อุบลราชธานี - บรรยากาศเปิดรับสมัครผู้ต้องการรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอุบลราชธานี วันแรก มีผู้สนใจลงสมัครแข่งขั้นเพียง 2 ราย เป็นอดีต ส.ว.คราวที่แล้ว 1 ราย และอดีตประธาน กกต.เขตอีก 1 ราย
วันนี้ (21 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุบลราชธานี รายงานบรรยากาศการเปิดรับสมัครผู้แข่งขันเป็นสมาชิกวุฒิสภาในระบบเลือกตั้ง มีผู้สนใจมายื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเมื่อเวลา 09.00 น.1 ราย คือ นายพัฒนพงษ์ ศรีส่วน อดีตประธาน กกต.เขตเลือกตั้งที่ 10 อ.เดชอุดม หลังจากนั้น อีก 25 นาที น.ส.นิทรา เทียมสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดเขต อ.เดชอุดม อดีตสมาชิก ส.ว.ปี 2549 และเป็นพี่สาวของนายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย และพลังประชาชน ได้มายื่นใบสมัครเป็นรายที่ 2 ทำให้บรรยากาศการรับสมัครวันแรกเงียบเหงาอย่างมาก แม้สำนักงาน กกต.จังหวัดจะเตรียมเอกสารไว้ให้ผู้สมัครจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีผู้สนใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาคราวนี้น้อยมาก เพราะมีอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่แล้วบางส่วน เสนอตัวเข้ารับการคัดสรรแทนการลงสมัคร
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากผู้มีชื่อเสียงทางการเมืองหลายคนติดอยู่กับกฎหมายใหม่ เพราะไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่ได้รับการเลือกตั้งก็ไม่สามารถกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกในครั้งนี้ได้นั่นเอง
วันนี้ (21 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุบลราชธานี รายงานบรรยากาศการเปิดรับสมัครผู้แข่งขันเป็นสมาชิกวุฒิสภาในระบบเลือกตั้ง มีผู้สนใจมายื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเมื่อเวลา 09.00 น.1 ราย คือ นายพัฒนพงษ์ ศรีส่วน อดีตประธาน กกต.เขตเลือกตั้งที่ 10 อ.เดชอุดม หลังจากนั้น อีก 25 นาที น.ส.นิทรา เทียมสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดเขต อ.เดชอุดม อดีตสมาชิก ส.ว.ปี 2549 และเป็นพี่สาวของนายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย และพลังประชาชน ได้มายื่นใบสมัครเป็นรายที่ 2 ทำให้บรรยากาศการรับสมัครวันแรกเงียบเหงาอย่างมาก แม้สำนักงาน กกต.จังหวัดจะเตรียมเอกสารไว้ให้ผู้สมัครจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีผู้สนใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาคราวนี้น้อยมาก เพราะมีอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่แล้วบางส่วน เสนอตัวเข้ารับการคัดสรรแทนการลงสมัคร
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากผู้มีชื่อเสียงทางการเมืองหลายคนติดอยู่กับกฎหมายใหม่ เพราะไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่ได้รับการเลือกตั้งก็ไม่สามารถกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกในครั้งนี้ได้นั่นเอง