที่พบว่า ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทุกๆปี และในพื้นที่ใด น้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านพบว่ามีการลดระดับกว่าปกติรีบรายงานให้จังหวัดทราบทันที เพื่อจะได้จัดสรรงบ ประมาณลงไปเพื่อจัดสร้าง ฝายแม้วในการรองรับน้ำ โดยการจัดสร้างกระสอบทราย และขุดลอกร่องน้ำในการกักเก็บให้น้ำให้มากกขึ้น
ขณะที่เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญได้ ประสานให้ควบคุมการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนและชลอตามความเหมาะสม ให้สามารถมีน้ำใช้ไม่ขัดสน ก่อนเข้าฤดูฝนนี้ ในเบื้องต้นจังหวัดสกลนคร ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 17 อำเภอจากทั้งหมด 18 อำเภอ
นายไพรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากปัญหาการคลาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ตนยังได้สั่งการให้น่วยงานทุกหน่วยงานจังหวัดสกลนคร ออกประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนช่วยกันดูแลสอดส่องเฝ้าระวังร่วมกัน เรื่องของไฟป่า เพราะหน้าแล้งย่อมทำให้ต้นไม้ ใปไม้ ที่แห้งผุลง เป็นเชื้อไฟอย่างดี เพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว นอกจากเพลิงที่ลุกทำลายอันเป็นปัญหาต่อระบบนิเวศแล้วอาจจะลุกลามเข้าทำลาย บ้านเรือนประชาชนและสถานที่ราชการที่ตั้งอยู่บนเทือกเขา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การป้องกันเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในการเตรียมการป้องกันรับมือภัยแล้ง
ขณะนี้ได้มีคำสั่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทีมเฝ้าระวังและรถในการบรรทุกน้ำเพื่อไปบรรเทาความเดือดร้อน และมอบหมายให้หน่วยป้องกันไฟป่าจังหวัดสกลนครจัดฝึกอบรมประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและระงับเหตุเมื่อเกิดไฟป่าในช่วงฤดูแล้งนี้